เปิดเส้นทางธุรกิจยั่งยืน ซีพี-เมจิ เล็งทำไพรอทโปรเจคคาร์บอนเครดิตฟาร์ม CPF Source

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:8 Minute, 22 Second

ซีพี-เมจิ พัฒนาน้ำนมดิบยั่งยืน ควบคุมทุกวัตถุดิบต้องตรวจสอบย้อนกลับได้ และไม่มาจากแหล่งที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เผยนำมาตรฐานสากลเข้าบริหารจัดการตลาดห่วงโซ่การผลิต พร้อมกำกับด้วย Animal Welfare และ Gold Standard เดินหน้าต่อสู่ไพรอทโปรเจคคาร์บอนเครดิต ในฟาร์มโคนม CPF Source ก่อนขยายสู่ฟาร์มอื่นๆ

บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด ดำเนินธุรกิจภายใต้นโยบายความยั่งยืน ที่มี ESG (Environment, Social, และ Governance) เป็นแนวทางปฏิบัติ คู่ขนานไปกับการดูแลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำใน 3 เสาหลัก ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ (Business) คือการพัฒนา ส่งเสริมพันธมิตรทางธุรกิจ ทั้งเกษตรกรและลูกค้า เพื่อสร้างการเติบโตอย่างรับผิดชอบ ด้านสังคม (People) ได้แก่ การคิดค้นสินค้านวัตกรรมที่มีประโยชน์และปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย รวมถึงดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงานและชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม (Planet) ได้แก่ การจัดการด้านพลังงาน น้ำ ของเสีย และการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ 

ชาลินี พูนลาภมงคล รองผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และความยั่งยืน บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG ต้องมีอยู่ในกระบวนการทำงาน โดยไม่ทำให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ต้องทำเพิ่ม มันคือสิ่งปกติที่ต้องทำ โดยมีเป้า 5 เรื่องสำคัญ คือ การดูแลจัดการสภาพภูมิอากาศ การจัดการพลังงาน การบริหารจัดการน้ำ การบริหารพลังงาน และการบริหารจัดการของเสีย โดยส่วนของพลังงาน มีเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เฟสแรก คือ สโคป 1 และ 2 ซึ่งมีเป้าลดลงให้ได้ 30% ภายในปี 2030 จากปีฐาน 2020 ส่วนสโคป 3 เริ่มเก็บข้อมูลเพื่อดำเนินการผ่านการทำงานร่วมกับซีพีเอฟ หรือเครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งเป็นบริษัทแม่

ในมิติของ E : Environment ซีพี-เมจิ ดำเนินการตั้งแต่ การลดน้ำ ขยะ การใช้พลังงาน รวมทั้งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการร่วมกับพนักงาน ชุมชน และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ด้วยเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียว 1,000 ไร่ ควบคู่การทำ Biodiversity อีกส่วนคือ การจัดซื้อจัดหาอย่างรับผิดชอบ เราตั้งเป้า 3 เรื่อง คือ บรรจุภัณฑ์ต้องสามารถวนกลับมาใช้ใหม่ได้ ผ่านการ Recycable Reusable หรือ Compostable ปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้กับโยเกิร์ตประมาณ 95% เป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ รีไซเคิลได้ หรือกลับมาแปรรูปได้

ชาลินี พูนลาภมงคล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด

ส่วนของวัตถุดิบหลัก ต้องมาจากแหล่งที่ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ตรวจสอบย้อนกลับได้ และซัพพลายเออร์ต้องตระหนัก และปฏิบัติสอดคล้องกับแนวทาง ESG

ขณะเดียวกัน ซีพี-เมจิ มีแผนขยายการทำโซล่าเอ็นเนอร์จี้เพิ่มขึ้น ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ ซีพี-เมจิ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์แล้วประมาณ 18% และยังมองหาพลังงานทดแทนรูปแบบอื่นๆ อาทิ Bio Mass

ส่วนของการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ในกระบวนการผลิตค่อนข้างมาก ซีพี-เมจิ ตั้งเป้าการปล่อยน้ำเสียออกจากโรงงานเป็นศูนย์ และวนน้ำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าที่สุด

เช่นเดียวกันกับของเสียและขยะต่างๆ ซึ่งมีหลายประเภท มีการคัดแยกและบริหารจัดการอย่างถูกวิธี พร้อมทั้งยังมีการรณรงค์สร้างความเข้าใจกับผู้บริโภค ให้มีความเข้าใจเรื่องของขยะพลาสติกมากยิ่งขึ้น ผ่านโครงการรีไซขุ่น ซึ่งจัดทำมาแล้ว 2 ปี เป็นโครงการนำขวดขุ่น หรือพลาสติกแบบขุ่น (HPDE) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายมากที่สุดของซีพี-เมจิ กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ซึ่งปีแรกได้รีไซเคิลแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติกเพื่อนำมาผลิตเป็น “ถังขยะ เพื่อแยกขยะ” จำนวน 500 ถัง

ด้านของสังคม S : Social ปัจจุบันดำเนินการ 6 เรื่อง ประกอบด้วย 1. Health and Nutrition 2. Human Capital Development 3. Human Rights & Labor Practices 4.Food Quality & Safety 5. Occupational Health &Safety 6.Community Development & Support

สินค้าซีพี-เมจิ ต้องพิสูจน์ได้ว่าดีต่อสุขภาพมากขึ้น โดยอิงกับเกณฑ์ Healthy of Choice ของในแต่ละประเทศ พยายามรณรงค์ให้ผู้บริโภคกินหวานน้อยลง ด้วยการลดใช้น้ำตาลในผลิตภัณฑ์ และไม่ใช้สารความหวานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัย เช่น ศูนย์์รับนมต้องได้ Gold Standard ปลอดยาปฏิชีวนะและสารอะฟลาท็อกซิน และปลายทางต้องไม่มีปัญหาการเก็บกลับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

ออีกเรื่องที่สำคัญมาก คือ คน ซีพี-เมจิ พัฒนาและส่งเสริมทักษะสำคัญๆ รวมถึงให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ควบคู่กับการการดูแลชุมชนรอบโรงงาน ทั้งการทำโรงผลิตน้ำสะอาด มาตรฐาน อย. ที่โรงเรียนหินกอง ที่เปิดใช้งานในปี 2567 รวมทั้งจัดทำนวัตกรรมการศึกษาเพื่อออนาคต (Innovative Education) โดยร่วมกับโรงเรียนทำหลักสูตรเสริมเป็นนวัตกรรมการศึกษาแนวใหม่ สอดรับกับกฎกระทรวง เริ่มจากอบรมครู โดยปีนี้และแนวทางต่อไปเน้นเรื่องของ STEM เป็นหลัก ทำเรื่อง “Innovative Education” “Robotics & Coding” เพื่อเขียนโปรแกรมบังคับหุ่นยนต์ เราบริจาคคอมพิวเตอร์ มีเวทีแข่ง ปีนี้จัดแข่งแกรนด์แชมเปี้ยนชิฟ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

การทำงานร่วมกับชุมชน สาม คือ โภชนาการ (Nutrition) เน้นเรื่องโภชนาการที่เหมาะสม ทำโครงการออกกำลังให้เด็ก บริหารร่างกาย บริหารอารมณ์ โดยพยายามทำให้ครบทั้งการศึกษาและโภชนาการ เพื่อผลักดันให้เกิดโรงเรียนต้นแบบ

เป้าหมายของซีพี-เมจิ คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30%, ลดการใช้น้ำ 25%, ลดการเกิดขยะฝังกลบ 25% จากกระบวนการผลิต ซีพี-เมจิ ริเริ่มและดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้เป้าหมายของซีพีเอฟในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ภายในปี 2593 สอดคล้องตามมาตรฐานขององค์กร Science Based Targets initiatives (SBTi)

อาทิตย์ นุกูลกิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการน้ำนมดิบ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด

อาทิตย์ นุกูลกิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการน้ำนมดิบ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด ขยายความเพิ่มเติมว่า จากปัญหาเกษตรกรฟาร์มโคนมที่ขาดทุนและเลิกกิจการไปจำนวนมาก จากผลกระทบในช่วงโควิดที่ทำให้ต้นทุนอาหารสัตว์ราคาเพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้แม้ทุกอย่างจะเริ่มฟื้นตัว ในส่วนของซีพี-เมจิ เองก็พยายามส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเก๖รกรรายย่อยได้กลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่งขึ้น ด้วยการให้ความรู้ และส่งเสริมการทำธุรกิจที่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงในปี 2568 ซีพี-เมจิ จะทำไพรอทโปรเจค การพัฒนาด้านคาร์บอนเครดิต ผ่านฟาร์มโคนมยั่งยืน โดยเริ่มจาก ฟาร์มโคนม CPF Source ที่บริหารจัดการโดยซีพีเอฟก่อน

