ซีไอเอ็มบี ไทย งัด Taxonomy ตรวจสอบธุรกิจฟอกเขียว

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 22 Second

ซีไอเอ็มบี ไทย Transiton Finance สนับสนุนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอีก 20,000 ล้าน โฟกัส 2 กลุ่มใหญ่ พลังงาน-เชื้อเพลิงฟอสซิล ภายในตุลาคม 2569 พร้อมใช้ Taxonomy เครื่องมือตรวจสอบธุรกิจฟอกเขียวจริงจัง

เจสัน ลี ผู้บริหารฝ่ายความยั่งยืน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า CIMB ไทย ถือเป็นธนาคารอันดับ 2 ที่สนับสนึนการเงินเพื่อความยั่งยืน (Green, Social, Sustainable Impact Products and Services : GSSIPS) ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ให้การสนับสนุนไปแล้ว 30,000 ล้านบาท หรือประมาณ 5% ของวงเงินสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนทั้งระบบ โดยมีแผนสนับสนุนความต้องการทางการเงินยั่งยืนต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มที่จะโฟกัสเป็นพิเศษ คือ กลุ่มพลังงาน-น้ำมันเชื้อเพลิง วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ภายในเดือนตุลาคม 2569

เจสัน ลี ผู้บริหารฝ่ายความยั่งยืน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

ส่วนการวางมาตรฐานการสนับสนุนวงเงินด้านความยั่งยืนให้กับกลุ่มธุรกิจ CIMB ได้นำหลักการและการอ้างอิงผ่าน Taxonomy หรือการแยกกลุ่มกิจกรรมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีหลักข้อบังคับชัดเจน เพื่อป้องกันธุรกิจฟอกเขียว (Green Washing) ประกอบไปด้วย

  • การลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Mitigation)
  • ลดปัญหาภาวะโลกร้อน การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Adaptation)
  • เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

เจสัน กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ยังมีธุรกิจที่เป็น Brown Sector ที่โดยธรรมชาติของธุรกิจแล้วไม่สามารถเป็น Green ได้ 100% และยังป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูง (Brown Sector industry) ไม่สามารถลดหรือควบคุมการปล่อยมลพิษได้ โดยปัจจุบันมีอยู่ 9 กลุ่ม ได้แก่ 1.ภาคการเกษตร 2.ภาคถ่านหิน 3.ภาคน้ำมันและก๊าซ 4.ภาคอะลูมิเนียม 5.ภาคอสังหาริมทรัพย์ 6.ภาคการผลิตพลังงาน 7.ภาคซีเมนต์ 8.ภาคเหล็ก และ เหล็กกล้า 9.ภาคการเดินทาง (รวมสายการบิน)

ในกลุ่มธุรกิจ Brown Sector มีความพยายามในการเปลี่ยนผ่าน และหันมาใส่ใจการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่ทำให้บริษัทเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ธนาคารสามารถเข้ามาช่วยสนับสนุนผ่านผลิตภัณฑ์ “Transition Finance” หรือ การสนับสนุนทางการเงินให้กับธุรกิจที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ หรือการเงินเพื่อความยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ในทางการเงินมีเกณฑ์ที่วัดไม่ให้เกิดการฟอกเขียว เช่น เมื่อมีการตรวจสอบกองทุนก็อาจมีการซื้อหุ้นจากฟอสซิลที่มีการตั้งโซลาร์เล็กน้อย นี่ถือว่าเป็นการฟอกเขียวแล้ว ทำให้ EU มีความกังวลว่า ESG อาจเป็นแค่ CSR

การลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Mitigation จุดประสงค์หลักคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งต่าง ๆ เช่น โรงไฟฟ้า โรงงาน การขนส่ง และการเกษตรขอบเขตระดับโลก ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศและการดำเนินการในทุกระดับ ตั้งแต่การเปลี่ยนเปลงพฤติกรรมของบุคคลไปจนถึงนโยบายระดับชาติ

“Taxonomy มีเกณฑ์การตรวจสอบกิจกรรม ซึ่งบางครั้งอาจเข้าเกณฑ์ และอาจไม่เข้าเกณฑ์ จึงถือเป็นธุรกิจกลุ่ม Brown ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ กลุ่มธุรกิจการบิน ที่ยังไม่มีเทคโนโลยีหรือเชื้อเพลิงทางเลือก ที่จะนำมาใช้ได้ทั้งหมด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลต่อไปก่อน ซึ่งอิงตามเกณฑ์ของ Taxonomy กลุ่มเชื้อเพลิงฟอสซิลไม่สามารถกรีนได้ แต่สามารถเปลี่ยนแนวทางเป็นชีวภาพ ชีวมวลได้ แม้ว่ากลุ่มนี้จะเป็น Brown แต่ก็สามารถมีกิจกรรมที่กรีนได้

ขณะนี้ CIMB เริ่มลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการ Decarbonization 20,000 ล้านบาท (Committed Demand) ในอีกทางหนึ่ง ธนาคารต้องมี Scaleability สามารถขยายผลได้ โดยมุ่งขยาย Transition Finance ให้กับอีกกว่า 300 บริษัทขนาดใหญ่ในประเทศไทย ผ่านการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ Real-Economy Decarbonizatoin (Net-Zero) และลด Financed Emission

บริษัทแม่ของซีไอเอ็มบี ไทย ตั้งเป้าหมายด้านการเงินเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนด้วยวงเงิน 1 แสนล้านริงกิต หรือ 7.7 แสนล้านบาท ภายใน ปี 2564-2567

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ทรู คอร์ปอเรชั่น ขับเคลื่อน “Tech For Good” สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม

ทรู คอร์ปอเรชั่น ขับเคลื่อน “Tech For Good” วิธีคิดที่นำเทคโนโลยีเข้าถึงอินไซด์ และเข้าใจโจทย์อย่างลึกซึ้ง พัฒนาผลงานเพื่อส่งมอบคุณประโยชน์แก่สังคม พร้อมตั้งเป้าปั้นนวัตกรทรู 50% พร้อมจดสิทธิบัตรอินโนเวชั่น 200 ผลงาน ภายในปี 2030

You May Like