แรงงานทักษะสูงยังขาดแคลนทั่วโลก

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:4 Minute, 51 Second

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เผยผลสำรวจ ทั่วโลกขาดแคลนแรงงานทักษะสูง กระทบการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผู้นำองค์กร งัดกลยุทธ์ในการสร้าง รักษา กับค้นหาแรงงานกลุ่มนี้ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรและธุรกิจให้เติบโต

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ในฐานะที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญตลาดแรงงานเชิงนวัตกรรม เปิดเผยผลการวิจัยในหัวข้อ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถประจำปี 2563 พบว่ามีการจ้างงานที่ยั่งยืนสำหรับแรงงานราว 3 ล้านคนทั่วทั้งโลกทุกปี โดยเราทำงานร่วมกับบริษัท องค์กรเกือบ 5 แสนแห่ง (ครึ่งล้านแห่ง) ใน 80 ประเทศ เพื่อศึกษาและวิจัยในด้านของปัจจัยที่ “แรงงานต้องการ” รวมถึงการทำความเข้าใจว่าปัจจัยใดที่ดึงดูดให้บุคลากรเข้าทำงาน และเหตุผลใดจึงทำให้บุคลากรทำงานในองค์กรนั้นๆ ได้ยาวนาน ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ เพศและในระยะต่าง ๆ ของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมและอาชีพ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 14,000 คนใน 15 ประเทศ รายงานนี้รวมข้อมูลเชิงลึกที่โดดเด่นเข้ากับข้อมูลตลอด 13 ปีจากการสำรวจความสามารถพิเศษทั่วโลกของแมนพาวเวอร์กรุ๊ปซึ่งเป็นการศึกษาทุนมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในระดับโลก

ทางด้าน โจนัส ไพรชิง ประธานและซีอีโอแมนพาวเวอร์กรุ๊ป เปิดเผยว่า ตลาดแรงงานทั่วโลกกำลังอยู่ในภาวะการบีบรัด ซึ่งการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะความสามารถสูงอยู่ในระดับสูงสุด นับเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ในปัจจุบันเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กร นับเป็นความท้าทายที่ทุกองค์กรต้องเตรียมรับมือและปิดช่องโหว่เรื่องการขาดแคลน “แรงงาน” กลุ่มนี้ ดังนั้น องค์กรจึงมีความต้องการโซลูชั่นใหม่สำหรับอนาคตของการทำงานและอนาคตของแรงงาน ซึ่งผลวิจัยยังระบุว่าองค์กรมากกว่าครึ่งหนึ่งทั่วโลกไม่สามารถหาแรงงานหรือบุคลากรที่มีทักษะตามที่ต้องการ คิดเป็นสองเท่าจาก 10 ปีที่ผ่าน ส่วนทางด้านแรงงานนั้นอัตราการว่างงานต่ำสุดในรอบหลาย 10 ปี

บทบาทของเทคโนโลยีส่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลและระบบอัตโนมัติเป็นไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่นายจ้างส่วนใหญ่ กำลังเพิ่มหรือคงจำนวนพนักงานในองค์กร โดยไม่ลดพนักงาน ท่ามพลางความต้องการทักษะความชำนาญกับบทบาทของงาน ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การปฏิวัติทักษะความชำนาญที่คาดการณ์ไว้เมื่อ 4 ปีก่อน ยังคงเป็นความท้าทายใหม่ในโลกปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยอย่างแพร่หลาย แต่กำลังคนหรือแรงงานกลับยังขาดแคลนและมีความต้องการสูง

อย่างไรก็ตาม การค้นหา การสร้าง และกับการรักษาบุคลากรที่มีทักษะความสามารถสูงนั้นเป็นกลไกหลักที่หลายองค์กรค้นหาวิธีการและวางกลยุทธ์เช่นเดียวกัน เพื่อรักษาให้กำลังคนไว้ในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้นองค์กร และผู้นำจำเป็นต้องรู้ว่าคนทำงานต้องการอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของ

บุคลากรที่มีความสามารถสูง รวมถึงยังต้องมีตัวช่วยในการค้นหาบุคลากรที่เก่งและองค์กรต้องการ ซึ่งหลักการดังกล่าวจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถือหุ้นเมื่อองค์กรของคุณให้ความสำคัญในการดูแลพนักงาน ลูกค้าและชุมชนไปพร้อม ๆ กัน และรวมถึงความรับผิดชอบในการช่วยให้คนได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ให้สามารถประยุกต์ใช้กับงานในอนาคตและเป็นผู้สร้างคนเก่ง ทั้งนี้ ผู้นำองค์กรหรือนายจ้างจำเป็นต้องรู้ความต้องการของลูกจ้าง แล้วตอบสนองห้สอดคล้องกับความต้องการของลูกจ้าง หากทำเช่นนี้ องค์กรก็จะสามารถค้นหาลูกจ้างหรือแรงงานที่มีความทักษะสามารถแบบที่องค์กรต้องการ

จากผลวิจัยและสำรวจการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะความสามารถสูงทั่วโลก มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดย เปรียบเทียบในช่วง 10 ปีจะเห็นได้ว่า ในแต่ละปี ขาดแคลนแรงงานทักษะสูง หรือบุคลากรที่มีความสามารถเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2552 การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถอยู่ที่ 30% ปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็น 31% ปีถัดมาปี 2554 กับปี 2555 การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถอยู่ที่ 34% โดยในปี 2556 ถึง 2557 การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1% เป็น 35% และ36% และในปี 2558 ขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถเฉลี่ย 38% และปี 2559 การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถเฉลี่ย 40% จนมาถึงปี 2561 เพิ่มเป็น 45% และในปี 2562 การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถเพิ่มสูงขึ้นถึง 54%

อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาและวิจัย ระบุอีกว่าในขณะนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะความสามารถสูงเพิ่มมากขึ้น ประเทศที่มีอัตราการขาดแคลนแรงงานทักษะความสามารถสูง ในนอันดับต้นๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวีเดน ประเทศฟินแลนด์ ฮังการี สโลวีเนีย ฮ่องกง และญี่ปุ่น จะมีเพียง 18 ประเทศเท่านั้นที่ไม่มีรายงานการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะความสามารถสูง

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ได้ทำการจัดอันดับกลุ่มแรงงานในสายอาชีพที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด 10 อันดับแรกในปี 2562 มีดังนี้ อันดับที่ 1 สายงานด้านที่อาศัยทักษะเฉพาะทางเช่น ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่องซ่อม อันดับ 2 สายงานด้านการขายและการตลาดเช่น พนักงานขาย ผู้จัดการฝ่ายขาย นักออกแบบกราฟฟิก อันดับ 3 สายงานด้านเจ้าหน้าที่เทคนิค อันดับ 4 สายงานด้านวิศวกรรม อันดับที่ 5 สายงานด้านการขับรถและโลจิสติกส์ อันดับที่หกสายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) อันดับที่เจ็ดสายงานด้านการบัญชีและการเงิน อันดับที่แปดสายงานด้านการผลิตเช่น ผู้บังคับเครื่องจักร อันดับที่เก้าสายงานด้านการก่อสร้าง และสุกท้ายสายงานด้านการดูแลสุขภาพเช่น แพทย์ พยาบาล และบุคลากรสายสุขภาพอื่นๆ

ผลวิจัยระบุว่าโดย 80% ของกลุ่มดังกล่าวเป็นสายอาชีพและสาขาที่ขาดแคลนตั้งแต่ปี 2561 อีกทั้งทางด้านบุคลากรทางด้านการแพทย์ยังเข้ามาอยู่ใน 10 อันดับแรกในการศึกษาและวิจัยครั้งนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า มีการเพิ่มจำนวนประชากรผู้สูงอายุอย่างมากในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ธุรการประจำสำนักงาน พนักงานประจำคอลเซ็นเตอร์ ผู้จัดการโครงการ ทนายความและนักวิจัย ไม่ได้อยู่ใน 10 อันดับแรกได้สะท้อนให้เห็นถึงการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในงานประจำมากขึ้น และเทคโนโลยียังทำให้การทำงานเปลี่ยนแปลงไป บทบาทซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุด คือ ทักษะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

มธ.ส่งนวัตกรรมหุ่นยนต์“Tham-Robot” โรงพยาบาลสนาม

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนานวัตกรรม “Tham-Robot” หุ่นยนต์จัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์” รถเข็นอัจฉริยะเพื่อการจัดส่งยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ พร้อมส่งมอบถึงมือในโรงพยาบาลสนาม ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ลดความเสี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย COVID-19