ซีพี-เมจิ จำกัด จัดตั้งฝ่ายบริหารจัดการน้ำนมดิบ หรือ Raw Milk Management Team เพื่อช่วยขับเคลื่อนโครงการแบบบูรณาการกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ สร้างกลไกความร่วมมือกับนักวิชาการด้านโคนม กับมหาวิทยาลัย อาทิ การลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยด้านโคนมระหว่างบริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการผลิต รวมถึงการสร้างฟาร์มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตัวอย่าง เดินหน้าพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในภาคเหนือ คู่ขนาน กับการสร้างนักวิชาการรุ่นใหม่ สร้างรายได้ที่มั่นคง นำไปสู่อาชีพเกษตรกรโคนมที่ยั่งยืน

ยกตัวอย่างเกษตรกรฟาร์มโคนมที่จังหวัดเลย ซีพี-เมจิ ได้ร่วมมือกับสหกรณ์การเกษตร ช่วยให้ความรู้ และผลักดันให้เกิดการเลี้ยงและผลิตน้ำนมดิบที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน การให้อาหารทั้งอาหารข้นและอาหารหยาบอย่างเหมาะสม รวมทั้งทำให้เกษตรกรมีตลาดรองรับโดยการจัดทำศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบก่อนส่งเข้าโรงงาน มีการส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการปรับปรุงพันธุ์วัว การปรับปรุงฟาร์ม นำเรื่องของ สวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare)เข้ามาปรับใช้

เป้าหมายของการพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมอย่างยั่งยืน คือการพัฒนาทางด้านผลผลิตผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพของฟาร์มโคนม เพื่อให้ได้น้ำนมดิบในปริมาณ มาตรฐาน ประมาณ 12-15 กิโลกรัม ต่อตัว รวมทั้งเพิ่มจำนวนฟาร์มเครือข่าย ศูนย์รับนมเครือข่าย และฟาร์มต้นแบบ เพื่อขยายการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรในการจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพครบวงจร ในปัจจุบันมีฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการฟาร์มต้นแบบกับทางซีพี-เมจิ 65 ฟาร์ม ซึ่งซีพี-เมจิ รับปริมาณน้ำนมดิบ 600 ตันต่อวันจากศูนย์รับนม 50 แห่งทั่วประเทศไทย

ซีพี-เมจิยึดหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice ; GAP) เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัยทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคสำหรับฟาร์มโคนม ซึ่งครอบคลุมข้อกำหนดตั้งแต่องค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม บุคลากร สุขภาพสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์ สิ่งแวดล้อม และการบันทึกข้อมูล รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) โดยในปี 2567 ทางทีมบริหารจัดการน้ำนมดิบ ของซีพี-เมจิ (Raw Milk Management: RMM) ทำงานร่วมกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และกรมปศุสัตว์ จัดทำแบบประเมินสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อตรวจประเมินฟาร์มต้นแบบนำร่อง โดยแบ่งออกเป็น 2 แกนหลัก ได้แก่ ด้านการออกแบบ และการจัดการระบบการเลี้ยงและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และด้านการจัดการเลี้ยงดูโคนมตามมาตรฐานการจัดการฟาร์มปศุสัตว์ที่ถูกต้อง

แผนการดำเนินงานและเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนของซีพี-เมจิในการ “เพิ่มคุณค่าชีวิต” เพิ่มคุณค่าและสร้างการเติบโตร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยมีเป้าหมาย 100% ของฟาร์มโคนมที่ส่งนมให้ซีพี-เมจิ ต้องผ่านมาตรฐานคุณภาพระดับ Gold Standard ซีพี-เมจิสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โดยจัดการอบรมและให้ความรู้เชิงวิชาการ ผนวกกับการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยง โคนม บริษัทฯ ได้วาง Roadmap ในด้านการสนับสนุนฟาร์มโคนมในการพัฒนาคุณภาพการเลี้ยง เพื่อให้ได้น้ำนมที่มีคุณภาพและปริมาณตามมาตรฐาน ภายใต้ MOU กับ ทีมนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

กลุ่มเซ็นทรัลปรับปรุงหอผู้ป่วย-ห้องตรวจจิตเวช โรงพยาบาลตำรวจ

กลุ่มเซ็นทรัล เดินหน้าสนับสนุนสุขภาพจิตไทย ปรับปรุงหอผู้ป่วยและห้องตรวจจิตเวช โรงพยาบาลตำรวจ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษา พร้อมสร้างความยั่งยืนให้สังคมไทย

You May Like