SCG พา “ฟื้นน้ำ สร้างป่า ตามล่าความยั่งยืน” Ep.2

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 58 Second

SCG ต่อยอด “พลังชุมชน” นำความรู้ และทักษะการสร้างอาชีพ ส่งต่อชุมชน ควบคู่การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม จังหวัดลำปาง – แพร่ และพร้อมต่อยอดความรู้สู่ชุมชนอื่นๆ ที่มีความพร้อม เพื่อสร้างความยั่งยืนและความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำสังคมไทย

  • “ฟื้นน้ำ สร้างป่า ตามล่าความยั่งยืน” Ep.2

จาก Ep.1 SCG พาเปิดโรงปูนสีเขียว ควบพลังชุมชน สร้างสังคมยั่งยืน ที่ SCG ได้พาสื่อมวลชนลงไปรู้จักกับโรงปูนลำปาง โรงปูนสีเขียว แหล่งกำเนิด “โครงการรักษ์ภูผามหานที” ที่ต่อยอดความช่วยเหลือชุมชนและสิ่งแวดล้อม มาสู่การสร้าง “พลังชุมชน” หลักสูตร Mini MBA สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้ชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง ESG 4 Plus

การรวมตัวกันของชุมชนที่เข้มแข็ง มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน เกื้อกูลกัน ช่วยเหลือกัน ส่งผลให้ชุมชนนั้นสามารถปรับตัว แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และกลับคืนสู่การดําเนินชีวิตตามปกติของชุมชนได้ โดยมีหลักสูตรอบรมวิสาหกิจชุมชน เข้าไปเสริมความแข็งแกร่ง สร้างแรงบันดาลใจ และให้ความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ชุมชน ควบคู่กับส่งเสริมความรู้ คู่คุณธรรม ซึ่งขณะนี้มีชุมชนเข้าร่วมโครงการกว่า 450 คน ใน 14 จังหวัดทั่วประเทศ และตั้งเป้าขยายเครือข่ายพลังชุมชนเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง

สงกรานต์ เป็นพวก ผู้ใหญ่บ้านสาแพะเหนือ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง

สำหรับที่ลำปาง สงกรานต์ เป็นพวก ผู้ใหญ่บ้านสาแพะเหนือ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง กล่าวว่า ช่วงปี 2558-2559 เกิดภัยแล้งรุนแรง ต้นข้าวยืนต้นแห้งตายเกือบทั้งหมู่บ้าน ชุมชนจึงเข้าร่วมโครงการรักษ์ภูผามหานที กับเอสซีจี ลำปาง เรียนรู้การบริหารจัดการน้ำควบคู่กับการดูแลป่าต้นน้ำ เช่น สร้างฝายชะลอน้ำ ฝายใต้ทราย วังเก็บน้ำ ประตูเปิด-ปิดน้ำ ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้อ่างเก็บน้ำชุมชน “อ่างห้วยแก้ว” ได้ถึง 80,000 ลูกบาศก์เมตร ทั้งยังลดการสูญเสียการจ่ายน้ำด้วยการทำบ่อพวงคอนกรีตตามสันเขา ชุมชนจึงสามารถกักเก็บน้ำเพื่อเพาะปลูกได้ตลอดปี เน้นพืชมูลค่าสูง ขายได้ราคาดี เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วแระญี่ปุ่น ข้าวโพดหวาน และผลไม้ยืนต้น เช่น เงาะ ทุเรียน สร้างรายได้ให้ชุมชนเฉลี่ยปีละ 20 ล้านบาท

สุมัย หมายหมั้น นายกสมาคมเพื่อการเรียนรู้ป่าชุมชน จ.ลำปาง กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนชุมชนใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน ภาครัฐ เอกชน ประชาชนจึงร่วมกันก่อตั้งเครือข่ายป่าชุมชนเมื่อปี 2552 และขยายผลสู่การก่อตั้งสมาคมเพื่อการเรียนรู้ป่าชุมชน จ.ลำปาง ในปี 2564 โดยสมาคมฯ และเอสซีจี ลำปางได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้ง “กองทุนคาร์บอนเครดิตชุมชน” ปัจจุบันมีชุมชนเข้าร่วมกว่า 250 หมู่บ้าน ครอบคลุมพื้นที่ 500,000 ไร่ สามารถดูดซับคาร์บอนได้ 250,000 ตัน CO2 ต่อปี ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยแล้ง น้ำท่วม หมอกควัน ไฟป่า ฝุ่น PM 2.5

สุมัย หมายหมั้น นายกสมาคมเพื่อการเรียนรู้ป่าชุมชน จ.ลำปาง

นอกจากการดูแลสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการรักษ์ภูผามหานที เอสซีจียังมุ่งลดเหลื่อมล้ำสังคม 3 ด้านสำคัญ ได้แก่ การศึกษา อาชีพ และสุขภาวะ โดยในด้านอาชีพ เอสซีจีริเริ่มโครงการพลังชุมชน ซึ่งเป็นหลักสูตรอบรมวิสาหกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างโอกาสให้ชุมชนพึ่งพาตนเอง ช่วยสร้างเศรษฐกิจฐานรากของไทยให้เข้มแข็ง เติบโตอย่างยั่งยืน

หลังจากศึกษาการทำงานของพลังชุมชนที่จังหวัดลำปางแล้ว SCG ยังพาคณะสื่อมวลชน เดินทางต่อไปที่ชุมชนวังชื้น จังหวัดแพร่ ซึ่งมี ภัทชา ตนะทิพย์ นวัตกรตัวแม่ ชุมชนวังชิ้น เป็นหนึ่งในตังอย่างของ “พลังชุมชน” ที่ประสบความสำเร็จ

ภัทชา ตนะทิพย์ นวัตกรตัวแม่ ชุมชนวังชิ้น

ภัทรา เล่าว่า หลังจากเข้าอบรมโครงการพลังชุมชนซึ่งเอสซีจีจัดขึ้น ได้นำวิธีคิด “ง่าย ไว ใหม่ ใหญ่ ยั่งยืน” มาใช้สร้างอาชีพ ด้วยการแปรรูปกล้วยหอมทองอย่างหลากหลาย ให้ถูกใจลูกค้า เช่น กล้วยหอมทองอบกรอบ รสคาราเมล ข้าวเม่าคาราเมลคอนเฟลกส์ เครื่องดื่มจากกล้วย กล้วยหอมทองซีเรียล โจ๊กกล้วยหอมทองธัญพืช

อีกทั้งยังชวนเยาวชนในท้องถิ่นมาร่วมออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม สร้างเพิ่มมูลค่าให้สินค้า โดยใช้ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตจาก LocoPack ของ SCGP เป้าหมายถัดไปคือการพัฒนาชุมชนวังชิ้นเป็นชุมชนเศรษฐกิจ “กล้าคิด กล้าทำ ทำต่อเนื่อง” ตั้งศูนย์นวัตกรรมกล้วยหอมทองครบวงจร เปิดสอนอาชีพ สร้างงานให้ชุมชนมีรายได้เพิ่ม และเชิญชวนคนรุ่นใหม่มาร่วมพัฒนาการตลาด เชื่อมกับแผนการท่องเที่ยวให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจ จ.แพร่

แม่ประนอม ทาแปง ศิลปินแห่งชาติ สาขาประณีตศิลป์-ศิลปะการทอผ้า เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของ พลังชุมชน ที่นำความรู้ด้านการทอผ้า และการสร้างลาย มาสร้างอาชีพ และยังส่งต่อภูมิปัญญาให้กับคนรุ่นหลัง

สินชัย พุกจินดา เจ้าของโฮมสเตย์ หมอนไม้ไออุ่น จ.แพร่ กล่าวว่า แม่ภัทชาเป็นบุคคลต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้ปรับเปลี่ยนวิธีคิดและลงมือทำ หลังจากได้เข้าอบรมในโครงการพลังชุมชน จึงเกิดความคิดว่า ชุมชนเรามีของดีที่เป็นเอกลักษณ์และพัฒนาเป็นอาชีพได้ นั่นคือทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศดี น่าท่องเที่ยว จึงใช้ทักษะการเป็นช่างเฟอร์นิเจอร์ไม้สักมาออกแบบโฮมสเตย์ “หมอนไม้ไออุ่น”

จุดเด่นคือนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสเครื่องเรือนไม้สักที่ทำจากมือด้วยหัวใจ ให้บริการอาหารเครื่องดื่ม ชมทิวทัศน์ที่สวยงามท่ามกลางภูเขา ส่งผลให้ที่นี่กลายเป็น “จุดเช็คอิน” ที่นักเดินทางต้องแวะเวียนมา

แม่ประนอม ทาแปง ศิลปินแห่งชาติ สาขาประณีตศิลป์-ศิลปะการทอผ้า

นอกจากนี้ ยังเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านนำสินค้าของฝากของที่ระลึกมาจำหน่าย อนาคตจะดึงคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อยกระดับให้ อ.วังชิ้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ช่วยสร้างงาน อาชีพ และยังทำให้คนท้องถิ่นภูมิใจในบ้านเกิดด้วย

อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ ธมนภัทร สมภาร ผู้ใหญ่บ้านใหม่ หมู่ที่ 1 ที่ออกจากอาชีพพยาบาลมาเป็นเกษตรกร โดยให้ความสนใจกับโกโก้ ซึ่งเป็นพืชที่มีประโยชน์หลากหลาย และสามารถใช้เกือบทุกส่วนของโกโก้มาสร้างเป็นผลผลิตใหม่ได้ จนปัจจุบัน สามารถขายผงโกโก้ ทำโกโก้แปรรูปเป็นน้ำหมักโกโก้ เครื่องสำอาง รวมไปถึงการทำเป็นเบเกอรี่ ขายเลี้ยงชีพและครอบครัวได้ และยังสามารถส่งต่อความรู้ให้กับเกษตรกรอื่น ที่คิดโค่นต้นโกโก้ทิ้งได้

นั่นคือ แนวทางคาร่วมมือร่วมใจ การส่งเสริมความรู้ให้กับชุมชน พร้อมๆ กับการฟื้นฟูป่า และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมเรื่องการตัดไม้ทำลายป่า ลดการเผาป่า สร้างให้เกิดการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

หยุดเสี่ยง Post COVID ป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ

“หมอธีระ” ย้ำ การหยุดเสี่ยง Post COVID ที่มีอาการหลากหลาย คือ ต้องป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ และไม่ติดซ้ำ ดีที่สุด เหตุเพราะอาการผิดปกติต่างๆ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตเราแย่ลง

You May Like