“กฏหมาย EPR” กับ 7 พันธมิตร PRO-Thailand Network

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:4 Minute, 27 Second

7 พันธมิตร เปิดตัว PRO-Thailand Network ขับเคลื่อนการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนภายใต้หลักการ EPR ด้วยความสมัครใจ พร้อมสนับสนุนและร่วมมือกับภาครัฐ ออกกฏหมาย EPR บังคับใช้ เพื่อตอกย้ำความรับผิดชอบทั้งผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้บริโภค

จากการจับมือกันของ 7 พันธมิตร บริษัทชั้นนำในไทย ได้แก่ บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด, บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด และบริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อค จำกัด เปิดตัว “เครือข่ายองค์กรความร่วมมือจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน” (Packaging Recovery Organization Thailand Network) หรือ “PRO-Thailand Network” อย่างเป็นทางการ หลักก่อตั้งและดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2562

เป้าหมายของ “PRO-Thailand Network” คือ การขับเคลื่อนการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน ภายใต้หลักการขยายความรับผิดชอบไปยังผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility [“EPR”]) เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อผลักดันให้เกิดการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วของภาคประชาชน เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลหรือนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย ซึ่งหนึ่งในแนวทางการผลักดันครั้งนี้ คือ การร่วมมือผลักดัน “กฏหมาย EPR” ให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม

EPR: Extended Producer Responsibility คือ เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ผลิตสร้างความรับผิดชอบไปยังช่วงต่าง ๆ ของวงจรชีวิตบรรจุภัณฑ์ สามารถช่วยให้ผู้ผลิตได้คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร ตั้งแต่การเริ่มต้นคิด การออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติก การจัดส่งกระจายสินค้า การรับคืน การเก็บรวบรวม การใช้ซ้ำ จนนำมาสู่การนำกลับมาใช้ใหม่

“นันทิวัต ธรรมหทัย” กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิ โคคา-โคล่า ประเทศไทย บอกว่า การจับมือของ 7 พันธมิตร แม้จะเกิดขึ้นโดยภาคสมัครใจ แต่การมีกฎหมายเป็นกรอบข้อบังคับ ก็จะช่วยสร้างข้อกำหนดที่ทำให้ทุกฝ่ายลุกขึ้นมาให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างจริงจัง เพราะกฎหมายจะมีข้อกำหนดที่หลากหลาย

“ปฏิญญา ศิลสุภดล” ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตอนนี้ขั้นของกฎหมาย EPR มีร่างกฎหมายเรียบร้อยแล้ว และทางกรมควบคุมมลพิษจะเดินหน้าทำงานต่อซึ่งคาดจะเห็นความคืบหน้า ประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2566

การมีกฎหมาย EPR จะไม่เพียงแต่ผู้ผลิต เจ้าของสินค้า และผู้จัดจำหน่ายที่ต้องร่วมรับผิดชอบดำเนินการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ แต่จะรวมถึงผู้บริโภค ที่ต้องช่วยกันแยกบรรจุภัณฑ์เพื่อการเก็บกลับด้วย เพราะฉะนั้น การมีกฎหมายคือการสร้างกรอบความร่วมมือ กำหนดความรับผิดชอบของแต่ละภาคส่วน เมื่อมีกรอบความรับผิดชอบที่ชัดเจน การดำเนินงานเก็บกลับก็จะมีความเป็นรูปธรรมและง่ายขึ้น

“วิภาวรรณ ทัศนปรีชาชัย” ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์ บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าว่า ตั้งแต่ก่อตั้ง “PRO-Thailand Network” ในช่วง 3 ปี สามารถเก็บกลับขวด PET ได้ 2.28 หมื่นตัน ส่วนบรรจุภัณฑ์กล่องเครื่องดื่ม (อาทิ กล่องนม น้ำผลไม้ กล่องน้ำกะทิ) เก็บได้มากกว่า 180 ตัน และถุงบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน (อาทิ ซองขนม กาแฟ) เก็บได้มากกว่า 80 ตัน ซึ่งบรรจุภัณฑ์ 2 อย่งหลังถือว่ายังเก็บได้น้อยมาก เนื่องจากคนยังไม่ตระหนักและไม่มีความรู้ในการจัดเก็บ รวมถึงยังไม่ได้ราคาดีเหมือนขวด PET

“บุษบา วงศ์นภาไพศาล” ผู้อำนวยการนโยบายสิ่งแวดล้อมประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า การบริหารจัดการขยะเป็นเรื่องใหญ่ของเป๊ปซี่โค เพราะว่าขยะพลาสติกนับวันจะมากขึ้น ประเทศไทยมีขยะประมาณ 2 ล้านตัน/ปี ถ้าหากนำมารวมกันจะเป็นภูเขามหึมา และขยะเหล่านี้รั่วไหลไปทำลายสิ่งแวดล้อม จึงเห็นว่าต้องนำกลับมาใช้ใหม่ อันเป็นที่มาของโครงการ Journey To Zero Waste คือหนทางที่จะทำให้ขยะเป็นศูนย์ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม นำหมุนเวียนกลับมาใช้

อย่างไรก็ตาม “PRO-Thailand Network” ถือเป็นโครงการนำร่อง ที่ภาคเอกชนและภาครัฐจะเข้ามาช่วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแก้ปัญหาให้ตรงจุด ส่วนเรื่องของกฎหมาย EPR ภาครัฐกำลังศึกษารายละเอียด และเมื่การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่เรียบร้อย คาดว่าเรื่องนี้จะมีความคืบหน้ามากขึ้น

ในเบื้องต้น PRO-Thailand Network ได้เริ่มต้นทดลองโมเดลการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว 3 ประเภทคือ ขวดพลาสติก PET (Polyethylene Terephthalate) กล่องเครื่องดื่ม (อาทิ กล่องนม น้ำผลไม้ กล่องน้ำกะทิ) และถุงบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน (อาทิ ซองขนม กาแฟ) ภายใต้การทำงานกับมูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน หรือมูลนิธิ 3R

โครงการนี้จะมีการขยายผล และเพิ่มจำนวนสมาชิกต่อไป เพื่อสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้กว้างขวางมากขึ้น เพื่อการแก้ปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

Investree ผนึก T Broker เพิ่มโอกาส SMEs เข้าถึงแหล่งทุน

อินเวสทรี ผนึกกำลัง ที โบรคเกอร์ พร้อมดึงกลยุทธ์ Referral Marketing ขยายฐานลูกค้ากลุ่ม SMEs เสริมสภาพคล่อง เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ รับมือสินเชื่อภาคธุรกิจที่ตึงตัว และอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น

You May Like