ฟาสต์ รีเทลลิ่ง บริหารซัพพลายเชน จัดหาวัตถุดิบยั่งยืน เพิ่มวัสดุรีไซเคิล

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:8 Minute, 2 Second

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ย้ำภาพ LifeWear เพื่อความยั่งยืน ปรับเปลี่ยนซัพพลายเชน จัดหาวัตถุดิบที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ ก้าวสู่เป้ากมาย Net Zero แบบครบวงจร

โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด กล่าวในงานแถลง LifeWear = a New Industry สำหรับสื่อมวลชนและนักวิเคราะห์ ว่า ฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing) บริษัทแม่ของยูนิโคล่ กำลังปรับเปลี่ยนธุรกิจของบริษัทเพื่อสร้างสมดุลระหว่างความยั่งยืนกับการเติบโตของธุรกิจ และส่งเสริมสังคมที่ยั่งยืนขึ้น ผ่านโมเดลธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งระบบและกระบวนการใหม่ที่ได้เริ่มดำเนินการเพื่อมุ่งสู่ความชัดเจนที่มากขึ้น รวมถึงการควบคุมตัวแปรต่างๆ ของสภาพแวดล้อมและสถานที่ทำงานตั้งแต่ระบบซัพพลายเชนทั้งหมดจนถึงช่วงหลังการขาย 

โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กำลังสร้างซัพพลายเชนที่มั่นคงและคล่องตัว ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นของระบบซัพพลายเชน เพื่อทำให้สามารถบริหารระบบซัพพลายเชนทั้งหมดได้ดีขึ้น สามารถควบคุมขั้นตอนการผลิตทั้งหมดได้โดยตรง ตั้งแต่คุณภาพ การจัดซื้อ การผลิต สิ่งแวดล้อม และสิทธิพื้นฐานของแรงงาน 

  • นำวัสดุปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำพัฒนาสินค้า

โคจิ กล่าวว่า ฟาสต์ รีเทลลิ่งได้เปิดตัวโปรเจกต์นำร่องร้านค้าเสื้อผ้ามือสอง โปรเจกต์นำร่องที่เปิดเป็นร้านป็อปอัพสโตร์ซึ่งวางจำหน่ายสินค้ามือสอง เปิดให้บริการในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่ร้านยูนิโคล่ สาขาฮาราจูกุ ในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ 11- 22 ตุลาคม 2566

นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดหลักในการพัฒนาสินค้า เริ่มจากอัตราส่วนการใช้วัสดุที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ เช่น วัสดุรีไซเคิล เพิ่มขึ้น 8.5% สำหรับสินค้าที่ได้วางแผนไว้ในปี 2566 สำหรับสินค้าที่ใช้เส้นใยโพลีเอสเตอร์ มีการเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลคิดเป็น 30% ของสินค้าทั้งหมดในกลุ่มนี้ โดยเป้าหมายของปีงบประมาณ 2573 อยู่ที่ 50%

ในปี 2566 สินค้าฮีทเทค (HEATTECH) และแอริซึ่ม (AIRism)ผลิตจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลและไนลอนเป็นครั้งแรก งานวิจัยที่มีมาต่อเนื่องสร้างความมั่นใจในเรื่องของความนุ่มสบาย และลักษณะเฉพาะของสินค้าทั้งสองประเภทที่เปี่ยมด้วยฟังก์ชันนั้นยังคงเดิม นอกจากนี้ เสื้อตัวนอก PUFFTECH ทำด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์ รีไซเคิล รวมทั้งเสื้อยืดกราฟิก UT บางรุ่นยังทำมาจากเส้นใยฝ้ายรีไซเคิล

  • แนวคิดหลักเพื่อ LifeWear ที่ยั่งยืน

นอกจากการเปิดป๊อบอัพสโตร์สินค้ามือสอง ยูนิโคล่ยังเปิดแนวคิด RE.UNIQLO เพื่อส่งเสริมการนำเสื้อผ้ายูนิโคล่มารีไซเคิลและนำกลับมาใช้อีกครั้ง โดยเริ่มเปิดตัวครั้งแรกที่ลอนดอน เมื่อเดือนกันยายน 2565 RE.UNIQLO STUDIO ให้บริการด้านการซ่อมแซมและปรับโฉมเสื้อผ้าได้ขยายสาขาไปทั่วโลก จนถึงเดือนกันยายน 2566 บริการนี้มีอยู่ในร้านสาขา 35 แห่ง ใน 16 ประเทศ และยังมีแผนที่ขะขยายเพิ่มเป็น 50 แห่งในอนาคต โดยยังไม่ระบุว่าจะเป็นที่ใดบ้าง

