สกสว. ชู “บ้านม้งดอยปุย” โมเดลต้นแบบจัดการป่าที่ยั่งยืน

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:4 Minute, 42 Second

สกสว. เร่งสร้างความร่วมมือ รัฐ-เอกชน-ชุมชน และ 4 มาตรการเด็ด กลไกสำคัญแก้ปัญหา PM2.5 พร้อมเปิดโมเดลต้นแบบจัดการผ่ายั่งยืน “บ้านม้งดอยปุย” สานพลังแห่งความสามัคคีสู่ทางรอดจากฝุ่นพิษ

รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้การกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ต้องการเร่งแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ที่ยังคงก่อความเดือดร้อนต่อเนื่อง โดย สกสว. มีหน้าที่จัดสรรงบประมาณวิจัยจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)

ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง สกสว. ทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ทำงานกับสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ เพราะเชียงใหม่เป็นพื้นที่ปฏิบัติการมุ่งเป้าในหลายมิติ เช่น การใช้งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อลดไฟในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตร การใช้ Big Data เพื่อช่วยจังหวัดบริหารจัดการและรับมือสถานการณ์วิกฤติ รวมถึงการใช้กระบวนการวิจัย เพื่อจัดทำแผนแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ร่วมกับกลไกภาคี PES (Payment for Ecosystem Service) เป็นการดูแลแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด เข้าไปขจัดปัญหาที่ต้นตอของแหล่งกำเนิดฝุ่น สร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนและคนที่อยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งของปัญหา

สกสว. ยังรายงานว่า ข้อมูลจากการสำรวจพบว่า 65% ของพื้นที่เผาไหม้มาจากพื้นที่ป่า และในพื้นที่เผาไหม้ของไฟป่ากว่าครึ่งหนึ่ง เกิดจากการเผาเพื่อหาของป่า ส่วนพื้นที่เผาไหม้ที่เหลือมาจากพื้นที่เกษตร โดยเฉพาะนาข้าว ไร่ข้าวโพด ไร่หมุนเวียน และไร่อ้อย สะท้อนให้เห็นว่าปัญหานี้เชื่อมโยงโดยตรงกับปากท้องของชุมชน

  • “บ้านม้งดอยปุย” โมเดลต้นแบบจัดการป่าอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในโมเดลความสำเร็จที่น่าสนใจ ในการจัดการปัญหาไฟป่า คือ “บ้านม้งดอยปุย” ซึ่งอดีตเคยมีปัญหา แต่ปัจจุบันสามารถจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยกลยุทธ์ 3 ประสาน คือ “รัฐ -เอกชน -ชุมชน”

พ่อหลวงไตรภพ แสนยาเกียรติคุณ ผู้ประสานงานเครือข่ายสิ่งแวดล้อมม้งดอยสุเทพ-ปุย เล่าว่า เราดูแลป่าต้นน้ำมากว่า 20 ปีแล้ว ความสำเร็จของชุมชนในการจัดการป่าและป้องกันไฟป่า แม้จะมีความท้าทายในการจัดการที่ดินและการสร้างรายได้จากเศษวัสดุเกษตร แต่ชุมชนก็สามารถพัฒนาแนวทางที่ยั่งยืนได้ ด้วยกลยุทธ์ 3 ประสาน รัฐ-เอกชน-ชุมชน

กลยุทธ์ดังกล่าว เป็นกลไกสำคัญในการแก้ปัญหา โดยการมุ่งสร้างระบบที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ทั้งการพัฒนาระบบตลาดคาร์บอนเครดิต และการจ่ายค่าตอบแทนคืนสู่ระบบนิเวศ หรือ Payment for Ecosystem Service” และ 4 มาตรการเด็ด พลิกวิกฤตสู่โอกาส ได้แก่

1. “แปลงรวม” โมเดลใหม่จัดการป่าชุมชน ไม่ให้กรรมสิทธิ์เฉพาะบุคคล แต่ส่งเสริมการดูแลร่วมกัน

2. “PM2.5 Free” มาตรฐานใหม่รับรองผลผลิตปลอดฝุ่นพิษ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกร

3. แปรรูปเศษวัสดุเกษตรเป็นพลังงานและอาหารสัตว์ สร้างรายได้ทดแทนการเผา

4. สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับเอกชนที่ร่วมอนุรักษ์ป่า

