เคานต์ดาวน์ 2025 ลดโลกร้อน พันธกิจเพื่อคนรุ่นใหม่ที่ทำได้

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:4 Minute, 21 Second

การจัดงานอีเว้นท์แต่ละครั้งของมนุษย์โลก ถือเป็นกิจกรรมขนาดใหญ่ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็น การใช้พลังงาน การพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือแม้กระทั้งการจัดงานอีเว้นท์ ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งส่วนของการจัดงานและการพักแรม การเดินทางของผู้เข้าร่วมงาน การใช้พลังงานในการปรุงอาหาร สิ่งเหลือทิ้งจากการจัดงาน ล้วนเป็นที่มาของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสาเหตุของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งสิ้น

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือ TGO นำเสนอบทความเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ เริ่มจากข้อมูลขององค์กรต่าง ๆ ที่แสดงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดงานอีเว้นท์ และผ่านการรับรองการชดเชยก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบ Carbon Neutral กับ TGO จำนวน 256 อีเว้นท์ แสดงให้เห็นว่า การจัดอีเว้นท์ประเภทงานเทศกาล 1 ครั้ง ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยถึง 122.52 tCO2eq รองลงมาคือ การแข่งขันกีฬา ปล่อยเฉลี่ย 66.83 tCO2eq การจัดงานดนตรีและคอนเสิร์ต 48 tCO2eq การประชุมและสัมมนา 13.84 tCO2eq การจัดแสดงสินค้า 3.33 tCO2eq และการท่องเที่ยว 1.26 tCO2eq

เพราะฉะนั้น คำนวณกันง่ายๆ แบบไม่ซับซ้อน เทศกาลเคานต์ดาวน์เฉลิมฉลองที่แต่ละจุดจัดขึ้นในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ น่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ย 122.52 tCO2eq รวมกับการจัดงานดนตรีและคอนเสิร์ตที่ทุกเคานดาวน์ต้องมีอีกราว 48 tCO2eq รวมกว่า 170 tCO2eq

ดังนั้น การจัดงานอีเว้นท์ จะต้องคำนึงถึงความยั่งยืน โดยให้ความสำคัญต่อการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการจัดงาน เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอน โดย TGO ได้พัฒนาข้อกำหนดและแนวทางการรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งมีขอบข่ายครอบคลุมการดำเนินงาน และการให้การรับรองทั้งในระดับองค์กร ผลิตภัณฑ์ (ครอบคลุุมสินค้าและบริการ) อีเว้นท์ และบุคคล

สำหรับ Net Zero ระดับอีเว้นท์หมายถึง การรับรอง Net Zero การประชุม/สัมมนา การท่องเที่ยวการแข่งกีฬา ดนตรี/คอนเสิร์ต การจัดแสดงสินค้า การจัดประชุมนานาชาติ การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และเทศกาล เฉพาะการจัดงานรายครั้ง โดยการชดเชยเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ระดับอีเว้นท์ เป็นการส่งเสริมให้มีการจัดหาคาร์บอนเครดิตจากโครงการเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (GHG Removal Enhancement) ด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของอีเว้นท์ เพื่อทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอีเว้นท์เท่ากับศูนย์

คณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ระดับการจัดกิจกรรม (Net Zero Event) เป็นครั้งแรกของไทย จากการที่ #กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้จัดกิจกรรมเก็บขยะป่าชายเลน เนื่องในวันคุ้มครองโลก ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2567 ณ ศูนย์วิจัยทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 จังหวัดสมุทรสาคร มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 1.53 tCO2eq และได้ชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 2 tCO2eq

คาร์บอนเครดิตที่ใช้ในการชดเชยมาจากโครงการการปลูกป่าอย่างยั่งยืน โครงการขนาดใหญ่ ในพื้นที่สวนป่าขุนแม่คำมี สวนป่าวังชิ้น สวนป่าแม่ยม-แม่แปง จังหวัดแพร่ (Large Scale Sustainable Forestation Project in Khun Mae Kum Mee, Wung Chin, and Mae Yom-Mae Pang plantation, Phrae Province) ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ที่ได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิตตามมาตรฐานโครงการ T-VER ทั้งนี้ ผลการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการจัดงานและการอ้้างสิิทธิ์์ Net Zero ได้รับการทวนสอบจากหน่วยงานทวนสอบที่่ได้้รัับการขึ้นทะเบีียนจาก TGO

จะเห็นได้ว่าการจัดอีเว้นท์ที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบ Net Zero Event นั้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกและเป็นการส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ไทย ให้มีความสามารถในการนำเสนอการจัดอีเว้นท์แบบ Net Zero Event ซึ่งกำลังเป็นกระแสหลักในปัจจุบัน และมีแนวโน้มได้รับการปฏิบัติเป็นปกติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะจากต่างประเทศ ทั้งยังส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงานหรือองค์กรผู้จัดงาน รวมทั้งประเทศไทยในฐานะผู้นำด้านการจัดงานอีเว้นท์ที่ยั่งยืนอีกด้วย

แน่นอนว่า ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่หลายๆ แห่งมีการจัดกิจกรรม รวมทั้งมหกรรมเคานต์ดาวน์แบบยิ่งใหญ่ หากผู้จัดทั้งหลายให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ ก็จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโลกจากอีเว้นท์และกิจกรรมที่จัดขึ้นได้ ไม่มากก็น้อย

ผู้จัดการที่สามารถปฏิบัติได้ ไม่เพียงแต่ช่วยโลก แต่ยังสามารถสร้างแบรนด์ขององค์กรในเชิงบวกกับผู้บริโภคที่ใส่ในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งดูได้จากผลการสำรวจของบริษัท Deloitte ในปี 2018 ระบุว่า กว่า 77% ของกลุ่มคน Gen Z ในสหรัฐอเมริกา คิดว่าการทำงานในองค์กรที่มีจุดยืนแบบเดียวกับพวกเขาเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากปัญหาทางสังคมเป็นประเด็นที่คนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อม

สอดคล้องกับรายงานของบริษัทประกันชีวิต Bupa ในสหราชอาณาจักร เมื่อปี 2021 ที่พบว่า 64% ของผู้ตอบแบบสอบถาม อายุระหว่าง 18 – 22 ปี คิดว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ที่บริษัทจะออกมาขับเคลื่อนในประเด็นสิ่งแวดล้อม ขณะที่ 59% เลือกจะทำงานในบริษัทที่คิดถึงสังคม

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ไอคอนสยาม เคานต์ดาวน์ เชิดชูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่สากล

ไอคอนสยาม นำ Amazing Thailand Countdown 2025 ยืนหนึ่งงานเคานต์ดาวน์ครองใจคนทั่วโลก “ลิซ่า ลลิษา มโนบาล” มาพร้อมโชว์เดี่ยวสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกองทัพศิลปินไทย-อินเตอร์ฯ ตลอดงานฉลอง 3 วัน 3 คืน ก่อนปิดท้ายด้วยพลุรักษ์โลก ตระการตาบนโค้งน้ำที่สวยที่สุดของแม่น้ำเจ้าพระยา ยอดผู้ชมกว่า 30 ล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก

You May Like