Green2Get เข้ารอบชิงชนะเลิศ Greenhouse Accelerator Program

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 28 Second

สตาร์ทอัพ Green2Get ประเทศไทย ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ โครงการ Greenhouse Accelerator Program ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นำเสนอเสนอแนวทางสำหรับบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน และการช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอากาศ

สุดิปโต โมซุมดา กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจอาหาร อินโดจีน บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด (เป๊ปซี่โค ประเทศไทย) กล่าวว่า การแข่งขันโครงการ Greenhouse Accelerator Program ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งนี้ มีบริษัทสตาร์ทอัพจากประเทศต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคเข้าร่วมแข่งขัน ได้แก่ จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไทย เวียดนาม และสิงคโปร์ ซึ่ง Green2Get จากประเทศไทย ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการของเป๊ปซี่โค ให้เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายของการแข่งขันครั้งนี้

Green2Get ได้เสนอแนวทางสำหรับบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน และการช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอากาศ นอกจากนี้ ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันอื่น ๆ อาทิ ทีม REMAKEHUB และ Muuse ยังได้มีการเสนอการคิดค้นแผ่นฉนวนที่ผลิตจากฝาขวดรีไซเคิล รวมถึงการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

โครงการ Greenhouse Accelerator Program ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีจุดประสงค์เพื่อร่วมมือและสนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ซึ่งส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับบรรจุภัณฑ์และการลดผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศ ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่งบริษัทสตาร์ทอัพทั้ง 10 ทีมที่เข้ารอบสุดท้าย จะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ และได้เข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาศักยภาพธุรกิจเป็นเวลา 4 เดือน

ทุกบริษัทที่เข้าร่วมยังจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การตลาด การขาย และการสนับสนุนเงินทุน โดยบริษัทสตาร์ทอัพที่ชนะเลิศ จำนวน 1 บริษัท จะได้รับเงินทุนเพิ่มเติมเป็นจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อขยายธุรกิจต่อไป รวมไปถึงโอกาสในการเป็นพันธมิตรกับเป๊ปซี่โคต่อไปสำหรับโครงการในอนาคต

Green2Get เป็นสตาร์ทอัพไทยที่เป็นผู้บุกเบิกและมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์สู่ความยั่งยืนของเป๊ปซี่โคภายใต้กลยุทธ์ PepsiCo Positive (pep+) ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2564 นับเป็นการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจในทุกขั้นตอน โดยสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับโลก ด้วยการนำเรื่องความยั่งยืนและการพัฒนาประชากรโลกเข้ามาเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจและคุณค่าให้กับสังคม

นอกจากนี้ ทางเป๊ปซี่โค ประเทศไทย ยังมีความมุ่งมั่นในการจัดการปัญหาขยะพลาสติกอ่อนหลายชั้น (MLP) ผ่านโครงการ Journey to Zero Waste ซึ่งสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และเราตั้งตารอที่จะร่วมทำงานกับทีม Green2Get เพื่อสร้างอนาคตที่ดีขึ้นกับโลกใบนี้ต่อไป

เปรม พฤกษ์ทยานนท์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท Geen2Get กล่าวว่า การที่ทีม Green2Get ได้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศของโครงการ Greenhouse Accelerator Program ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จ และทีมยังมีแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ส่งเสริมหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงผลักดันผู้ที่เกี่ยวข้องให้หันมาสนใจการรีไซเคิลให้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน การได้รับคัดเลือกในครั้งนี้ ไม่ใช่แค่การยืนยันถึงความพยายามของเราเท่านั้น แต่ยังช่วยผลักดันให้เราสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมให้มากขึ้นอีกด้วย

ภายใต้วิสัยทัศน์ของ เปรม พฤกษ์ทยานนท์ ทีม Green2Get ถือเป็นทีมที่เป็นกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายหลักคือ การส่งเสริมการรีไซเคิล ลดปริมาณขยะ และสร้างเมืองสีเขียวที่น่าอยู่มากขึ้นให้กับประเทศไทยและประเทศอื่นๆ การได้รับเลือกให้เป็นผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความมุ่งมั่นของ Green2Get ในการที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม

โครงการ Greenhouse Accelerator Program ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ตอกย้ำถึงภารกิจของเป๊ปซี่โคที่มุ่งสู่ความยั่งยืนและนวัตกรรมที่ทันสมัย รวมทั้งการร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกสู่อนาคตอันยั่งยืน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โครงการ Greenhouse Accelerator Program ในเอเชียแปซิฟิก สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ นี่

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

'ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์'กางแผน AOT พัฒนาธุรกิจยั่งยืน สร้าง Green Airport...Ep.1

ธุรกิจการบิน ถือเป็นธุรกิจแรกๆ ที่ให้ความใส่ใจกับการปรับตัว เพื่อลดภาวะโลกร้อน เพราะพลังงานที่ใช้จำนวนมหาศาล ทั้งที่ก่อนหน้านี้ สนธิสัญญาแก้ปัญหาโลกร้อน “ปารีส ปี 2015” ไม่ได้นับรวมอุตสาหกรรมการบินหรือการท่องเที่ยว ว่าเป็นปัจจัยก่อภาวะโลกร้อน

You May Like