ไทยติด Top20 ส่งเสริมสตรีเป็นเจ้าของธุรกิจ

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:4 Minute, 30 Second

มาสเตอร์การ์ดชี้ไทยฟิลิปปินส์ออสเตรเลียฮ่องกงและเวียดนามติด 20 อันดับแรกของโลกประเทศที่เอื้อผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจด้านนิวซีแลนด์ไต้หวันและสิงคโปร์เอื้อมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก

ข้อมูลจากดัชนีผู้ประกอบการสตรีของมาสเตอร์การ์ดประจำปีพ.ศ. 2562 สรุปออกมาว่าประเทศนิวซีแลนด์ถูกจัดให้เป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและอันดับสองของโลกรองจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจสำหรับผู้หญิงมาสเตอร์การ์ดเผยดัชนีผู้ประกอบการสตรี(Mastercard Index of Women Entrepreneurs) เป็นฉบับที่สามเพื่อฉลองให้กับประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เติบโตขณะเดียวกันเพื่อส่งสัญญาณให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันที่ยังคงมีอยู่ในสังคม

ดัชนีผู้ประกอบการสตรีของมาสเตอร์การ์ดรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานระหว่างประเทศองค์กรแรงงานระหว่างประเทศยูเนสโกและรายงานการศึกษาความเป็นผู้ประกอบการระดับโลก(The Global Entrepreneurship Monitor) เพื่อติดตามความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิงใน 58 ประเทศ(คิดเป็นเกือบ 80% ของแรงงานหญิงทั่วโลก) พิจารณาจาก 3 องค์ประกอบได้แก่ 1) ผลลัพธ์ด้านความก้าวหน้าของสตรี 2) สินทรัพย์ด้านความรู้และการเข้าถึงทางการเงินและ 3) สภาพที่เอื้อต่อการประกอบกิจการ

รายงานนี้ได้ตอกย้ำถึงความสามารถของผู้หญิงในการทำธุรกิจและการมีส่วนร่วมในการทำงานที่มากขึ้นในประเทศที่เปิดกว้างอย่างนิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และออสเตรเลียประเทศเหล่านี้มีอัตราการสนับสนุนการทำธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สูงและมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ 

ผู้หญิงในประเทศเหล่านี้สามารถเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนการให้บริการด้านการเงิน และหลักสูตรให้ความรู้ในด้านต่างๆโดยทั่วไปแล้ว ประเทศเหล่านี้มีบรรทัดฐานทางสังคมที่ส่งเสริมความสำเร็จของบุคคล ที่มีความพยายามคิดสร้างสรรค์ และกล้าได้กล้าเสีย รวมถึงให้โอกาสผู้หญิงอย่างเท่าเทียม ในการเป็นผู้นำทางธุรกิจ ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และให้การยอมรับในฐานะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ซึ่ง 80% จาก 20 อันดับประเทศทั่วโลก ที่ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการสตรี เป็นประเทศที่มีฐานรายได้สูง

เจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิง(จากร้อยละของเจ้าของธุรกิจทั้งหมด) เป็นตัวชี้ค่าดัชนีผู้ประกอบการสตรีคำนวณจาก3 องค์ประกอบในข้างต้น

จาก58 ประเทศในดัชนีนี้มี8 ประเทศที่มีการเลื่อนอันดับมากกว่า5 อันดับในแต่ละปีประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีการเลื่อนอันดับเร็วที่สุดและเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนคืออินโดนีเซีย(+13 อันดับ) ไต้หวัน(สาธารณรัฐจีน) (+9 อันดับ) และไทย(+5 อันดับ)

