IMET MAX ดึง 12 ผู้บริหารระดับสูงสร้าง “ผู้นำรุ่นใหม่” ที่ดีและเก่ง ฟรี!

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 0 Second

มูลนิธิ IMET สานต่อ IMET MAX ปีที่ 5 เปิดตัว 12 ผู้บริหารระดับสูงจิตอาสา ปั้น “ผู้นำรุ่นใหม่” ที่ทั้งเก่งและดี ผ่านกระบวนการ Mentoring เข้าสู่อุทยานผู้นำ ผลักดันเศรษฐกิจชาติเติบโตยั่งยืน

นายธนพล ศิริธนชัย กรรมการมูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย (IMET) และประธานโครงการ IMET MAX เปิดเผยว่า มูลนิธิ IMET เดินหน้าสานต่อโครงการบ่มเพาะผู้นำรุ่นใหม่ ให้ก้าวสู่ความเป็นผู้นำที่พร้อมทั้งความเก่งและความดี ผ่านโครงการ “IMET MAX” ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 5 โดยกลุ่มผู้บริหารระดับสูงในองค์กรระดับประเทศ 12 คน ที่อาสาเป็น Mentor ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ให้คำชี้แนะ ให้คำปรึกษา และมุมมองสะท้อนย้อนคิด (Reflection) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้น ให้กับ Mentee 36 คน ซึ่งคัดเลือกจากผู้นำรุ่นใหม่อายุเฉลี่ย 30-45 ปี ที่เป็นคนดี และมีความพร้อมในการเรียนรู้

สำหรับ 12 ผู้บริหารระดับสูง ประกอบด้วย กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร จรีพร จารุกรสกุล จรัมพร โชติกเสถียร ธีรพงศ์ จันศิริ บรรยง พงษ์พานิช ปรีชา เอกคุณากูล ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ภาณุ อิงคะวัต วรรณิภา ภักดีบุตร ดร.วิรไท สันติประภพ วิบูลย์ ตวงสิทธิสมบัติ และสมประสงค์ บุญยะชัย โดยจะมาให้คำชี้แนะ คำปรึกษา ช่วยคิด และชวนคิด รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้บริหารรุ่นใหม่ (Mentee) ผ่านการ Mentoring หรือ “กระบวนการช่วยคิด และ ชวนคิด”

ผู้นำที่เข้าร่วมในโครงการนี้ จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ่ง โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ IMET ทั้งหมด ผู้ที่ได้รับเลือกเข้าร่วม จะสามารถพบปะพูดคุยกับเมนเทอร์ และสามารถเรียนรู้อย่างใกล้ชิดแบบกลุ่มย่อย ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนมุมมองกับปัญหาและอุปสรรคที่พบเจอมาจริงๆ แบบไม่มีหลักสูตรตายตัว และไม่มีห้องเรียน โดยมุ่งเน้นในเรื่องสติปัญญาที่สมบูรณ์พร้อม Wisdom for Life and Social Values ที่ช่วยสร้างคุณค่าและความสมดุลของชีวิต ทั้งในเรื่องงาน การใช้ชีวิตและการตอบแทนสังคม หล่อหลอมการเป็นผู้นำที่เป็นคนดี รู้จักการเป็นผู้ให้ ยึดมั่นในความถูกต้อง

นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด และในฐานะเมนเทอร์ (Mentor) ของโครงการ IMET MAX กล่าวว่า การเป็นเมนเทอร์ นอกจากจะเป็นผู้ให้ความรู้ ให้ความแนะนำและข้อคิดแล้ว ยังมีโอกาสได้เป็นผู้รับจากเมนทีด้วยเช่นกัน ถือเป็นการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

นายปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) ในฐานะเมนที (Mentee) รุ่นที่ 1 และคณะทำงานโครงการ IMET MAX กล่าวว่า การตั้งเป้าหมายและสร้างแผนทั้งกับชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ส่วนหนึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากกระบวนการชวนคิดของพี่ๆ เมนเทอร์ ทำให้ได้เห็นเป้าหมายของตัวเอง และมีเจตนารมณ์ในการใช้ชีวิตที่ชัดเจนมากขึ้น บางปัญหาที่เราไม่สามารถปรึกษาคนรอบข้างหรือคนในองค์กรได้ กลับได้รับการปลดล็อกจากกระบวนการ Mentoring ที่พี่ๆ Mentor ได้ชวนคิดและช่วยคิด

จากโครงการ IMET MAX ที่ผ่านมา ได้สร้างอุทยานผู้นำ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับ เมนเทอร์ และเมนที รวมแล้วกว่า 155 คน โดยในปีนี้โครงการ IMET MAX เปิดรับสมัครผู้นำรุ่นใหม่ที่เป็นคนดี มีศักยภาพสูง และมีความต้องการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ Mentoring ให้เข้าร่วมโครงการ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 มกราคม 2566 เริ่มเปิดโครงการ 19 กุมภาพันธ์ 2566

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ก.ล.ต. เปิดตัว "คู่มือแนวปฏิบัติฯ"ความเสี่ยงสภาพภูมิอากาศ

ก.ล.ต. เปิดตัว “คู่มือแนวปฏิบัติฯ” การบริหารจัดการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยง สภาพภูมิอากาศสำหรับผู้ประกอบธุรกิจจัดการลงทุน