  • อนาคตอากาศสะอาดที่เป็นไปได้ สู่อนาคตที่ยั่งยืน

ด้านนักวิจัยในพื้นที่เล่าถึงประสบการณ์การทำงานร่วมกับชาวบ้านว่า “การแก้ปัญหาฝุ่นต้องเริ่มจากการเข้าใจวิถีชีวิตของชุมชน เมื่อเขามีทางเลือกในการสร้างรายได้ที่ไม่ต้องพึ่งการเผา ปัญหาก็จะค่อยๆ คลี่คลาย”

แม้จะยังมีความท้าทายอีกมาก แต่ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม การผสานพลังระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่น นวัตกรรมการวิจัย และกลไกทางเศรษฐกิจ กำลังนำพาประเทศไทยสู่อนาคตที่มีอากาศสะอาดและทรัพยากรที่ยั่งยืน ซึ่งการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษไม่ใช่เพียงการลดพื้นที่เผาไหม้หรือการบังคับใช้กฎหมาย แต่เป็นการสร้างระบบที่เอื้อให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน ทุกภาคส่วน ทั้งชุมชนท้องถิ่น นักวิจัย ภาครัฐ และเอกชน ต้องร่วมมือกันสร้างสมดุลระหว่างการใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ป่าไม้ เพื่อให้ป่าไม้เป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับทุกคนในสังคมไทย

เมื่อทุกคนตระหนักว่าปัญหาฝุ่นพิษเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน และลงมือทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ จึงจะสามารถสร้างอนาคตที่มีอากาศสะอาดและทรัพยากรที่ยั่งยืนสำหรับคนรุ่นต่อไป

  • สูดลมหายใจสะอาด “บ้านม้งดอยปุย”

“บ้านม้งดอยปุย” เป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผ่าม้งหรือแม้ว ตั้งอยู่บนดอยปุย อยู่ในพื้นที่ของ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ถัดจากพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ขึ้นไป 4 กิโลเมตร “ร้านขายของฝากดอยปุย” เดินเล่น เลือกซื้อของฝาก ของที่ระลึก

บ้านม้งดอยปุยเป็นที่ที่มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี จึงทำให้บรรยากาศดี อากาศบริสุทธิ์ สดชื่น และน่าอยู่ มองไปรอบ ๆ หมู่บ้านจะเห็นวิวทิวทัศน์เป็นภูเขาหรือดอยลูกอื่น ๆ ซึ่งเป็นภาพที่สวยงามมาก โดยบ้านของชาวม้จะตั้งอยู่บนดอย ทางเดินในหมู่บ้านค่อนข้างลดเลี้ยวไปมา ขึ้นเนินบ้าง ลงเนินบ้าง พื้นไม่สม่ำเสมอกัน ซึ่งนั่นก็คือเสน่ห์ของที่แห่งนี้ ผู้ที่เข้ามาเดินชมหมู่บ้าน เมื่อเดินขึ้นไปบนเนินสูง ๆ มองลงมาก็จะเห็นวิวสวยงาม

นอกจากความงามของธรรมชาติ และอากาศที่สดชื่นแล้ว ที่นี่ยังมีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของชาวเขาเผ่าม้งให้ได้ศึกษา รวมไปถึงการแต่งกาย อาหารการกิน ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย

ปัจจุบัน บ้านม้งดอยปุย ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ สำหรับผู้ต้องการมาพักผ่อน ดื่มด่ำกับธรรมชาติ และสูดอากาศบริสุทธิ์ พร้อมซึมซับวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของชาวม้ง

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

เซ็นทรัล กระบี่ ขับเคลื่อนต้นแบบศูนย์การค้ายั่งยืน ย้ำการแก้ไขปัญหาขยะทะเล

เซ็นทรัลพัฒนา เผย “เซ็นทรัล กระบี่” ศูนย์การค้าต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจสู่การอนุรักษ์และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พร้อมจับมือเมืองกระบี่สร้างสรรค์รั้วโครงการ Eco-Art งานศิลปะจากขยะทะเล 3,500 ชิ้น เล่าเรื่องสัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์ ขณะเดียวกัน ยังร่วมมือทุกภาคส่วน ผลักดัน Sustainable & Mindful Tourism และวิกฤตขยะทะเล หวังสร้างอนาคตยั่งยืนทางเศรษฐกิจ

You May Like