ดีแทค ผุด Kaset Go สร้างเครือข่ายดิจิทัลเชื่อมต่อความรู้เกษตรกร

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 14 Second

ดีแทคจับมือยารา เปิดตัว Kaset Go เครือข่ายดิจิทัลชุมชนเพื่อเกษตรกรแห่งแรกในประเทศไทย หวังกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลภาคการเกษตร ผ่านคอมมูนิตี้ความรู้ที่มีทั้งเกษตรกร และผู้เชี่ยวชาญเข้ากับชุมชนเกษตรกร

ดีแทคและยาราประเทศไทย เปิดตัว Kaset Go แอปพลิเคชันบนมือถือที่เชื่อมต่อเกษตรกรเข้ากับข้อมูลเชิงลึกที่เชื่อถือได้และเรียลไทม์ที่ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร แอปพลิเคชันได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้เกษตรกรไทยใช้ประโยชน์จากความรู้ด้านการเกษตรของ ยารา ประเทศไทยและเทคโนโลยีการสื่อสารจากดีแทค

ปัจจุบัน Kaset Go เปิดโอกาสให้เกษตรกรถามคำถามกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร และแบ่งปันความรู้กับเกษตรกรรายอื่นในชุมชนที่มีประสบการณ์คล้ายกัน นอกจากนี้ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญเช่น ราคาพืชผลประจำวัน ข่าวเกษตร เคล็ดลับเกี่ยวกับพืชหลัก 8 ชนิดในประเทศไทย ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดไร่ ผัก ทุเรียน มังคุด ลำไย ส้ม และมะม่วง รวมทั้งพืชอื่นๆ อีกกว่า 52 ชนิด เนื้อหามีความเหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของเกษตรกรในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย และจะมีเนื้อหาเฉพาะเพื่อสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจเฉพาะทาง เช่น การให้คำแนะนำเรื่องมาตรฐานและใบรับรองทางการเกษตร การขนส่ง และการตลาด เนื้อหาในแอปพลิเคชันนี้ได้รับการสนับสนุนโดยผู้เชี่ยวชาญจากกรมส่งเสริมการเกษตร ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด และ ยารา ประเทศไทย

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทคมีความมุ่งมั่นมาอย่างยาวนาน ในการเสริมสร้างศักยภาพให้กับเกษตรกรไทยด้วยการเชื่อมต่อการสื่อสารจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ว่าจะผ่านแพลตฟอร์มข้อมูลหรืออินเทอร์เน็ตออฟธิงส์โซลูชัน ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา เราได้ร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำในอุตสาหกรรมเช่น กรมส่งเสริมการเกษตร มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อสนับสนุนและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเกษตรกร Kaset Go เป็นตัวแทนของแพลตฟอร์มที่ทันสมัยที่สุดของเราซึ่งร่วมมือกับ ยารา เนื่องจากการทำการเกษตรเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานในประเทศไทย และยังมีการใช้งานของสมาร์ทโฟนอย่างแพร่หลายสูงที่สุดในภูมิภาค Kaset Go อาจเป็นตัวเปลี่ยนวิถีในการทำเกษตรแบบดิจิทัลของประเทศไทย”

นับตั้งแต่การเปิดตัวในเดือนสิงหาคม Kaset Go มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 150,000 ครั้งและดึงดูดผู้ใช้ที่ลงทะเบียนมากกว่า 100,000 คน เนื่องจากจำนวนการดาวน์โหลดและผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณดีแทค และ ยารา ประเทศไทย กำลังวางแผนการพัฒนาขั้นต่อไปของ Kaset Go ซึ่งจะรวมข้อมูลเกี่ยวกับพืชผลอีก 44 รายการ และฟีเจอร์หลักที่สำคัญในการเพาะปลูก เช่น คำเตือนสภาพอากาศ การแจ้งเตือนโรค การเปรียบเทียบราคาตลาด นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะขยายไปสู่บริการเสริมอื่น ๆ เช่นอุปกรณ์ฟาร์มประกันภัยและการเงิน

นายเมดิ เซนท์-อังเดร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด และรองประธานกลุ่มธุรกิจประเทศไทย และประเทศเมียร์มา ผู้นำผลิตภัณฑ์ธาตุอาหารพืชของโลก กล่าวว่า ตั้งแต่ยาราเริ่มก่อตั้งในปี 2448 เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าความรู้เป็นกุญแจสำคัญในการสนับสนุนผลผลิตของเกษตรกร และด้วยเครือข่ายนักปฐพีวิทยาในพื้นที่ทั่วประเทศของยารา เราได้ให้บริการโซลูชั่นที่ยั่งยืนแก่เกษตรกรไทยมาตลอดเวลา 47 ปี

