KCT Academy โชว์แกร่งเทรนนิ่งยุคดิสรัปชั่น

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 2 Second

ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง การถูก Disrupt ของแต่ละองค์กร คือการผลักดันให้เกิดการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ทำให้ธุรกิจการเทรนนิ่งได้รับความสนใจมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบธุรกิจเทรนนิ่ง ก็ต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน

“ไกรกิติ ทิพกนก” ผู้อำนวยการสถาบัน KCT Academy เปิดเผยว่า ธุรกิจเทรนนิ่ง ก็ได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption เช่นกัน ความท้าทายของการปรับตัวสำหรับวิกฤตินี้ คือ การกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้อยู่กับคอนเทนต์ รูปแบบการเทรนนิ่ง ไม่สามารถทำแค่การอ่านตำรามาสอน หรือเอาหนังสือมากาง แต่ในห้องเทรนนิ่ง ต้องมีกิจกรรมกระตุ้นความสนใจ

ความท้าทายของธุรกิจเทรนนิ่ง คือ ถ้าวิทยากรไม่เก่งจริง ลูกค้าที่มาใช้บริการก็จะหายไปเรื่อยๆ ที่สำคัญลักษณะการเทรนนิ่งต้องเป็นลักษณะการแบ่งปัน เหมือนพี่สอนน้อง มากกว่า เวิร์คช้อปเดี่ยวๆ จะมีความสำคัญมากขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนฝึกได้ด้วยตัวเอง

“การทำบริษัทเทรนนิ่งจะยากขึ้น และใช้ต้นทุนมากขึ้น บางคลาส เช่น Process Innovation สถาบัน KCT จะใช้วิทยากร 2 คน คนหนึ่งเก่งเรื่องออกแบบสิ่งที่ลูกค้าจะได้ หลังกระบวนการเกิดขึ้น ส่วนอีกคนจะไปพูดถึงกระบวนการ ว่าจะทำอย่างไรให้ Lean กระบวนการทำงานมากที่สุด ทำอย่างไรจะได้ Productivity ดีที่สุด”…ถ้าไม่ใช้วิทยากรสองคน ก็ต้องหาวิทยากรที่เก่งที่สองด้าน หรือ ต้องมีทีมที่ทำได้ทั้งสองอย่าง คือ ทั้ง emotional และ structure คนที่ทำงานเดี่ยวๆ จะหายไป การทำงานต้องเป็นทีม ซึ่งแต่ละคนจะมีความรู้และความสามารถที่หลากหลาย

แน่นอน การปรับรูปแบบการทำงาน จะทำให้ต้นทุนการทำงานของเทรนนิ่งเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน สื่อที่เข้าถึงแต่ละกลุ่มเป้าหมายก็มีความหลากหลาย เพราะฉะนั้น ความสามรถในการสื่อสารของทีมมาร์เก็ตติ้งก็ต้องสู่ขึ้น พร้อมๆ กับต้องสร้างคาแรคเตอร์ที่ชัดเจนขององค์กร ว่าเราเป็นใคร ทำอะไรได้ ต้องสร้าง outcome หรือผลลัพธ์ของงานออกมาให้ได้…
ความท้าทายมันอยู่ที่ มีเวลา 6 ชม. ในแต่ละคลาส จะทำอย่างไรให้ผู้ที่เข้าอบรมเก่งขึ้น และคิดได้

สำหรับการทำงานของสถาบัน KCT คือ การศึกษา Pain Point ของลูกค้า ดูว่าโซลูชั่นที่เขาต้องการคืออะไร แล้วเราจะตอบโจทย์เขาได้อย่างไร ซึ่งทางสถาบัน KCT ให้ความสำคัยกับการทำงานร่วมกับลูกค้า ตั้งโจทย์จากสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรจากพนักงานของเขา หลังจากนั้น ก็ออกแบบและทำงานร่วมกัน

“KCT ต่างจากที่อื่น เรามีหลักสูตรบางส่วน ที่ลูกค้าสามารถซื้อไปใช้ได้เลย และอีกแบบคือ tailor-made ซึ่งออกแบบหลักสูตรคู่กับซีอีโอขององค์กรนั้นๆ เลย เป็นลักษณะการทำงานแบบพาร์ทเนอร์ บางบริษัทเราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินความก้าวหน้าของพนักงานของเขาด้วย เพราะเราเน้นการเทรนนิ่งต่อเนื่องด้วยกัน สนับสนุน และสร้างเทรนเนอร์หรือสร้างระบบภายในให้เขาทำงานต่อเองได้”

สำหรับหลักสูตรสำเร็จรูปของสถาบัน KCT มี 6 หมวด คือ Enterpreneurshop Skill, Startegic Management, Thinking Skill, Leadership & Manafement Skill, Sale & Marketing และ Interpersonal Skill อย่างไรก็ตาม แต่ละองค์กรมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นความคิด การตัดสินใจ ความท้าทายของแต่ละองค์กร คือ การคิดที่มีประสิทธิภาพ คิดได้เร็ว ความสามารถในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ วิธีไหนดีที่สุด นี่คือ เรื่องที่ท้าทายขององค์กรในยุคถัดไป

ส่วนธุรกิจเทรนนิ่ง ในความคิดเห็นของ ผู้อำนวยการสถาบัน KCT คือ ธุรกิจที่เข้ามาช่วยปิดช่องว่างทางการศึกษา เพราะมาตรฐานการศึกษาที่ดี ยังกระจายได้ไม่ทั่วถึงทั้งประเทศ แต่ความต้องการคนที่มีประสิทธิภาพสูง มีมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น การเทรนนิ่งจึงเป็นส่วนสำคัญ ที่เข้ามาช่วยปิดช่องว่างนี้

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

อนันตรา ลุยปักหมุดธุรกิจ ไอร์แลนด์

อนันตรา ลุยปักหมุดธุรกิจ ไอร์แลนด์ พร้อมรีแบรนด์ เดอะ มาร์คเกอร์ โฮเทล สู่โรงแรมในเมืองใหญ่ดับลิน ยุโรป