ที่ผ่านมา ฟาสต์ รีเทลลิ่ง สามารถลดการปล่อยคาร์บอนจากกระบวนการผลิตรีไซเคิลได้ประมาณ 20% และได้เริ่มโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คล้ายคลึงกัน ที่ทำด้วยผ้าแคชเมียร์ ผ้าวูล และผ้าฝ้ายจากสินค้าของยูนิโคล่ที่รวบรวมจากร้านสาขา

  • แนวคิดหลักเรื่องการผลิต

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จัดทำระบบการบริหารครบวงจรสำหรับซัพพลายเชนของบริษัท เพื่อให้สามารถควบคุมขั้นตอนการผลิตทั้งหมดได้โดยตรง ตั้งแต่คุณภาพ การจัดซื้อ การผลิต สิ่งแวดล้อม และสิทธิพื้นฐานของแรงงาน ระบบนี้รวมถึงการระบุวัตถุดิบและเนื้อผ้าที่ใช้ในกระบวนการตัดเย็บไปจนถึงกระบวนการจัดหาวัตถุดิบต่างๆ

สินค้าฤดูร้อน/ฤดูใบไม้ร่วง 2566 ของยูนิโคล่ทุกชิ้นสามารถบอกแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ผลิตได้ในเดือนสิงหาคม 2566 ทางบริษัทฯ สามารถระบุซัพพลายเออร์ตามขั้นตอนการผลิตเส้นใย ซึ่งผลิตจากแหล่งที่เชื่อถือได้และมีความร่วมมือในระยะยาวเพื่อผลิตสินค้าผ้าฝ้ายของยูนิโคล่ ในอนาคต ฟาสต์ รีเทลลิ่ง วางแผนที่จะขยายแนวคิดเดียวกันนี้ไปยังซัพพลายเออร์สำหรับวัสดุอื่นๆ

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กำลังขยายฐานการผลิต พร้อมกับการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานหลักในประเทศจีน รวมถึงเพิ่มอัตราส่วนของสินค้าที่ผลิตจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน โดยอัตราการผลิตในประเทศอินโดนีเซีย และเวียดนามเพิ่มสูงกว่า 50% นอกจากนี้ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง วางแผนเพิ่มกำลังการผลิตภายในประเทศในพื้นที่ที่ธุรกิจของบริษัทกำลังเติบโต เช่น อินเดีย

และเพื่อความชัดเจนที่มากขึ้นและการควบคุมการจัดหาวัตถุดิบทั้งหมด ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จัดทำระบบเพื่อกำหนดคุณภาพของวัตถุดิบและสถานที่ผลิตตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน และตรวจสอบขั้นตอนเหล่านี้ได้ตลอดเวลา โดยเริ่มต้นใช้กับกับฝ้าย และจะนำระบบนี้ไปใช้กับวัสดุอื่นๆ ด้วย

ในอนาคต ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จะร่วมมือกับพาร์ทเนอร์การผลิตเพื่อระบุฟาร์ม ไร่ปศุสัตว์ และโรงงานต่างๆ สำหรับขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบหลัก สำหรับเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ได้กำหนดผู้ผลิตและมาตรฐานคุณภาพของเกล็ดและเม็ดพลาสติก เพื่อควบคุมคุณภาพ ความโปร่งใส และความปลอดภัยของแหล่งผลิตให้อยู่ในระดับสูงสุด

เพื่อการตรวจสอบแหล่งที่มาที่ชัดเจนขึ้น ฟาสต์ รีเททลิ่ง ได้สรุป Production Partner Code of Conduct กับผู้ผลิตเส้นใยสำหรับสินค้าผ้าฝ้ายของยูนิโคล่ในฤดูใบไม้ผลิปี 2566 การตรวจสอบทั่วไปสำหรับผู้ผลิตเส้นใยรายหลักดำเนินการจนถึงเดือนสิงหาคม 2566 โดยเริ่มใช้มาตรการเดียวกันนี้กับผู้ผลิตเส้นโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล และซึ่งอยู่ในระยะเริ่มต้น

ตั้งแต่ปี 2566 ยูนิโคล่และ GU เริ่มเผยข้อมูลประเทศผู้ผลิตของแต่ละสินค้าผ่านเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ในบางประเทศ และมีแผนที่จะขยายความคิดริเริ่มนี้ไปยังตลาดอื่นๆ อีกด้วย

  • เป้าหมายของปีงบประมาณ 2573

ที่ร้านสาขาและสำนักงาน ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายในการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHC) จากการใช้พลังงานในร้านสาขาและสำนักงานให้ได้ 90% ภายในปีงบประมาณ 2573 เมื่อเทียบกับระดับตั้งไว้ในปีงบประมาณ 2562 จนถึงปี 2565 สามารถลดระดับลงได้ถึง 45.7%

