โอกาสธุรกิจผู้ให้บริการชำระเงินทั่วโลก

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 51 Second

มูลค่ารวมของตลาดการรับโอนเงินที่กำลังเติบโตขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นำไปสู่โอกาสทางธุรกิจของผู้ให้บริการชำระเงินทั่วโลกในปี 2563

บริษัท ริปเปิล บริษัทเทคโนโลยีระบบโอนเงินข้ามประเทศจากสหรัฐอเมริกา ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจของผู้ให้บริการชำระเงิน ไว้อย่างน่าสนใจ

จากจำนวนผู้คนที่กำลังส่งเงินกลับบ้านไปให้กับครอบครัวและคนที่เขารักนั้น ทวีมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ธนาคารโลกรายงานการเติบโตของตลาดการโอนเงินในปี 2561 เฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแห่งเดียวก็สูงถึง 12% และในแต่ละปีมีมูลค่าการทำธุรกรรมโอนเงินประมาณ 2 พันล้านเหรียญในภูมิภาคนี้ ในขณะที่การเติบโตของการรับส่งเงินทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล สิ่งที่น่าฉงนและชวนประหลาดใจมากกว่าคือการให้บริการที่ยังบกพร่อง ติดขัด และมีค่าธรรมเนียมแพงมากซึ่งผู้โอนเงินยังคงเผชิญอยู่ทุกวันนี้

เทคโนโลยีบล็อกเชนมอบทางเลือกที่สามารถทดแทนระบบการโอนเงินที่ทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานเก่าแก่ที่มีมานานหลายทศวรรษ อีกทั้งยังช่วยสร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นสำหรับผู้ดำเนินธุรกิจรับชำระเงินทั่วโลกและสำหรับลูกค้าของพวกเขา – ด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส เชื่อถือได้ และผู้คนมากมายที่ใช้บริการนี้ต่างก็คาดหวังที่จะได้สัมผัสกับบริการในรูปแบบเดียวกับบริการอีเมล์

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคือตลาดการโอนเงินที่กำลังเติบโตสูงมาก จึงเป็นตลาดที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง หากแต่ค่าธรรมเนียมในการชำระเงินข้ามพรมแดนนั้นยังสูงอยู่มาก ทำให้ผู้ใช้บริการมีตัวเลือกน้อย ในบทความชุดนี้มาดูกันว่าคุณจะสามารถสร้างจุดยืนที่แตกต่าง เพื่อสร้างมูลค่าและดึงดูดความสนใจจากลูกค้าในตลาดนี้ได้อย่างไร?
ความต้องการของตลาดกำลังเติบโตสูงมาก

ตลาดเอเชียแปซิฟิคนั้นพร้อมแล้วสำหรับการปรับปรุงขั้นตอนการโอนเงินให้กับผู้คนทั่วทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบดิจิทัล กระแสการโอนเงินไปยังประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลาง เช่นที่ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทยมีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 529,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2561 และคาดว่าจะสูงถึง 550,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2562 และกำลังจะกลายเป็นแหล่งรายได้จากภายนอกที่ใหญ่ที่สุดของพวกเขา

โดยเฉพาะในฟิลิปปินส์ที่เป็นประเทศผู้รับเงินโอนที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลก มีชาวฟิลิปปินส์กว่า 10 ล้านคนที่ทำงานในต่างประเทศ จึงทำให้พวกเขาส่งเงินกลับบ้านและเป็นที่มาของกระแสการโอนเงินปริมาณมาก การไหลเข้าของเงินโอนจากต่างประเทศเป็นพลังขับเคลื่อนให้ภาคการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศ ช่วยรักษาเสถียรภาพของเงินตราสำรองระหว่างประเทศ และส่งเสริมการลงทุนในท้องถิ่นในประเทศที่ยังคงมีประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบท

ในทางกลับกัน เศรษฐกิจออสเตรเลียและประเทศไทยที่แข็งแกร่งกว่านั้นกลับดึงดูดแรงงานอพยพจำนวนมาก ซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานที่ต้องโอนเงินไปยังประเทศบ้านเกิดของพวกเขาเป็นประจำ โดยอัตราการโอนเงินออกนอกประเทศออสเตรเลียอยู่ที่ 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น 0.5% ของ GDP ของประเทศในปี 2561ที่ผ่านมา แทนที่จะเป็นผู้รับโอน ออสเตรเลียกลับเป็นประเทศต้นทางในฐานะผู้โอนเงินไปยังประเทศจีน อินเดีย เวียดนาม สหราชอาณาจักร และฟิลิปปินส์

เช่นเดียวกันกับออสเตรเลีย ประเทศไทยได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญสำหรับแรงงานต่างชาติที่ต้องการหางานที่มั่นคงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ภาพรวมการโอนเงินของประเทศจึงมีความสมดุลมากกว่าในออสเตรเลียและฟิลิปปินส์ โดยมีอัตราการโอนเงินเข้ามาในประเทศประมาณ 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2561 เทียบกับอัตราการโอนเงินออกอยู่ที่ 4.9 พันล้านดอลลาร์

