P&G นำ”เศรษฐกิจหมุนเวียน” พัฒนานวัตกรรม ขับเคลื่อนธุรกิจสู่เป้า Net Zero 2040

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 0 Second

พีแอนด์จี เดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero Ambition ปี 2040 นำเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างธุรกิจ พัฒนานวัตกรรม เพื่อการใช้ทารัพยากรอย่างคุ้มค่า

นายนิทิน ดาร์บารี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พีแอนด์จี ประเทศไทย  กล่าวว่า จากเป้าหมาย P&G Ambition 2030 สู่เป้าหมายที่จะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Ambition) ในปี 2040 ครอบคลุมถึงการปล่อยมลพิษตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยจะลดพลาสติกปิโตรเลียมบริสุทธิ์ 50% ในปี 2030

P&G ได้นำระบบ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” มาสร้างรูปแบบธุรกิจและนวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด เช่น แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ที่ตั้งเป้าจะใช้พลาสติกรีไซเคิลอย่างน้อย 4,000 ตันและมี PCR สูงถึง 25% ในขวดแชมพูและครีมนวดผม

นายนิทิน ดาร์บารี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พีแอนด์จี ประเทศไทย

ล่าสุด บริษัทฯ ย้งได้จัดทำโครงการ ‘Upcycling Plastic House 2022 เพื่อความยั่งยืนและเท่าเทียม’ โดยร่วมมือกับ โลตัส แสนสิริ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC มูลนิธิที่อยู่อาศัย ประเทศไทย และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำ Upcycling Plastic House ที่เคยใช้เป็นศูนย์พักคอย สำหรับผู้พิการที่ได้รับผลกระทบจากโควิดมาต่อยอด สร้างเป็นที่พักอาศัยสำหรับกลุ่มเปราะบาง

โลตัส รับหน้าที่ตั้งจุดรับบริจาค รวบรวมขวดแชมพูพลาสติกและแชมพูถุงเติม โดยสามารถรวบรวมขวดพลาสติกและกระป๋องอลูมิเนียมได้แล้วเกือบ 3 ล้านขวด พลาสติกยืดกว่า 1.5 ล้านกิโลกรัม กล่องและลังกระดาษกว่า 157 ล้านกิโลกรัม 

ด้าน GC ใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระบวนการ Upcycling จากกล่องนม มาเป็นแผ่นบอร์ด และแผ่นหลังคา (Eco Board and Eco Roof) และไม้เทียม (Wood Plastic Composite)  

วัสดุใหม่สำหรับบ้านหลังนี้ คือ อิฐก่อสร้าง (Eco Bricks)  ซึ่งผลิตจากพลาสติกใช้แล้วจากขวดขุ่น (HDPE Bottle) ผสมกับปูนซีเมนต์ มีคุณสมบัติความแข็งแรงการรับน้ำหนักและทนทานแข็งแรงดี โดยไม่ต่างจากอิฐหรือบล็อกปูถนนปกติที่ใช้กันอยู่ เทียบเท่ามาตรฐาน มอก. โดยผ่านการจัดเก็บและคัดแยกพลาสติกใช้แล้วจาก “YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม” เพื่อจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างครบวงจร ตั้งแต่วิธีการการคัดแยก การจัดเก็บ การขนส่ง ไปจนถึงการนำพลาสติกใช้แล้วไปรีไซเคิลอย่างครบวงจร หรือที่เรียกว่า End-to-End Waste Management เพื่อนำพลาสติกใช้แล้วเข้าสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกวิธีผ่านจุดรับพลาสติกใช้แล้ว (Drop Point) และโครงการต่างๆ ของ YOUเทิร์น   

จากความร่วมมือในโครงการนี้ คาดว่าจะช่วยลดปริมาณพลาสติกใช้แล้วได้กว่า 2,000-4,000 กิโลกรัม ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ กว่า 18,000–36,000 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และลดผลกระทบที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน

นางสาวชลีรัตน์ ต่อจรัส ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดองค์กร บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บทบาทของแสนสิริในฐานะผู้ออกแบบบ้าน Upcycling Plastic House และความร่วมมือในครั้งนี้ว่า แสนสิริ ตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero)ในปี 2050  การเข้าร่วมโครงการ ‘Upcycling Plastic House 2022 เพื่อความยั่งยืนและเท่าเทียม’ สอดคล้องกับพันธกิจ “Sansiri Sustainability” ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืนและใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และยังมีการต่อยอดโครงการ “waste to WORTH: แยกขยะให้เกิดประโยชน์” เพื่อปลูกฝังเรื่องการจัดการขยะ ส่งเสริมและสร้างความเข้าใจในการแยกขยะตั้งแต่ต้นทางให้เกิดประโยชน์