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายในการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% สำหรับร้านสาขาในกลุ่มฟาสต์ รีเทลลิ่ง และสำนักงานทั่วโลกภายในปีงบประมาณ 2573 สำหรับปีงบประมาณ 2565 ได้ดำเนินการแล้ว 42.4 %

ส่วนของซัพพลายเชน ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายในการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHC) ให้สอดคล้องกับการผลิตวัตถุดิบ การผลิตเนื้อผ้า และการตัดเย็บสินค้าของยูนิโคล่ และ GU ให้ได้ 20% ภายในปีงบประมาณ 2573 นี้ เมื่อเทียบกับเป้าหมายของปีงบประมาณ 2562 ซึ่งในปี 2565 ทีผ่านมา ลดระดับการปล่อยก๊าซได้ 6.2% โดย ฟาสต์ รีเทลลิ่งจะเดินหน้าร่วมมือกับโรงงานพาร์ทเนอร์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

  • ใส่ใจความหลากหลายทางชีวภาพ

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง เผยแพร่นโยบายการอนุรักษ์ความหลากหลายทางธรรมชาติของกลุ่มฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing Group Biodiversity Conservation Policy) บริษัทมีความต้องการบรรลุเป้าหมายเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพเชิงบวกซึ่งเชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท (Value Chain) ในระยะยาว พร้อมทั้วจัดทำแบบประเมินเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเกี่ยวกับผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสี่ยงด้านการพึ่งพาในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ซึ่งระบุถึงผลกระทบสำคัญของการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตผ้าแคชเมียร์ ผ้าวูล และผ้าฝ้าย

สำหรับผ้าแคชเมียร์ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ร่วมมือกับนักวิจัยจาก University of the Ryukyus ประเทศญี่ปุ่น ในการใช้ดาวเทียมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสถานะของผลผลิตจากไร่ปศุสัตว์ที่ผลิตขนแพะแคชเมียร์ให้กับยูนิโคล่ โดยบุคลากรแผนกความยั่งยืนได้เยี่ยมชมไร่ปศุสัตว์ และทำการสำรวจภาคสนาม

ส่วนผ้าวูล ฟาสต์ รีเทลลิ่ง วางแผนที่จะดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับผ้าแคชเมียร์  นอกจากนี้ บริษัทกำลังศึกษาเกี่ยวกับการนำเกษตรแบบหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้กับผ้าฝ้าย

  • ใช้งบ 5.4 พันล้านเยนสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม

ในปีงบประมาณ 2566 ฟาสต์ รีเทลลิ่ง สนับสนุนเงินจำนวน 5.4 พันล้านเยนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงจัดหาเสื้อผ้าจำนวน 1.13 ล้านชิ้น โดยมีจำนวนผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนี้ถึง 1.82 ล้านคน

ในเดือนกันยายน 2565 ฟาสต์ รีเทลลิ่ง เปิดตัวโปรเจกต์เพื่อสนับสนุนการดำรงชีพโดยร่วมมือกับ UNHCR เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยหญิงชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศ โดยดำเนินการฝึกทักษะการตัดเย็บให้กับผู้หญิงประมาณ 350 คนได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม 2566 นอกจากนี้ สิ่งของบรรเทาทุกข์ อาทิ ผ้าอนามัยแบบซักได้กว่า 2 ล้านชิ้น และชุดชั้นในผู้หญิงกว่า 430,000 ชิ้นถูกผลิตขึ้นเพื่อแจกจ่ายไปยังแคมป์ผู้ลี้ภัย ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายในการอบรมให้กับผู้หญิงจำนวน 1,000 คนให้เสร็จสิ้นภายในปี 2568 เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัยที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้หญิงในแคมป์ผู้ลี้ภัย

มูลนิธิฟาสต์ รีเทลลิ่ง จับมือกับ Philanthropy Asia Alliance ในเดือนกันยายนปี 2566 โดยมูลนิธิวางแผนจะสนับสนุนเงินจำนวน 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในระยะเวลามากกว่า 10 ปี เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การศึกษา และสาธารณสุขในทวีปเอเชีย ซึ่งมูลนิธิยังเปิดตัวโปรแกรมทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติในเวียดนาม โดยนักเรียนกลุ่มแรกจำนวน 6 คนจะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2566

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายที่จะยกระดับความหลากหลายและการรวมเป็นหนึ่ง โดยเพิ่มจำนวนผู้บริหารหญิงให้ถึง 50% ภายในปีงบประมาณ 2573 โดยในปลายเดือนสิงหาคม ปี 2565 มีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 43.7%

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ออมสิน เพิ่มมูลค่า ยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2566

ออมสิน สร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจให้สังคม ผ่านโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2566 สร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าและบริการของธุรกิจให้กับสังคมหรือชุมชนทั่วประเทศ ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจและมีผลประกอบการที่เหมาะสม

You May Like