โอกาสทางการตลาดในสามประเทศนี้คาดว่าจะเติบโตต่อไปในอีกห้าปีข้างหน้า จากรายงาน MarketWatch เดือนตุลาคม ปี 2562 คาดการณ์ว่าตลาดการโอนเงินแบบดั้งเดิมและผ่านระบบดิจิตอลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 24.2% นับตั้งแต่ปี 2561 ถึงปี 2568 แต่แม้กระนั้น ค่าใช้จ่ายในการโอนเงินส่วนบุคคลที่สูงจะยังส่งผลไม่ดีนักต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ยังต้องพึ่งพารายได้จากแหล่งเงินโอนนี้อยู่มาก

การชำระเงินข้ามพรมแดนยังคงมีค่าใช้จ่ายสูง

ลองนึกภาพว่าคุณต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมมากกว่า 30 ดอลล่าร์ เพียงเพื่อโอนเงิน 200 ดอลล่าร์ ไปให้กับสมาชิกในครอบครัวที่พึ่งพารายได้บางส่วนจากคุณ แถมยังติดวันอาทิตย์อีก ไม่เพียงค่าธรรมเนียมเท่านั้นที่เป็นข้อจำกัด แต่เมื่อธนาคารปิดทำการ อาจต้องใช้เวลาอีกถึงสองวันในการโอนเงิน จึงไม่น่าประหลาดใจที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายกำลังมองหาทางเลือกที่ประหยัดกว่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อทำธุรกรรมการโอนเงินที่ว่านี้

ผู้คนทั่วโลกมักนำอัตราการเติบโตของการโอนเงินมาเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายเฉลี่ยทั่วโลกในการรับ/ส่งเงิน และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยทั่วโลกในการส่งเงิน 200 ดอลล่าร์ นั้นอยู่ที่ 6.84% ในไตรมาสที่สามของปี 2562 โดยธนาคารมีค่าใช้จ่ายสูงสุดโดยมีค่าธรรมเนียมเฉลี่ยอยู่ที่ 10.34%

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีความแปรปรวนของค่าธรรมเนียมซึ่งมากน้อยแล้วแต่เส้นทางการให้บริการอีกด้วย ในขณะที่บางเส้นทางคุ้มค่า แต่บางเส้นทางกลับอยู่ในระดับที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อ เส้นทางการโอนเงินที่มีต้นทุนสูงสุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น รวมถึงเส้นทางการโอนเงินจากประเทศไทยไปยังประเทศอินโดนีเซีย จากไทยไปเวียดนาม จากไทยไปลาว และจากไทยไปจีน ในเส้นทางเหล่านี้ทั้งหมด มีอัตราค่าธรรมเนียมการโอนเงินสูงเกิน 10% ในปี 2561ที่ผ่านมา

ค่าธรรมเนียมที่สูงเหล่านี้เป็นผลจากระบบการชำระเงินระหว่างประเทศที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ผู้ดำเนินธุรกิจนี้จะต้องถือบัญชีที่มีการวางเงินล่วงหน้าด้วยสกุลเงินปลายทาง และต้องผ่านตัวกลางมากมาย โดยแต่ละเจ้าต่างก็คิดค่าธรรมเนียมต่อกันเป็นทอดๆ ทำให้สถาบันการเงินต้องการวิธีที่ง่าย ประหยัด และมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน ซึ่งเทคโนโลยีบล็อกเชนดูจะสามารถแก้โซลูชั่นนี้ได้ดีที่สุด

บล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลคือโซลูชั่นที่ช่วยให้การโอนเงินข้ามพรมแดนรวดเร็วขึ้น
บล็อกเชนมีบทบาทสำคัญในนวัตกรรมนี้ ด้วยความสามารถในการทำธุรกรรมขนาดเล็กอาทิเช่น สินเชื่อ การชำระเงิน และการโอนเงินที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใสมากขึ้น ในภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในการรับส่งเงินทั้งในภาคส่วนของผู้บริโภคภาคธุรกิจองค์กร ส่งผลให้เกิดโอกาสมหาศาลสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง ความรวดเร็วของการนำไปใช้งาน และการจัดสรรเงินทุน

ระบบการให้บริการชำระเงินระดับโลกส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบแยกส่วนที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการแก่บริษัทขนาดใหญ่ที่เน้นการชำระเงินมูลค่าสูง ไม่ใช่การชำระเงินมูลค่าต่ำปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดความล่าช้าและค่าใช้จ่ายในการโอนสูง ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อผู้บริโภค

สิ่งที่เข้ามาช่วยจัดการแก้ไขสถานการณ์นี้ได้ก็คือบล็อกเชนและเทคโนโลยีสินทรัพย์ดิจิทัล สำหรับผู้ที่ใช้บริการการชำระเงินระดับโลกที่ทำงานดผ่านเครือข่าย Ripple ก็จะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ทันสมัยที่สุดในโลกสำหรับการชำระเงินที่รวดเร็ว ค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าและสามารถไว้วางใจใน XRP สินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสกุลเงินที่โอนรับ-ส่งกันได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งนี่หมายรวมถึงสถาบันการเงินมากกว่า 300 แห่งและครอบคลุมไปยัง 70 ประเทศทั่วโลก

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ธอส.คว้า TQA บริหารจัดการองค์กรระดับโลก

ธอส. คว้ารางวัลคุณภาพแห่งชาติ Thailand Quality Award : TQA ปี 2562 สะท้อนความเป็นเลิศ การบริหารจัดการองค์กร เทียบมาตรฐานโลก เผยเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกที่คว้ารางวัลนี้