ตั้งแต่ปี 2560 ยารา ได้เร่งดำเนินกลยุทธ์ดิจิทัลฟาร์มมิ่ง (Digital Farming) เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำการเกษตรที่แม่นยำแก่เกษตรกรทั่วโลก และการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม Kaset Go ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทย เนื่องจากแพลตฟอร์มนี้ เชื่อมโยงเกษตรกรกับข้อมูลที่เชื่อถือได้ซึ่งตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญและชุมชนการเกษตร คาดว่า Kaset Go จะกลายเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยสำหรับเกษตรกรและเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทย

4 ฟีเจอร์เด่นแอป Kaset Go ที่สนับสนุนเกษตรกรไทยให้ก้าวไกล

  1. คำถามและคำตอบที่ได้รับการรับรอง : ให้คำตอบที่เป็นประโยชน์ และให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรในแพลตฟอร์ม ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ของเกษตรกรในชุมชน โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้รับรองความถูกต้อง
  2. เชื่อมต่อและแบ่งปันความรู้: ชุมชนที่เกษตรกรสามารถเชื่อมต่อกับผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่และเพื่อน

เกษตรกรได้อย่างเปิดเผย เพื่อแบ่งปันความรู้เชิงปฏิบัติจากประสบการณ์จริงของตนเอง ส่งเสริมการสร้างชุมชนตามพืชผล หัวข้อ และพื้นที่ของเกษตรกร เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้นในชุมชนจะได้รับการรวบรวม และแบ่งปันกลับไปยังเกษตรกรในแพลตฟอร์ม รวมถึงประสบการณ์จริงจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้อมูลราคา

  1. ข้อมูลเชิงลึกที่ตรงความต้องการ และสามารถนำไปใช้ได้ทันที: เนื่องจากข้อมูลการเกษตรมีความหลากหลาย Kaset Go จึงช่วยให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการ จัดลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดแบบเรียลไทม์ และสามารถให้ข้อมูลสำคัญกลับไปยังเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที ช่วยให้เกษตรกรติดตามแนวโน้มการเพาะปลูกและเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้ในท้องถิ่นเพียงปลายนิ้วสัมผัส เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่ดีขึ้นสำหรับการเกษตรของตน
  2. บริการด้านการเกษตรแบบดิจิทัล: ฟีเจอร์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มการทำงานของแพลตฟอร์ม Kaset Go ได้แก่ เทคโนโลยีล้ำสมัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรได้ดีขึ้นตามสถานที่ เช่น ราคาพืชผล การพยากรณ์อากาศ คำเตือนสภาพอากาศ และ การแจ้งเตือนศัตรูพืช

ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมมีเกษตรกรประมาณหนึ่งในสามของแรงงานในประเทศไทย แต่ส่วนแบ่งของผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 8% ในปี 2562 เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านผลผลิตที่ต่ำ เนื่องจากการขาดเทคโนโลยีและความรู้ ยิ่งไปกว่านั้นเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงเกิดบ่อยขึ้น โดยคาดว่าภัยแล้งในปีนี้จะทำให้การผลิตลดลง 2% ตามผลการวิจัยของกสิกร

การพัฒนาแอป Kaset Go เริ่มต้นขึ้นหลังจากการศึกษาร่วมกับเกษตรกรรายย่อยทั่วประเทศไทย ซึ่งชี้ให้เห็นปัญหาหลัก 3 ประการในภาคเกษตรกรรม ได้แก่ 1) ผลผลิตต่ำจากการขาดความรู้และเทคนิคการทำการเกษตรที่ทันสมัย 2) การขาดประสิทธิภาพในการทำการเกษตรเนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีของเกษตรกร และ 3) ความสามารถในการทำกำไรต่ำ อันเป็นผลมาจากศักยภาพในการเข้าถึงตลาด และความสามารถที่จำกัดของเกษตรกรรายย่อยในห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรการ และขาดความโปร่งใสในการตลาด

Kaset Go มุ่งหวังที่จะเป็นโซลูชันที่เคียงข้างเกษตรกร (Go-to solution) ที่ช่วยยกระดับความรู้ของเกษตรกรแก้ปัญหาความท้าทายและสร้างชุมชนเกษตรกรรมที่เข้มแข็งด้วยระบบดิจิทัล

Kaset Go มีให้บริการบน iOS และ Android จาก App store และ Google Play ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://kasetgo.com/

ชมภาพยนตร์โฆษณา Kaset Go ได้ที่ https://youtu.be/E-xM58O5zls

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2563

กรอ.มอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2563 เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่ 4.0  ตามนโยบายเศรษฐกิจใหม่ “BCG Model”

You May Like