‘People First’ หลักสำคัญเพิ่มผลิตผลองค์กร

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:4 Minute, 21 Second

นายกฯ PMAT ย้ำ การสร้างความมั่นใจและรับฟังพนักงาน เป็นหัวใจในการสร้างเสริมผลิตภาพและความผูกพันองค์กรที่ดี ด้าน Qualtrics ระบุความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในไทย สูงเกินค่าเฉลี่ยทั่วโลก

ดร. บวรนันท์ ทองกัลยา นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) กล่าวว่า การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานกลายเป็นเป้าหมายของเจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคลที่ได้รับความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่อาจมองข้ามได้ การนำหลัก ‘People First’ มาใช้ องค์กรจะได้ส่งเสริมให้พนักงานแสดงความคิดเห็น และเตรียมพนักงานให้พร้อมที่จะกล่าวถึงความต้องการของพวกเขาที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดมากขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนเช่นนี้ การทำให้พนักงานมั่นใจว่า มีคนรับฟังพวกเขา และจะมีการดำเนินการอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีในสถานที่ทำงาน ยกระดับสวัสดิการ พร้อมทั้งเพิ่มขวัญกำลังใจและผลิตภาพขององค์กร

Qualtrics ผู้นำด้านการสร้างประสบการณ์พนักงานและผู้สร้างสรรค์เครื่องมือการบริหารประสบการณ์ หรือ Experience Management (XM) ได้เผยแพร่งานวิจัยชิ้นใหม่ซึ่งพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงานในประเทศไทยในปี 2564 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

จากรายงานแนวโน้มประสบการณ์ของพนักงานในปี 2564 พบว่าปัจจัย 5 อันดับแรก ที่่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานนั้น มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงปีที่ผ่านมา โดยความภาคภูมิใจต่อผลงานของทีม การมีกระบวนการทำงานที่ช่วยให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมในการตัดสินใจ เป็นปัจจัย 3 อันดับแรก

ขณะที่การทำงานร่วมกันระหว่างทีมอย่างมีประสิทธิภาพ และความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นต่อทีมผู้บริหาร เป็นอีก 2 ปัจจัย ที่ส่งผลด้านความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความผูกพันที่ไม่รวมอยู่ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ ความมั่นใจต่อหัวหน้างานระดับสูง โอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา การได้รับการยอมรับในผลงาน ความช่วยเหลือจากผู้จัดการเพื่อการพัฒนาทางอาชีพ และการเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างงานและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์

ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในไทยสูงขึ้นต่อเนื่อง

ในปี 2563 แม้บริษัทต่าง ๆ จะเผชิญกับความท้าทาย แต่ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโดยรวมของไทยในปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็น 76% จาก 72% ในปี 2562 และสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 66% อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจาก 13% ในปีที่ผ่านมา (66% เทียบกับ 53%) ขณะที่ความตั้งใจที่จะอยู่กับองค์กรเป็นเวลา 3 ปีขึ้นไปก็เพิ่มขึ้นเป็น 56% จาก 43% ในปี 2562

“สวัสดิการที่ดี” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสบการณ์โดยรวม ยังคงเป็นสิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ และคาดว่าจะเป็นแนวโน้มสำคัญสำหรับองค์กรในปี 2564 ต่อไป ในประเทศไทย พนักงานมากกว่า 7 ใน 10 คน (73%) ให้คะแนนว่าพึงพอใจกับสวัสดิการที่ได้รับอยู่ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 67% ที่น่าสังเกต คือ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ส่งผลต่อเรื่องสวัสดิการโดยรวมมากที่สุด และทำให้ค่าเฉลี่ยสูงขึ้นถึง 80% เมื่อมีการนำปัจจัยนี้มารวมด้วย

Lauren Huntington จากฝ่าย Employee Experience(EX) Solutions Strategy ของ Qualtrics ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ปี 2563 ทำให้โลกการทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ได้เห็นปัจจัยต่อความผูกพันในปีนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ในขณะที่ธุรกิจและรัฐบาลเดินหน้าสู่ปี 2564 คาดว่าจะได้เห็นปัจจัยต่อความผูกพันเหล่านี้เปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เนื่องจากข้อบังคับต่าง ๆ ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้พนักงานได้รับการสนับสนุนและบริการ ที่พวกเขาต้องการในสถานการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ จึงสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้นำขององค์กรจะต้องเข้าใจว่าแนวโน้มต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่เข้ามาเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานอย่างไร และพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อออกแบบและปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงาน

รับฟังแล้วลงมือทำ

จากการศึกษาของ Qualtrics พบว่า พนักงานมากกว่า 9 ใน 10 คนในประเทศไทย (93%) เชื่อว่าการที่บริษัทรับฟังเสียงของพนักงานนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา 12 เดือนก่อนหน้านี้ พบว่ามีการรับฟังความคิดเห็นจากพนักงานมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนหนึ่งระบุว่า พวกเขามีโอกาสแสดงความคิดเห็นเพิ่มขึ้นเป็น 84% (เพิ่มขึ้นจาก 77%) ในปี 2563 อย่างไรก็ตาม มีเพียง 42% ที่กล่าวว่า บริษัทของพวกเขาลงมือดำเนินการตามความเห็นเป็นอย่างดี ซึ่งลดลง 21% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน

การได้เห็นนายจ้างจำนวนมาก ขึ้นรับฟังทีมของพวกเขาเป็นเรื่องที่น่ายินดี ขณะที่การศึกษานี้ก็ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญอย่างยิ่งยวดของการทำตามความคิดเห็นของพนักงาน การปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงานนั้น ไม่มีวิธีสำเร็จรูปที่ใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ธุรกิจสามารถออกแบบประสบการณ์ที่ดีขึ้นได้จากการรับฟังทีมของพวกเขา ในทุกช่วงของวงจรการทำงานและในช่วงเวลาสำคัญๆ

ผลทางธรุกิจจากการรับฟังความคิดเห็นและนำมาปฏิบัตินั้นมีมหาศาล เมื่อใดที่องค์กรลงมืออย่างจริงจัง คะแนนจะเพิ่มขึ้นทั้งในด้านความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร 90% สวัสดิการ 88% และความตั้งใจที่จะอยู่กับบริษัท 91%

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

"ทริปฟิวชั่น" เทรนด์ท่องเที่ยวมาแรง

“ทริปฟิวชั่น” เทรนด์ท่องเที่ยวผสมผสาน เมืองและธรรมชาติ มาแรง หลังโควิด -19 สงบ นักท่องเที่ยวเตรียมวางแผนแล้ว

You May Like