กลุ่มธุรกิจ TCP บรรลุกลยุทธ์ความยั่งยืน 4 ด้าน

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:7 Minute, 19 Second

4 กลุ่มธุรกิจ TCP  เปิดรายงานความยั่งยืนเผย “ความร่วมมือ” เปลี่ยนทุกสิ่งเป็นไปได้ สร้างสมดุลทุกมิติ เศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อม สู่เป้าหมายความยั่งยืน

สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP เปิดเผยว่า รายงานความยั่งยืนประจำปี 2565 ของกลุ่มธุรกิจ TCP ชี้ถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนสร้างความสมดุลครบทั้ง 3 มิติ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ในปี 2564 กลุ่มธุรกิจ TCP ได้กำหนดกลยุทธ์หลักขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน ภายใต้เป้าหมาย “ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า” (Energizing a Better World for All) ซึ่งจากรายงานความยั่งยืนล่าสุด กลุ่มธุรกิจ TCP มั่นใจว่าจะบรรลุกลยุทธ์ความยั่งยืนทั้ง 4 ด้าน ดังที่ตั้งไว้ ได้แก่

สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP

1. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค

2. บรรจุภัณฑ์ของบริษัททุกประเภทต้องรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2567

3. กระบวนการผลิตต้องลดคาร์บอน ก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ให้ได้ภายในปี 2593

4. การจัดการน้ำที่ยั่งยืน คืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติและชุมชนให้มากกว่าน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต (Net Water Positive) ภายในปี 2573

สราวุฒิ กล่าวว่า ความยั่งยืนมีบริบทที่ใหญ่ขึ้น กลุ่มธุรกิจ TCP จึงมุ่งมั่นทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสมดุลให้ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ เสริมทักษะความรู้ใหม่ๆ ให้พนักงาน พัฒนากระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน ซึ่งผลการดำเนินงานจากรายงานความยั่งยืนทำให้เห็นว่า ความสำเร็จเกิดขึ้นจริงได้จากความร่วมมือของทุกคน ภาครัฐมีบทบาทกำหนดนโยบายและกฎหมาย ภาคเอกชนก็ปรับตัวดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่ รวมไปถึงผู้บริโภคที่ปรับแนวคิดการบริโภค เลือกซื้อสินค้า ที่ล้วนมีผลต่อความยั่งยืน เราเชื่อว่า ความร่วมมือของทุกภาคส่วนจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนวาระความยั่งยืนให้บรรลุเป้าหมาย และส่งมอบคุณค่า ปลุกพลังเพื่อวันที่ดีกว่าอย่างยั่งยืนต่อไป

การดำเนินงานและวัดผลด้านความยั่งยืนจะครอบคลุมเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำแนกได้เป็น 3 มิติ ดังนี้

• มิติเศรษฐกิจ: ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน การกำกับดูแลองค์กร

• มิติสังคม: ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ การบริหารทรัพยากรบุคคล ชุมชนและสังคมยั่งยืน

• มิติสิ่งแวดล้อม: เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ การจัดการน้ำยั่งยืน เศรษฐกิจหมุนเวียน

มิติเศรษฐกิจ: ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน การกำกับดูแลองค์กร

กลุ่มธุรกิจ TCP ให้ความสำคัญในการยกระดับห่วงโซ่อุปทานให้มีความสามารถในการแข่งขัน ตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ การผลิต การขนส่ง การตลาด การจัดจำหน่าย ไปจนถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสู่มือผู้บริโภค โดยทำงานร่วมกับคู่ค้าในการกำหนดจรรยาบรรณและแนวทางการดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงความยั่งยืนเป็นหัวใจหลัก

แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ทั้งยังมีแนวทางการจัดการแบบบูรณาการเชิงรุก ครอบคลุมด้านบรรษัทภิบาล การบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ สร้างความเชื่อมั่นและไว้ใจให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ผลการดำเนินงานด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ

• 100% ของบริษัทในกลุ่มธุรกิจ TCP และระดับบริษัทในประเทศเวียดนามและจีน ผ่านการประเมินความเสี่ยง

• 100% ของคู่ค้าได้ลงนามรับทราบความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ค้าของกลุ่มธุรกิจ TCP

• คู่ค้ารายสำคัญลำดับที่ 1 ได้รับการประเมินตนเองด้านความยั่งยืน

• ค่าใช้จ่ายการลงทุนเพื่อสังคม คิดเป็น 81.27 ล้านบาท

มิติสังคม: ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ การบริหารทรัพยากรบุคคล ชุมชนและสังคมยั่งยืน

กลุ่มธุรกิจ TCP มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมสินค้าเพื่อตอบโจทย์ด้านสุขภาพความเป็นอยู่ของผู้บริโภค โดยกำหนดเป้าหมายให้ 80% ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งหมดผ่านเกณฑ์ทางเลือกสุขภาพของบริษัทภายในปี 2567 ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มลดความหวาน กลุ่มให้ประโยชน์เฉพาะทาง และกลุ่มพัฒนาสินค้าสำหรับผู้สูงวัย โดยในปี 2565 กลุ่มธุรกิจ TCP ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพถึง 9 ผลิตภัณฑ์ ทำให้เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพคิดเป็น 70% ของพอร์ตผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 

