“ไลอ้อน” รักษ์โลก ทำยังไงให้ NET ZERO

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 22 Second

“การกำหนดนโยบายด้านความยั่งยืนเป็นวิสัยทัศน์ขององค์กร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ด้วยการลด ทดแทน และการนำกลับมาใช้ใหม่”

นี่คือนโยบาย ที่ประธานกรรมการ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด “บุญฤทธิ์ มหามนตรี” ได้ประกาศไว้ และเป็นสิ่งที่ไม่ได้เพิ่งทำ แต่ทำมาตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจ ก่อนเกิดกระแสรักษ์โลกด้วยซ้ำ

“ดร.กิตติวัตร โสมวดี” รองผู้จัดการบริหารการผลิต บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ประกอบการสินค้า FMCG แบรนด์ไทย เล่าว่า กระบวนการทำงานของไลอ้อน คำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เริ่มดำเนินงาน ด้วยเป้าหมายหลัก 2 ด้านคือ การลดใช้พลังงานลง 55% ภายในปี ค.ศ.2030 ตั้งเป้า Carbon Neutrality ปีค.ศ.2050 และ Net Zero Emissions ปี ค.ศ.2065 พร้อมจัดสรรงบ 0.5% ของยอดขายแต่ละปี หรือประมาณ 100 ล้านบาทจากยอดขายกว่า 2 หมื่นล้านบาท เพื่อพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต ให้สอดรับกับเป้าหมายการดำเนินงานด้าน ESG ที่นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน มาปรับใช้กับทุกส่วนการผลิต ลดการใช้พลังงาน ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

“ดร.กิตติวัตร โสมวดี” รองผู้จัดการบริหารการผลิต บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด

ปัจจุบันไลอ้อนได้นำแนวทาง ESG มาขับเคลื่อนธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และการดำเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาล (Governance) สอดคล้องไปกับแนวทางความยั่งยืน SDGs หรือ Sustainable Development Goals ของสหประชาชาติ

“เรามีการกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อให้บริษัทมีการเติบโตอย่างยั่งยืน มีการกำหนดพันธกิจ เพื่อบรรลุความพึ่งพอใจลูกค้า ทั้งคุณภาพและสิ่งแวดล้อม เราจึงมีการพัฒนาธุรกิจ เช่น เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ ในทุกภารกิจที่ทำคือการเน้นการพัฒนานวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ สุขภาวะที่ดี ให้กับกลุ่มผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม”

“ดร.กิตติวัตร” บอกว่า ไลอ้อนมีการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายคาร์บอนต่ำ ตามเป้าหมายการลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตลง 55% ภายในปี ค.ศ.2030 และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ.2050

ไลอ้อนเริ่มตั้งแต่การลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิต โดยตั้งเป้าลดลง 30% ภายในปี ค.ศ.2030 นอกจากนี้ ยังพยายามใช้ทรัพยากรหมุนเวียน เช่น การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสคติกรีไซเคิลในทุกผลิตภัณฑ์ ภายในปี 2030 

รวมไปถึงการปรับปรุงกระบวนการผลิต ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง นำเทคโนโลยี Digital IOT, Digital Twin มาใช้ควบคุมกระบวกการผลิต เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการลงทุนเรื่องพลังงานทดแทน เช่น ระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และเมื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงมาได้ระดับหนึ่ง ก็จะมีการชดเชยคาร์บอนกลับไป 

นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับพันธมิตรและผู้ส่งมอบ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้พลาสติกหมุนเวียน หรือวัสดุชีวภาพ ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ เพื่อช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้น 

สำหรับงบด้านการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ไลอ้อนใช้ประมาณ 0.5% ของยอดขายในแต่ละปี บริษัทฯ ได้คำนวณการคืนทุน (ROI) 3 ปี 

“ดร.กิตติวัตร โสมวดี” รองผู้จัดการบริหารการผลิต บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด

“ดร.กิตติวัตร” ลงรายละเอียดถึงเทคโนโลยีที่นำมาใช้เพื่อการเสริมประสิทธิภาพการผลิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่เน้นการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาสร้างให้เกิดประโยชน์ เช่น กระบวนการความร้อนจากปฎิกิริยาเคมี มีการนำความร้อนกลับมาใช้ หรือ การนำน้ำจากกระบวนการผลิต มาดักจับสารต่างๆ แล้ว เราก็ดูสารที่มีคุณสมบัติเหาะกับการใช้งานกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งน้ำ และลด CO2 เป็นหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

โรงงานของไลอ้อนมีการปรับตัวสู่ Smart Factory ตั้งแต่ปี ค.ศ.2013 และปรับเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จนอัพเกรดเป็น “Digital Factory” เติมเต็มด้วยโซลูชั่นใหม่ๆ ต่อเนื่อง เช่น การนำ IOT มาทำการวิเคราะห์การใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพ การใช้ AI เข้ามาทำงานแทนคน ทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้น ส่วนคนก็มีการพัฒนาทักษะ ทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอด

“เราไม่ได้ลดแรงงานคน แต่เราทำส่วนของโรงงานออโตเมชั่น ซึ่งมีการลงทุนไปก่อนหน้านี้แล้ว เป็นการขยายการผลิต โดยเราไม่ต้องรับคนเพิ่มเราก็หมุนเวียนคนอยู่ในนั้น” 

ส่วนเรื่องของบรรจุภัณฑ์ ที่มีการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มี “ฉลากมาตรฐาน FSC” โดยร่วมมือกับ Siam Toppan Packaging ผู้ผลิตกล่องกระดาษ ที่ได้มาตรฐาน FSC นำร่องใช้สำหรับกล่องยาสีฟันซิสเท็มมา (Systema) ยาสีฟันกู๊ดเอจถั่งเช่าสีทอง (GoodAge Hydration Plus) และ ยาสีฟันซอลส์ คิง เฮิร์บ (Salz King Herb) กล่องบรรจุภัณฑ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในการใช้เยื่อกระดาษจากต้นไม้ที่มีการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ 

โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับตรารับรอง FSC Mixed จะต้องมีส่วนประกอบอย่างน้อย 70% ของไม้หรือเยื่อที่ผ่านการรับรอง FSC หรือผลิตภัณฑ์รีไซเคิล ขณะที่อีก 30% ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้ควบคุม ใช้เยื่อกระดาษจากต้นไม้ที่มีการปลูกป่าทดแทน หรือปล่อยให้สามารถเติบโตใหม่ได้ตามธรรมชาติ ไม่เป็นไม้ที่ปลูกในที่หวงห้าม หรือผิดหลักสิทธิมนุษยชน หรือเป็นป่าที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรม ป่าไม้จะต้องถูกจัดการโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สัตว์ป่าและชุมชนโดยรอบ

“ไลอ้อน มีแผนที่จะพัฒนาต่อยอดสู่บรรจุภัณฑ์สินค้าอื่นๆ รวมถึงกลุ่มของบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามแผนความยั่งยืน มีเป้าหมายภายในปี 2025 บรรจุภัณฑ์จะผลิตจากทรัพยากรทดแทนได้ที่มีการจัดการอย่างรับผิดชอบทั้งหมดและรีไซเคิลได้”

แผนการทำงานและการผลิตของไลอ้อน จะล้อไปกับเป้าหมายประเทศ ปี ค.ศ.2030 ซึ่งไลอ้อนจะลด CO2 ให้ได้ 55% และลดเป็นศูนย์ปี ค.ศ.2050 ต่อไป ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ด้านสิ่งแวดล้อม แต่รวมถึง ESG ทั้งด้านสังคมและธรรมาภิบาลในการทำธุรกิจด้วย

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

เปลี่ยนคาร์บอน เป็น 'หินแร่' ในปะการังเทียม สร้างสมดุลย์โลก

กรมประมงผนึกกำลัง ปตท.สผ. ร่วมศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหินแร่ในปะการังเทียม สร้างสมดุลทรัพยากรประมง และช่วยลดสภาวะโลกร้อน

You May Like