​แสนสิริได้นำความเชี่ยวชาญด้านดีไซน์ ออกแบบ Upcycling Plastic House ที่คำนึงถึงการอยู่อาศัยและใช้งานจริง โดยนำหลักการออกแบบด้าน Universal Design เป็นบ้านที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนทุกเพศทุกวัย รวมทั้งให้ความสำคัญกับ Natural Ventilation มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก เน้นความโปร่ง ช่วยลดการใช้พลังงาน รองรับการอยู่อาศัยสำหรับ 2 คน

งานออกแบบนี้  มีการดีไซน์แบบยืดหยุ่น ทำให้สามารถต่อยอดในโครงการ Upcycling Plastic House ในทำเลอื่น ๆ หรือโครงการต่อไปในอนาคตได้

นายอวิรุทธ์ โชตินันทเศรษฐ์ ประธานกรรมการ มูลนิธิที่อยู่อาศัย ประเทศไทย กล่าวถึง ความร่วมมือในโครงการ และการก่อสร้างว่า Habitat for Humanity Thailand หรือ มูลนิธิที่อยู่อาศัย ประเทศไทย ดำเนินการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผ่านการร่วมซ่อมสร้างที่อยู่อาศัย และการร่วมพัฒนาชุมชนให้มีความยั่งยืน ตามหลักการของระดับนานาชาติเรื่อง SDGs

การปลูกฝัง เพื่อให้เกิดคุณค่าจากการพัฒนาขยะเหลือใช้ ในโครงการ  Upcycling house เพื่อความยั่งยืนและเท่าเทียม Habitat ได้สนับสนุนคนพิการ ภายใต้การดูแลของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมูลนิธิ การเริ่มต้นจากเรื่องเล็กที่ไม่เล็ก คือการแยกขยะ และการนำขยะเหลือใช้เหล่านั้น เช่น Plastic Waste มาใช้ประโยชน์ในการเป็นวัสดุเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยได้อย่างน่าประทับใจ

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าว ปีนี้สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีในพระอุปถัมภ์ ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รับหน้าที่เป็นผู้ดูแลจัดหาผู้อยู่อาศัย จากความมุ่งมั่นตั้งใจของหน่วยงานชั้นนำในประเทศไทย ในการคืนชีวิตให้พลาสติกด้วยการนำกลับมาสร้างสิ่งใหม่นอกจากจะช่วยลดปัญหาพลาสติกในสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่กลายเป็นที่พักอาศัยที่มีความแข็งแรงทนทาน เหมาะสมกับการอยู่อาศัย 

ที่ผ่านมาบ้าน Upcycling Plastic House ได้สร้างผลกระทบเชิงบวกที่ยิ่งใหญ่ต่อชุมชนและสังคม อาทิ การทำเป็นศูนย์พักคอยสำหรับผู้พิการที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในช่วงที่ผ่านมา เป็นต้น 

โครงการ Upcycling Plastic House จะเป็นโครงการนำร่องให้กับการคัดแยกพลาสติก กลายเป็นแนวทางการบริโภคและรวบรวมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ สร้างสรรค์วัสดุใหม่ที่เป็นประโยชน์กับประชาชนกลุ่มเปราะบางขยายผลไปยังสู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

“เบทาโกร” 9 เดือนแรกกำไรทะลุ 2,400 ล้าน เร่งพัฒนาธุรกิจอาหารและโปรตีนโตต่อ

เบทาโกร รายได้รวมไตรมาส 3 เพิ่ม 5.6% มีกำไรสุทธิ 2,407.2 ล้าน รายได้รวม 29,690.7 ล้าน เผย 4 กลุ่มธุรกิจสร้างยอดขายดี กลุ่มธุรกิจอาหารและโปรตีน ทำเงินกว่า 68% ของรายได้ ขณะที่กลุ่มธุรกิจเกษตร กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ และกลุ่มธุรกิจสัตว์เลี้ยง โตต่อเนื่อง