KTO ผนึกไทย ขับเคลื่อน Smart Tourism บุกตลาดเซาท์อีสต์เอเชีย

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 39 Second

KTO จับมือ ไทย ผลักดันการท่องเที่ยวเกาหลีใต้ – ไทยขยายตัว ส่งเสริมยอดนักท่องเที่ยว 2 ประเทศโต พร้อมลุยสู่เซาท์อีสเอเชีย เพิ่มฐานนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ หวังทำสถิติฟื้นตัวเลขเท่าก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ระบาด

เจมส์ ลี รองประธาน องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี (KTO) กล่าวว่า ประเทศไทยถือเ็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของคนเกาหลีใต้ โดยที่ผ่านมา มีปริมาณนักท่่องเที่ยวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวประมาณ 5-7 แสนคนในปี พ.ศ.2562 และตัวเลขล่าสุดของนักท่องเที่ยวไทยปีนี้ (ม.ค.- ก.ย.2566) อยู่ที่ราว 2 แสนคน ถือว่าฟท้นขึ้นมา 69% จากปี 2562

ในโอกาสครบรอบ 65 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเกาหลีใต้ -ไทย KTO จึงร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และอินโนสเปซ ไทยแลนด์ จัดงาน Korea-Thailand Tourism Startup Cooperation Forum เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และสร้างฐานนวัตกรรมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผ่านความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยว และสตาร์ทอัพ สู่ Smart Tourism

ในงาน Korea-Thailand Tourism Startup Cooperation Forum ได้มีการลงนามข้อตกลงทางธุรกิจระหว่างเกาหลีใต้และไทย ได้แก่ ข้อตกลงทางธุรกิจสำหรับนวัตกรรมดิจิทัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเกาหลีใต้ – ไทย ระหว่าง Yanolja ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวของเกาหลีใต้ และสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว และข้อตกลงทางธุรกิจเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในเกาหลีใต้ผ่านช่องทรู และไลฟ์คอมเมิร์ส ระหว่าง LaLa Station และทรู คอร์ปอเรชั่น

“เนื่องจากปัจจุบัน นักท่องเที่ยวได้เลือกใช่ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น KTO จึงพยายามร่วมมือกับภาคธุรกิจท่องเที่ยวของไทย เพื่อเปลี่ยนผ่านการท่องเที่ยวไปสู่ดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ และขยายตลาดให้ใหญ่ขึ้น โดยการร่วมมือกับกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลีใต้และ KTO รวมทั้งสตาร์ทอัพระดับโกลบอลอย่าง Yanolja แพลทฟอร์มด้านการท่องเที่ยวของเกาหลี และ LaLa Station” เจมส์กล่าว พร้อมเสริมว่า การท่องเที่ยวแบบ Smart Tourism เป็นเทรนด์การท่องเที่ยวมิติใหม่ที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้บริการด้านการท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกสบายผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี

ขณะนี้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลกได้รับอิทธิพลและเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็ว KTO มองเห็นโอกาสการระดมทุน และหาพันธมิตร เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเกาหลีใต้ให้เติบโตมากยิ่งขึ้น จึงไดัจัดทำข้อตกลงทางธุรกิจครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะผลักดันการท่องเที่ยวแบบ Smart Tourism ของเกาหลีใต้ให้เติบโต และ KTO ยังวางแผนที่จะร่วมมือกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีกด้วย

KTO มีแผนที่จะดึงนักท่องเที่ยวเข้าเกาหลีใต้เพิ่มให้มากที่สุด พร้อมตั้งเป้าที่จะขยายฐานการท่องเที่ยวสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกำหนดให้ปีนี้และปีหน้า (พ.ศ.2566-2567) เป็น “ปีแห่งการมาเยือนเกาหลีใต้” และยังจัดแคมเปญ “100 กิจกรรมการท่องเที่ยวเกาหลีใต้” เชื่อมโยงสู่วัฒนธรรมเกาหลี โดยตั้งเป้าว่าปี 2566 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวเกาหลีใต้ราว 10 ล้านคน จากปัจจุบันมีอยู่ราว 7.49 ล้านคน เพิ่มขึ้น 60% จากปี 2562

ส่วนในปี 2567 คาดว่าสถานการณ์จะฟื้นตัวเต็มที่ กลับไปสู่สภาวะก่อนเกิดโควิด ซึ่งมีนักเที่ยวอยู่ที่ 17.5 ล้านคนต่อปี โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติของเกาหลีใต้ อันดับหนึ่งได้แก่ จีน รองลงมาคือ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ส่วนไทยเป็นอันดับ 5 ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเยือนเกาหลีใต้ โดยสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ได้แก่ หอคอยนัมซานในกรุงโซล ป้อมปราการฮวาซองในเมือง ซู วอน จังหวัดคยองกี เกาะนามิในจังหวัดคังวอน หมู่บ้านฮันอกในจอนจู และสวนสนุกแทจงแดในพูซาน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถอัพเดทสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่น่าสนใจของเกาหลีไต้ได้ผ่านโลก Metaverse ในแอปพลิเคชัน Zepeto

นอกจากนี้ ในงานฟอรั่มยังได้จัดกิจกรรม K-Tourism Startup IR เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพเกาหลีใต้เจรจาหาผู้ร่วมทุน สร้างเครือข่ายธุรกิจ ขยายฐานลูกค้าด้าน Smart Tourism โดยมีสตาร์ทอัพจากเกาหลีใต้ และนักลงทุนจากไทย เช่น CP Group และ K-Bank รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาร่วมงาน เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

โรงงานไทยวาโก้ ผ่านมาตรฐาน Eco Factory

ไทยวาโก้ ผ่านมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สภาอุตสาหกรรมฯ ต่อเนื่อง เป็นปีที่ 7 ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

You May Like