‘กองทุน ThaiCI’ ติดปีกการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 36 Second

กองทุนสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ GIZ จัดงานสัมมนาวิชาการกองทุนสิ่งแวดล้อม ประจำปี พ.ศ. 2566 : เปิดตัวกองทุน ThaiCI ภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใหม่ ที่สนับสนุนการดำเนินการกิจกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในไทย

เถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวในพิธีเปิดตัว “กองทุน ThaiCI ภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อม” ว่า กองทุน ThaiCI (Thai Climate Initiative fund) เป็นกลไกการเงินที่สนับสนุนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ที่ดำเนินการภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเงินสนับสนุนสูงสุดถึง 6.5 ล้านยูโร จากแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ (BMWK)

ประกอบด้วย การสนับสนุนด้านวิชาการ เพื่อการยกระดับขีดความสามารถด้านการดำเนินงานของกองทุนสิ่งแวดล้อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ดำเนินโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเงินทุน (Seed funding) เพื่อสนับสนุนโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ทั้งโครงการด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความมุ่งมั่นของไทยในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกลไกทางการเงิน (Finance Mechanism) ของรัฐและการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากต่างประเทศ จะเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้ ความร่วมมือกับรัฐบาลเยอรมันในการจัดตั้งกองทุนภูมิอากาศของไทย หรือที่เรียกชื่อย่อว่า กองทุน ThaiCI (ไทย-กี้) ภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นหมุดหมายที่สำคัญอันจะนำไปสู่ผลสำเร็จในการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับสากล

ฮานส์ อูลริช ซูดเบค อุปทูต สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจําประเทศไทย เน้นย้ำถึงการขยายความร่วมมือระหว่างไทยและเยอรมนีจากระดับการเมือง เศรษฐกิจ และประชาสังคม สู่การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนพร้อมรับมือกับความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม “การเปิดตัว ThaiCI ซึ่งเป็นการริเริ่มการให้เงินทุนในการดำเนินโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขนาดเล็ก-กลางในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ในปาฐกถาหัวข้อ กลไกทางการเงินในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่ระดับพื้นที่ พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)กล่าวว่า กองทุน ThaiCI จะสนับสนุนเงินให้กับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม (NGOs) และภาคเอกชน ในรูปแบบการเปิดรับข้อเสนอ (Call for Proposals) สำหรับโครงการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคาดว่าจะเปิดรับข้อเสนอโครงการ ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2566 และกองทุน ThaiCI จะเปิดโอกาสให้ประเทศไทยสามารถเป็นพันธมิตรกับแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มเติม

ฟิลิปป์ เบห์เรนส์ หัวหน้าแผนงาน IKI กระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ กล่าวถึงการฉลองครบรอบ 15 ปี ของแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) และเน้นย้ำว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่กองทุน IKI ให้ความสำคัญ ทั้งนี้ ThaiCI เป็นโครงการนำร่องใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนแบบทวิภาคี (IKI Country Call) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับประเทศไทย ซึ่ง ThaiCI มีความคล้ายคลึงกับ IKI Small Grants ที่สนับสนุนผู้ดำเนินการโครงการขนาดกลาง และขนาดเล็ก

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการอภิปรายในหัวข้อ “การต่อยอดขยายผลการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปสู่การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ซึ่งมีผู้ดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมอภิปรายความสำคัญของการบูรณาการการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศเข้ากับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับกองทุน ThaiCI กองทุนสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของหน่วยงานภาคีเครือข่าย

ไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า กองทุน ThaiCI จะเป็นรากฐานที่เข้มแข็งสำหรับประเทศไทยในการขับเคลื่อนการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกของทุกภาคส่วนในเศรษฐกิจและสังคม ในนามของรัฐบาลกลางเยอรมัน GIZ จะยังคงทำงานร่วมกับประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อเปลี่ยนความมุ่งมั่นไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

ThaiCI เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือ Thai-German Cooperation on Energy, Mobility and Climate Programme (TGC EMC) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 ของประเทศไทย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน 26 ล้านยูโรจากกองทุน IKI ของ BMWK และดำเนินการผ่าน GIZ ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

SSAB Zero เหล็กกล้ารีไซเคิล ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

SSAB ผนึก Peab ขยายความร่วมมือ การใช้เหล็กกล้า SSAB Zero™ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สั่งล็อตใหญ่ 300 ตัน ผลิตเสาเข็มไมโครไพล์สำหรับงานฐานราก และใช้ในงานก่อสร้างปี 2566 ผลักดันอุตสาหกรรมก่อสร้างสีเขียว

You May Like