‘กัลฟ์’ ส่งต่อนวัตกรรมเครื่องอัลตร้าซาวด์ไร้สายสู่การแพทย์

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 41 Second

กัลฟ์ สนับสนุนการแพทย์ยุคดิจิทัล มอบเงินสนับสนุนซื้อนวัตกรรมการเรียนการสอน เครื่อง “Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย” ให้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล หวังเพิ่มขีดความสามารถช่วยเหลือผู้ป่วย

ศ. นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า พันธกิจหลักของคณะแพทย์ฯ คือ การรักษาพยาบาลผู้ป่วย การทำวิจัยให้เกิดนวัตกรรมอย่างยั่งยืน และการศึกษาที่มีระบบการเรียนการสอนเป็นจุดเด่นเฉพาะให้แก่นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล นักศึกษาวิทยาศาสตร์สื่อความหมาย และนักศึกษาปฏิบัติการฉุกเฉิน หากสามารถพัฒนาจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นจริง ระหว่างการให้บริการรักษาพยาบาล ต่อยอดให้เกิดเป็นผลงานนวัตกรรมที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้ ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้มาก

เช่นเดียวกับการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาแพทย์ ด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวินิจฉัยรักษาในเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยทางรังสีวินิจฉัยด้วยเครื่อง Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย (Wireless) สามารถเป็นเครื่องมือในการตอบโจทย์ปัญหาด้ นั่นคือ เราสามารถนำเครื่อง Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย ติดตัวไปได้ทุกที่เพื่อให้สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที และในด้านการเรียนการสอน โดยการนำเครื่อง Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย มาใช้สอนแก่นักศึกษาแพทย์ในชั้นปรีคลินิก

นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวทางการช่วยเหลือสังคม 2 ด้านหลักของบริษัท คือ ด้านการศึกษา และการสนับสนุนเกี่ยวกับเครื่องมือทางการแพทย์ ที่ผ่านมา กัฟล์ฯ ได้บริจาคเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลรัฐหลากหลายโรงพยาบาลด้วยกัน และการสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อเครื่อง Ultrasound พกพาชนิดไร้สายนี้ จำนวน 200 เครื่อง มูลค่า 12 ล้านบาทในครั้งนี้ ถือเป็นการผสมผสานทั้งด้านการศึกษาและเรื่องทางการแพทย์ไปพร้อมๆ กัน นักศึกษาแพทย์รุ่นใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้การทำงานด้วยเครื่องมือนี้ จะสามารถฝึกฝนและสร้างความชำนาญในการใช้เครื่ออัลตร้าซาวด์ ตั้งแต่ในช่วงปรีคลินิก ซึ่งจะช่วยเสริมการรักษาคนไข้ในห้องฉุกเฉิน ให้มีโอกาสที่จะมีชีวิตรอดมากยิ่งขึ้นได้

ท่ามกลางยุคแห่ง Technology Disruption ที่หลายภาคส่วนต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและเติบโต แต่สำหรับการดูแลสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงของระบบดิจิทัลแบบฉับพลันนี้ ได้ผลักดันให้เทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด

การศึกษาเรียนรู้ทางการแพทย์ก็มีความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดคล้อง ตอบโจทย์ และเท่าทันต่อบริบทของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อาศัยโอกาสที่มี New (Disruptive) Technology อันได้แก่ เครื่อง Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย (Portable Wireless Ultrasound) มาสร้างให้เกิด “นวัตกรรมในกระบวนการเรียนการสอน” ให้แก่ “นักศึกษาแพทย์ยุคดิจิทัล” โดยได้นำ Ultrasound พกพาชนิดไร้สาย มาใช้ร่วมในการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาด้านกายวิภาค สรีรวิทยา และพยาธิสภาพ รวมถึงกระตุ้นให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาได้อย่างลึกซึ้งและผสมผสาน สร้างแรงบันดาลใจในการต่อยอดการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น

รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ไชยพร ยุกเซ็น หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึง Ultrasound ฉับไว ในผู้ป่วยฉุกเฉิน ว่า ในปัจจุบันห้องฉุกเฉินทุกโรงพยาบาลมีการใช้เครื่อง ultrasound เพื่อช่วยในการวินิจฉัยแต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าของเวชศาสตร์ฉุกเฉินในประเทศไทย ได้พัฒนาไปถึงการดูแลผู้ป่วยที่บ้านและก่อนมาถึงโรงพยาบาล ให้เทียบเท่ากับการดูแลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน ด้วยบุคลากรกลุ่มที่เรียกว่า Paramedic ซึ่งเครื่อง ultrasound จะเป็นเป็นเหมือนตาคู่ที่ 2 ของ Paramedic ที่จะนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตนอกโรงพยาบาลเช่นกัน

ประโยชน์จากการได้ใช้เครื่อง Ultrasound ชนิดพกพา ยังทำให้ได้ฝึกฝนการทำ Ultrasound ได้มากขึ้น เพราะค่อนข้างสะดวก และจะเป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อเรียนจบไปเป็นแพทย์อยู่ต่างจังหวัด ที่อาจไม่มีคนคอยดูแลตลอดเวลา นอกจากนี้ การใช้เครื่อง Ultrasound ชนิดพกพา ยังสามารถบันทึกเป็นวิดีโอหรือรูปภาพไว้บนโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต ทำให้สามารถเรียกดูได้สะดวก เหมาะแก่การเรียนรู้และฝึกฝน

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ซีไลฟ์ทรัสต์ ส่ง ‘วาฬเบลูกา’ จากจีนสู่บ้านหลังใหม่ไอซ์แลนด์

ซีไลฟ์ทรัสต์’ พา ‘วาฬเบลูกาคู่แรก’ จากจีนสู่บ้านหลังใหม่ที่ไอซ์แลนด์ได้สำเร็จ เร่งเตรียมพร้อมก่อนพากลับคืนสู่ธรรมชาติช่วงต้นปี 2563