“นายแพทย์พรหมินทร์” เลขาธิการนายกฯ ฉายภาพการขับเคลื่อนไทยสู่โลกสีเขียว

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 37 Second

เลขาธิการนายกฯ กางแผน แปลงประเทศไทยสู่สังคมเศรษฐกิจสีเขียว ด้วยการสร้างโอกาสและความเสมอภาค ย้ำส่งเสริมการผลิตรถยนต์อีวีจาก 15% เป็น 30% พร้อมเปลี่ยนที่ดิน ส.ป.ก. สู่โฉนดเพื่อการเกษตร อ้าแขนรับการลงทุน Data Center

นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในการสัมมนาของธนาคารโลก เรื่อง “การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สีเขียว การเติบโตที่ยั่งยืน และคาร์บอนต่ำ” ในหัวข้อ “เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย” ยืนยันเป้าหมายรัฐบาล เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของไทยไปสู่เศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เป็นสังคมแห่งโอกาสและเสมอภาค สร้างงานและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน นำประเทศไทยบรรลุผลตามข้อตกลงสภาพภูมิอากาศ ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกเหลือ 40% ภายในปี 2583 การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2608 พร้อมมีการพัฒนาเศรษฐกิจพร้อมความยั่งยืนในมิติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ด้านการขนส่งและรถยนต์ไฟฟ้า รัฐบาลจะรักษาแนวโน้มของการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าให้ถึง 15% ของยอดจำหน่ายรถยนต์ทั้งหมดภายใน 10 ปี และส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เพิ่มเป็น 30% ของกำลังการผลิตรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2573

2. ด้านอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีขั้นสูง หนึ่งในเป้าหมายหลักทางเศรษฐกิจของรัฐบาล คือการดึงดูดการก่อตั้งและขยายธุรกิจเทคโนโลยีขั้นสูงในไทย ซึ่งปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำของโลก ได้แสดงเจตจำนงที่จะผลิตในไทยแล้ว อีกทั้ง เรายินดีต้อนรับการลงทุนจากผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูล (Data Center) ระดับโลกที่มีเงื่อนไขการลงทุนว่าจะต้องมีความสามารถในการจัดหาพลังงานที่สามารถหมุนเวียนได้ 100% ซึ่งรัฐบาลทำได้และจะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นสำหรับกลุ่มบริษัทระดับโลกทั้งหมดที่มีข้อกำหนดในการลงทุนดังกล่าว

3. ด้านเกษตรกรรม การใช้ประโยชน์ที่ดิน และยางพารา รัฐบาลกำลังค้นหาเทคโนโลยีและแนวทางใหม่เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนทางสภาพภูมิอากาศ เราจะลดการใช้ปุ๋ยที่ไม่ต้องกับความต้องการของพืช หันมาใช้ปุ๋ยสูตรที่เหมาะกับชนิดและปริมาณพืชที่ปลูก รวมถึงเราจะใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า ลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากการเพาะปลูกข้าว

รัฐบาลยืนยันการดำเนินนโยบายเปลี่ยนที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ซึ่งชาวนาถือครองกว่า 1.6 ล้านราย จำนวนกว่า 22 ล้านไร่ ให้เป็นโฉนดเพื่อการเกษตรภายในปี 2567 ซึ่งจะสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มศักยภาพการผลิตบนที่ดิน รัฐบาลยังจะขอความร่วมมือเจ้าของที่ดินนั้นให้ปลูกต้นไม้บนที่ดิน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

รัฐบาลจะคุ้มครองป่าไม้และแหล่งดูดซับคาร์บอน โดยจะเพิ่มพื้นที่สีเขียว 55% ของที่ดินทั้งหมดภายในปี 2580 ซึ่งจะช่วยกำจัดก๊าซเรือนกระจก จำนวน 120 ตันต่อปี

4. ด้านการกำหนดราคาคาร์บอน ไทยจะกำหนดราคาคาร์บอนให้สอดคล้องกับราคาคาร์บอนของประเทศพัฒนาแล้ว ก่อให้เกิดกระบวนการผลิต การซื้อ และการขายคาร์บอนเครดิต

5. ด้านการตัดไม้ทำลายป่าเป็นศูนย์และยางพารา ไทยเป็นประเทศที่ผลิตยางพาราสูงสุดในโลก การปลูกยางพาราสร้างมลภาวะที่น้อยกว่าและสุขภาพดินที่ดี เพราะไม่ต้องไถพรวนบ่อย อีกทั้งยังสามารถปลูกพืชอื่นที่มีมูลค่าไปพร้อมกันได้ รัฐบาลจะทำงานอย่างจริงจังเพื่อให้เกษตรปฏิบัติตามแนวทางการปลูกอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของผู้ซื้อทั่วโลกในการลดการตัดไม้ทำลายป่าเป็นศูนย์

6. ด้านกฎระเบียบและข้อกฎหมาย ไทยได้เตรียมความพร้อมในด้านการผลิตสินค้าภายในประเทศและการค้าระหว่างประเทศอย่างเต็มที่เพื่อรับมือกับการบังคับใช้มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism) ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2569 และยังจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อยืนยันการสนับสนุนด้านกฎหมายและกฎระเบียบที่เหมาะสม นอกจากนี้ รัฐบาลอยู่ระหว่างการจัดทำ (ร่าง) พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับเป็นพื้นฐานรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

7. ด้านแผนการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน ไทยจำเป็นต้องลงทุนในภาคส่วนการผลิตไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการที่เกิดจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเป้าหมายของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน โดยเฉพาะการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจำนวน 56,431 เมกะวัตต์เพื่อทดแทนโรงงานเก่าที่จะหมดอายุ และเป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตไฟฟ้าเพื่อตอบสนองอุปสงค์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ

รัฐบาลจะพยายามพัฒนาพลังงานหมุนเวียนตามเป้าหมายในด้านต่างๆ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล และโรงไฟฟ้าชุมชนจากก๊าซชีวภาพ เป้าหมายสูงสุดที่จะผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 50% แทนที่พลังงานจากแหล่งก๊าซธรรมชาติ ที่ปัจจุบันยังคงเป็นหลักในการผลิตพลังงาน

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

'GULF-AIS' ลดเหลื่อมล้ำ ยกระดับชุมชนห่างไกลเข้าถึงพลังงาน-เทคโนโลยี

GULF จับมือ AIS ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ พร้อมเชื่อมต่อเสาสัญญาณให้ชุมชนห่างไกล ยกระดับคุณภาพชีวิต ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ผ่านโครงการ Gulf x AIS Solar Synergy: A Spark of Green Energy Network

You May Like