ในอีกด้านหนึ่งผู้หญิงที่อยู่ในประเทศที่อยู่อันดับล่างของดัชนีนี้ไม่ได้รับโอกาสในการทำงานในตำแหน่งระดับสูงถูกจำกัดโอกาสทางธุรกิจเนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินต่ำได้รับโอกาสการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาน้อยและระบบธุรกิจและการเงินที่ด้อยพัฒนาทำให้การทำธุรกิจเป็นเรื่องยากที่สำคัญสังคมและกฎระเบียบทางสังคมไม่สนับสนุนให้พวกเธอทำงานไม่สนับสนุนความก้าวหน้าและไม่สนับสนุนให้ผู้หญิงสวมบทบาทผู้นำ

สิ่งที่เห็นได้ชัดจากการศึกษานี้คือความไม่เท่าเทียมทางเพศยังปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วทุกมุมโลกแม้จะแตกต่างกันออกไปซึ่งไม่เกี่ยวกับการเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาเพราะแม้กระทั่งในประเทศที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจก็ยังไม่สามารถผลักดันให้ผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจได้อย่างเต็มศักยภาพ 

สถานการณ์เช่นนี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสำเร็จของผู้หญิงทั้งทางสังคมอาชีพเศรษฐกิจและการเมืองทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคมในภาพรวม 

จูเลียน โลห์ รองประธานกรรมการ บริหารความร่วมมือระหว่างองค์กรประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด กล่าวว่า มาสเตอร์การ์ดสู้กับปัญหานี้ทั่วทุกมุมโลก โดยจัดหาเครื่องมือและโครงข่าย ที่จะผลักดันสังคมสู่การเติบโตแบบทั่วถึง และนำเศรษฐกิจดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับทุกคนในทุกที่

“ธุรกิจที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของและเป็นผู้นำสามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ทำให้ทุกชีวิตดีขึ้นจากการศึกษานี้มาสเตอร์การ์ดได้ส่องไฟไปสู่กลุ่มที่ไม่ได้รับการพูดถึงมากนักเพราะทุกวันนี้ยังมีความไม่เท่าเทียมและการกีดกันที่ดึงรั้งผู้หญิงไว้มาสเตอร์การ์ดเชื่อว่าความคิดที่ดีเริ่มต้นได้ทุกที่และถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลและองค์กรต่างๆจะร่วมมือกันผลักดันให้ผู้หญิงได้ก้าวหน้าทางธุรกิจมากขึ้นโดยกำจัดอคติทางเพศและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาและโอกาสทางการเงิน” แอนน์ แคนส์ รองประธานกรรมการบริหาร มาสเตอร์การ์ด กล่าว

ดัชนีผู้ประกอบการสตรีของมาสเตอร์การ์ดประจำปี พ.ศ. 2562 เป็นรายงานฉบับที่ 3 ที่ติดตามความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิงใน 58 ประเทศทั่วโลก ด้วยการเพิ่มสาธารณรัฐแองโกลา ในฐานข้อมูลของกลุ่มประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกา ดัชนีนี้ได้ขยายความพยายาม ที่จะติดตามปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดช่องว่างทางเพศของผู้ประกอบการ  

ผลการศึกษาฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงสภาวะความแตกต่างของแรงงานหญิงใน 58 ประเทศใน 3 มิติได้แก่ 1) ความก้าวหน้าทางอาชีพของสตรี 2) สินทรัพย์ด้านความรู้และการเข้าถึงทางการเงิน และ 3) สภาพที่เอื้อต่อการประกอบกิจการและยังชี้ให้เห็นถึงปัจจัยและสภาวะต่างๆ ที่สำคัญที่ช่วยลดช่องว่างทางเพศ ของผู้ประกอบการที่เป็นผู้หญิง รวมถึงปัจจัยและสภาวะที่จำกัด และกีดกันความสามารถของผู้หญิงในการทำธุรกิจ

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

โค้กส่งหนังสั้น กระตุ้นพฤติกรรมแยกขยะ

โค้กส่งหนังสั้น “คำสาป…จากน้องเอ้” จุดประกายพฤติกรรมการแยกขยะ ที่ทั้งไม่ยุ่ง และไม่ยาก เพียง “แยกถังสอง ให้ของไปเกิดใหม่”