ความเครียดสะสม ภาวะอันตรายเสี่ยงซึมเศร้า เสียชีวิต!!

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:2 Minute, 59 Second

หนึ่งในสภาวะทางอารมณ์ ความรู้สึกที่มนุษย์เราพบเจออยู่เสมอและคงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยง นั่นคือ “ภาวะเครียด” ภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงาน

แพทย์หญิง ณัฐชนก กอบหิรัญกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC) บอกว่า แต่ความเครียดเหล่านั้น เครียดแค่ไหน? เครียดแล้วหายได้หรือเปล่า? เพราะจงระวังไว้ให้ดี ความเครียดที่เกิดขึ้นเหล่านั้น อาจกำลังก่อตัวเป็นความผิดปกติที่ส่งผลโดยตรงต่อทั้งร่างกายและจิตใจ เสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา อาทิ มะเร็ง หลอดเลือดหัวใจ อาการทางจิต เก็บตัว โรคซึมเศร้า หรือไบโพล่าร์!

เพราะอะไรจึงเกิดความเครียด?

ความเครียดมักเกิดจากปัจจัยที่อยู่รอบตัว อาทิ เศรษฐกิจ การทำงาน รวมถึงครอบครัว ซึ่งโดยปกติแล้ว ความเครียด คือ ภาวะทางอารมณ์ที่สามารถหายไปได้เอง

จากวิธีการรับมือความเครียดที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่เมื่อใดที่เริ่มเกิดภาวะที่เรียกว่า “เครียดสะสม” ร่างกายจะเกิดพฤติกรรมที่ผิดปกติจนส่งผลกระทบต่อระบบร่างกายและจิตใจส่วนอื่น ๆ ด้วย

โดยจากฐานข้อมูลกรมสุขภาพจิต เดือนมิถุนายน 2565 พบว่า ในรายที่ไม่สามารถขจัดความเครียดได้ เกิดเป็นภาวะเครียดสะสมและพัฒนาเป็นภาวะซึมเศร้าในประเทศไทยมีมากถึง 1.35 ล้านคน ซึ่งแม้ว่าในปี 2556 ข้อมูลกลางจากกระทรวงสาธารณะสุขจะระบุไว้ว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่ที่ 4,295 คน แต่ในปี 2557 กลับมียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวอยู่ที่ 9,522 คน และในปี 2559 ตัวเลขก้าวกระโดดขึ้นมาเป็น 78,592 คน และยิ่งน่าตกใจที่ในปี 2560 มียอดตัวเลขผู้ป่วยโรคซึมเศร้าพุ่งขึ้นมาที่ 259,467 คน และยังคงมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันทั่วโลก

สัญญาณของอาการเครียดสะสม
● ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน
● กล้ามเนื้อตึง ปวดตามร่างกาย เช่น ไหล่ หลัง
● หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก
● มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ ท้องผูกท้องเสีย
● ร่างกายอ่อนเพลีย หมดแรง
● นอนไม่หลับ
● ความอยากอาหารเพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติ
● ความต้องการทางเพศลดลง
● ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย เช่น เป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่
● รู้สึกเหมือนไม่สามารถควบคุมอะไรได้ ว้าวุ่นใจ ไม่มีสมาธิ หลงลืมและหงุดหงิดง่าย
● รู้สึกเศร้า หมดหวัง มองโลกในแง่ร้าย และรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า
● ผัดวันประกันพรุ่ง หลีกเลี่ยงการทำหน้าที่ของตัวเอง หรือการพบปะผู้อื่น
● กระวนกระวาย เดินไปมา กัดเล็บ ดึงผม
● มีพฤติกรรมดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด และเล่นการพนัน

หากเกิดอาการเหล่านี้เพียง 2-3 อย่าง อย่ามองข้ามหรือละเลย เพราะอาการเหล่านั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังถูกความเครียดเล่นงาน ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่การเกิดโรคกรดไหลย้อน ลำไส้แปรปรวน ปวดศีรษะไมเกรน ความดันโลหิตสูง หรือมะเร็งได้นั่นเอง!

โรคที่เกิดขึ้นได้จากภาวะเครียดสะสม
● โรคความดันโลหิตสูง
● โรคหัวใจ
● โรคกระเพาะอาหาร
● โรคนอนไม่หลับ
● โรคไมเกรน
● โรคออฟฟิศซินโดรม ปวดหลัง
● โรคอ้วน
● โรคกรดไหลย้อน
● โรคหลอดเลือดสมอง
● ตับอักเสบจากการติดสุรา
● ถุงลมโป่งพองจากการติดบุหรี่
● โรคภูมิแพ้
● โรคหอบหืด
● ภูมิคุ้มกันต่ำ
● เป็นหวัดง่าย
● โรคมะเร็ง

เพราะสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจที่รุมเร้า ส่งผลให้เกิดความเครียดขึ้นได้ง่ายโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ผู้ที่มีอาการบ่งชี้เสี่ยงต่อการเข้าสู่ภาวะเครียดสะสม ควรทำการพบแพทย์และตรวจหาภาวะความเครียด เพื่อนำไปสู่แนวทางการป้องกันและรักษาที่ถูกต้อง ก่อนที่จะสายเกินกว่าที่สุขภาพกายและสุขภาพจิตจะรับไหว

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

บีคอน วีซี เตรียมอัดฉีด 1.2 พันล้าน ประกาศเป็นผู้นำการลงทุนด้าน ESG

บีคอน วีซี ตั้งกองทุน Beacon Impact Fund เงินลงทุนเริ่มต้น 1,200 ล้าน เน้นการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่แสวงหาผลกำไร ที่มีแนวคิดดำเนินธุรกิจยั่งยืน และพัฒนาโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหา สร้างผลกระทบเชิงบวกในมิติต่าง ๆ ของ ESG สามารถวัดผลได้

You May Like