โอสถสภา ทำธุรกรรมผ่านสถาบันการเงินไทย ลงทุนเมียนมาฉลุย

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:1 Minute, 30 Second

โอสถสภา เดินหน้าเติบโตในเมียนมา ย้ำการลงทุนในเมียนมาผ่านสถาบันการเงินไทยเพียงอย่างเดียว แบงก์ชาติเมียนมาออกคำสั่งห้ามบริษัทเอกชนและประชาชนจ่ายหนี้ต่างประเทศ ไม่กระทบต่อธุรกิจ

นางวรรณิภา ภักดีบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. โอสถสภา หรือ OSP ผู้ดำเนินธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของประเทศไทย เปิดเผยว่า ในฐานะที่บริษัทฯ เป็นผู้นำเครื่องดื่มให้พลังงานอันดับหนึ่งในประเทศเมียนมาภายใต้แบรนด์ ชาร์ค ที่ครองใจผู้บริโภคมากว่า 25 ปี และ แบรนด์ เอ็ม-150 ด้วยเครือข่ายพันธมิตรและลูกค้าที่แข็งแกร่งทำให้ผลิตภัณฑ์ ชาร์ค และ เอ็ม-150 เข้าถึงพื้นที่ได้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้ ‘โอสถสภา’ สามารถครองใจลูกค้าและผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน จึงตัดสินใจขยายธุรกิจลงทุนเปิดโรงงานที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา ในปี 2563 หลัง ‘โอสถสภา’ ได้ริเริ่มทำการค้ากับเมียนมาเป็นเวลากว่า 25 ปี เและได้เริ่มศึกษาวางแผนธุรกิจเป็นเวลานานนับสิบปีก่อนตัดสินใจลงทุนเปิดโรงงาน

ทั้งนี้ จากการที่ธนาคารกลางเมียนมาประกาศคำสั่งไปยังภาคเอกชนให้ระงับชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ในต่างประเทศนั้น มาตรการดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของ ‘โอสถสภา’ ในเมียนมา โดยบริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ อีกทั้งการลงทุนในเมียนมา เป็นการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินในประเทศไทยเเละสถาบันการเงินในประเทศเมียนมา ทั้งนี้ การชำระหนี้จะมีการเจรจากันภายใต้เงื่อนไขและข้อตกลงระหว่างบริษัทฯ และสถาบันการเงินต่อไป

ถึงแม้ว่าจะสถานการณ์ทางการเงินจะมีความผันผวนด้านค่าเงินหรืออัตราการแลกเปลี่ยน แต่ธุรกิจของบริษัทฯยังคงดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันนี้การซื้อขายในเมียนมาสามารถทำได้ในหลายสกุลเงินมากขึ้น ทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการทางการเงินได้หลากหลายมากขึ้น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

“เบทาโกร” จับมือ“มจธ.” สร้างนวัตกรรมยกระดับศักยภาพซัพพลายเชน - โลจิสติกส์

“เบทาโกร” ผนึก “มจธ.” สร้างนวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานและระบบโลจิสติกส์ สอดรับกลยุทธ์ Powering Change ยกระดับ Supply Chain Resilience

You May Like