ด้านทรัพยากรบุคคล กลุ่มธุรกิจ TCP เชื่อว่า “คน” เป็นทรัพยากรที่สำคัญ จึงมุ่งเน้นการดูแลคุณภาพชีวิตพนักงาน ทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงาน การพัฒนาทักษะ และโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงาน เพื่อสร้างความสุข ความมั่นคงให้พนักงาน โดยในปี 2565 ผลการประเมินความผูกพันที่มีต่อองค์กรคิดเป็น 79% และมีอัตราการคงอยู่ของบุคลากรมากกว่า 97% 

นอกจากนี้ ยังมุ่งสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ชุมชนและสังคม โดยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียม ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนผ่านโครงการต่างๆ ครอบคลุมด้านการศึกษา สาธารณสุข และการส่งเสริมและพัฒนาชุมชน ส่งผลให้มีผู้ได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินโครงการมากกว่า 118,000 คน

มิติสิ่งแวดล้อม: เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ การจัดการน้ำยั่งยืน เศรษฐกิจหมุนเวียน

กลุ่มธุรกิจ TCP มีการเตรียมความพร้อมรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผ่าน 2 แนวทางควบคู่กัน คือ กำหนดมาตรการและกลไกเพื่อบรรเทาผลกระทบ (Mitigation) และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Adaptation) รวมถึงการร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร เพื่อผลักดันการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์รับมือปัญหาสภาพภูมิอากาศ 

ในปี 2565 กลุ่มธุรกิจ TCP สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คิดเป็น 4.9% เทียบกับปี 2563 นอกจากนี้ พลังงานที่ใช้ในกระบวนการผลิตกว่า 75% เป็นพลังงานหมุนเวียนจากเชื้อเพลิงชีวมวลและพลังงานแสงอาทิตย์

ในฐานะองค์กรที่ใช้ “น้ำ” เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต กลุ่มธุรกิจ TCP มุ่งเน้นการจัดการน้ำที่ยั่งยืน (Water Sustainability) ขับเคลื่อนการใช้น้ำสุทธิเป็นบวก ลดการใช้ทรัพยากรน้ำ และเติมน้ำกลับคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติและชุมชนให้มากกว่าน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต โดยในปี 2565 กลุ่มธุรกิจ TCP มีอัตราการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง มากกว่า 9% เทียบกับปีก่อนหน้า และยังผสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ โครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ซึ่งในปี 2565 สามารถพัฒนาแหล่งน้ำให้กับชุมชนได้มีน้ำใช้เพิ่มขึ้น 2,986,893 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ ปริมาณน้ำสะสมจากการดำเนินโครงการระยะเวลา 5 ปี (2561-2565) เท่ากับ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือกว่า 3 เท่าของปริมาณน้ำที่กลุ่มธุรกิจ TCP ใช้ในตลอดกระบวนการ ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร

ทางด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ตั้งเป้าพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2567 โดยปัจจุบัน สามารถเปลี่ยนฉลากบรรจุภัณฑ์จากพลาสติก PVC เป็น PET ได้กว่า 83% และได้พัฒนาให้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดความหนาของกระป๋องอะลูมิเนียม ลดน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วและขวดพลาสติกเพื่อลดการใช้ทรัพยากร 

ในปี 2565 สามารถเก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 211 ตัน ทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม และนำของเสียจากกระบวนการผลิตในประเทศไทยไปใช้ประโยชน์กว่า 99% ตลอดจนจับมือกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เช่น องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) เข้ามาทำงานร่วมกันในโครงการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตต่อบรรจุภัณฑ์ นำร่องระบบการจัดการขยะในพื้นที่ พร้อมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะให้กับเยาวชนและชุมชน

“เรามีความมุ่งมั่นชัดเจนในการทำธุรกิจคู่กับความยั่งยืนภายใต้เป้าหมาย “ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า” โดยมีแผน 3 ปี (2565-2567) ด้วยกลยุทธ์ 3 ด้าน คือ ปลุกพลังแบรนด์สินค้า (Fulfilling) ปลุกพลังธุรกิจเติบโต (Growing) และปลุกพลังห่วงใยสิ่งแวดล้อม (Caring) นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งจะนำไปสู่รูปธรรมของความยั่งยืนตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม” นายสราวุฒิ กล่าวสรุป

ดูรายงานความยั่งยืนประจำปี 2565 และข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ของกลุ่มธุรกิจ TCP ได้ที่นี่

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

เคทีซี ฟันกำไรครึ่งปี 3,678 ล้าน

เคทีซี เปิดงบครึ่งปี กำไร 3,678 ล้าน รับแนวโน้มเศรษฐกิจขยายตัว มั่นใจกำไรทั้งปีเป็นไปตามเป้า เผยกำไรสุทธิไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 1,806 ล้าน มูลค่าพอร์ตสินเชื่อรวม 105,589 ล้านบาท เติบโต 11.1% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรขยายตัวที่อัตรา 16.3% มั่นใจสามารถทำกำไรทั้งปีได้ตามเป้าหมาย

You May Like