“เบทาโกร” วางรากฐาน ESG ยกระดับธุรกิจอาหารยั่งยืนสากล

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 19 Second

“เบทาโกร” ชู ESG วางรากฐานผู้ผลิตอาหารยั่งยืนระดับสากล นำนวัตกรรมเทคโนโลยีดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างอีโคซิสเต็มอาหารมั่นคง ตรวจสอบย้อนกลับได้สอดรับ SDGs สหประชาชาติ

นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เบทาโกร เดินหน้าสู่เป้าหมายการเป็นบริษัทอาหารชั้นนำระดับสากล เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนระดับสากล โดยการนำแนวคิดตามหลัก ESG (Environment, Social, and Governance) ที่ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อมสังคม และบรรษัทภิบาล ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน เป็นแกนสำคัญ

นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)
  • ชู ESG ขับเคลื่อนธุรกิจ

เบทาโกรให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจยั่งยืน บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ ด้วยการผสานความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ากับการพัฒนา เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่สูงกว่าสู่ผู้บริโภค ภายใต้กรอบการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG ควบคู่การขับเคลื่อนนโยบายและทิศทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals: SDGs) 

นอกจากนี้ ยังดำเนินธุรกิจด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในการพัฒนาและออกแบบการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  • บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม 

ด้านสิ่งแวดล้อม นายวิสิษฐ กล่าวว่า เบทาโกรได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนระยะยาว บริษัทฯ มีการบริหารจัดการน้ำ ของเสียและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยลดปริมาณการใช้น้ำในกระบวนการผลิต เพิ่มการนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการบำบัดน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด  ลดการเกิดของเสียที่แหล่งกำเนิด การส่งเสริมพนักงานให้คัดแยกของเสียก่อนทิ้ง 

รวมทั้งมีโครงการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อนำของเสียไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการปรับส่วนผสมของอาหารสัตว์เพื่อปรับปรุงการดูดซึมสารอาหารของสุกร ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกลิ่น 

นอกจากนี้ บริษัทฯ เลือกใช้พลังงานทดแทนจากเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มากกว่า 35 สถานประกอบการทั่วประเทศ ซึ่งสามารถผลิตพลังงานสะอาดได้กว่า 40 เมกะวัตต์ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงกว่า 22,000 ตัน ช่วยประหยัดต้นทุนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปได้พร้อมกัน

“เราได้ติดตั้ง Solar rooftop ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 2.8 MW ที่โรงงานผลิตอาหารสัตว์แห่งที่ 3 จังหวัดลพบุรี นับเป็นโรงงานผลิตอาหารสัตว์แห่งแรกและแห่งเดียวในโลก ที่สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการดำเนินงานในช่วงเวลากลางวันได้ถึง 100% และมีแผนที่จะขยายขอบเขตการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนฟุตพรินต์ไปยังผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ ให้ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์หลักในธุรกิจอาหารและอาหารสัตว์” นายวสิษฐ กล่าว

  • ดึงโมเดลช่องสาริกา สร้างสังคมเข้มแข็ง

ด้านสังคม เบทาโกรชูความเชื่อที่ว่า ธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ต้องพัฒนาชุมชนและสังคมให้เติบโตไปพร้อมกัน ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้ริเริ่มโครงการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ที่มีการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม(Holistic Area-based Community Development) ให้มีความเข้มแข็งทั้ง 5 ด้านได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และการศึกษา โดยร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่น และสถาบันการศึกษา ร่วมวางแผนแม่บทการพัฒนาชุมชนที่เรียกว่า “โมเดลช่องสาริกา” เพื่อสร้างชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง พร้อมกับสนับสนุนให้เกิดจิตอาสา สำนึกรักในบ้านเกิดต่อยอดการเรียนรู้จากรุ่นสู่รุ่น สร้างชุมชนและสังคมคุณภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

อีกทั้งยังได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดตั้งธนาคารพัฒนาหมู่บ้าน ณ ตำบลช่องสาริกาอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โครงการครัวคุณภาพ มุ่งยกระดับมาตรฐานด้านโภชนาการ และสุขอนามัยแก่ครัวโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง โครงการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ไก่ป่า เพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โครงการปลูกป่าชุมชน โครงการเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า เป็นต้น

นอกจากนี้ โรงงงานอาหารสัตว์ ที่จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ระบบ MES (Manufacturing Execution System) และระบบ DCS (Distributed Control System) เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการด้านการผลิตนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตแล้ว ยังเป็นการพัฒนาทักษะแรงงานและการสร้างงานในพื้นที่ รวมถึงตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น

  • ขับเคลื่อนธุรกิจโปร่งใสด้วยบรรษัทภิบาล 

สำหรับการผลิต นายวิสิษฐ กล่าวว่า เบทาโกรดำเนินการภายใต้มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร (Betagro Quality Management: BQM) ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของอาหาร ในการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าและผลิตภัณฑ์ (Betagro E-Traceability System) ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับในกระบวนการอาหารได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ 

โดยเฉพาะความปลอดภัยทางชีวภาพเบทาโกร (Betagro Biosecurity Management) เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคในปศุสัตว์ ทั้งสุขภาพของสัตว์และสภาพแวดล้อมตั้งแต่ต้นทาง โดยผลิตภัณฑ์S-Pure ของเบทาโกร เป็นแบรนด์แรกของโลก และของไทยที่ได้รับการรับรอง”การเลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ (Raise Without Antibiotics – RWA)” โดย “NSF International” ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับห่วงโซ่อุปทานได้ในทุกขั้นตอนของการผลิต

  • สร้างความมั่นคงทางอาหาร

เบทาโกร สร้าง Ecosystem โดยให้ความสำคัญกับ 4 เป้าหมายที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ได้แก่ การขจัดความอดอยาก สร้างความมั่นคงทางอาหาร (Zero hunger) การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน (Good health and Well-being) การสร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน(Responsible consumption and production) และการผสานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnership for the goal)

ตลอดจนการดำเนินธุรกิจด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในการพัฒนาและออกแบบการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมพลังงานสะอาด ได้แก่ การใช้พลังงานทดแทนจากเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอาคารและโรงงาน การจัดการของเสียด้วยการใช้พลังงานจากชีวมวล จากการผลิตปศุสัตว์ และการลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทิ้งในสำนักงานและกระบวนการผลิต ส่งเสริมให้มีการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรและผลิตภัณฑ์

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ตลาดหลักทรัพย์ฯ บริหารจัดการน้ำเสีย-ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า คว้ารางวัล"ระดับทอง"

ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับโล่บริหารจัดการน้ำเสีย “ระดับทอง” 2565 จากกรมควบคุมมลพิษ ประเมินครอบคลุมทุกมิติการบริหารจัดการน้ำเสีย การดูแลควบคุมการปล่อยน้ำเสีย ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม