‘อินโดรามา เวนเจอร์ส’ สร้างเมืองไร้ขยะ นำร่องส่งเสริมความรู้ด้านการคัดแยก-รีไซเคิลพลาสติก

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:5 Minute, 44 Second

อินโดรามา เวนเจอร์ส ผนึก กรุงเทพมหานคร ปูทางโรงเรียนสอนเด็กคัดแยกขยะพลาสติกเพื่อรีไซเคิล หวังเป็นต้นทางสู่เมืองไร้ขยะ ตั้งเป้าขยายความรู้ 1,000,000 คนทั่วโลกภายในปี 2573 และเข้าถึงโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครอีก 337 แห่ง ภายในปี 2568

โครงการบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 จนถึงเดือนมิถุนายน 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ในการปลูกฝังความเข้าใจพื้นฐานในการแยกขยะอย่างถูกต้อง รวมถึงความสำคัญของกระบวนการรีไซเคิล พร้อมมอบสื่อความรู้ให้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน และจัดอบรมทางออนไลน์ให้แก่คุณครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 437 แห่ง

ปัจจุบันได้ลงพื้นที่ให้การอบรมความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและการรีไซเคิลแก่โรงเรียนแล้วทั้งหมด 100 แห่ง ใน 43 เขต โดยมีคุณครูเข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 398 คน และนักเรียนเข้าร่วมอบรมจำนวน 11,195 คน

หลังจากการอบรมเสร็จสิ้น ทางบริษัทฯร่วมกับสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จัดการการประกวดโรงเรียนต้นแบบการบริหารจัดการขยะพลาสติก PET ได้มีการประเมินผลโรงเรียนที่มีการขยายผลและต่อยอดด้านการจัดการขยะภายในโรงเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม และนำความรู้ไปปฎิบัติใช้ได้ผลจริง จึงได้มอบประกาศนียบัตรเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจสำหรับโรงเรียน จำนวน 87 แห่ง โดยแบ่งเป็น ประกาศนียบัตรระดับดีเยี่ยม จำนวน 20 แห่ง ระดับดี จำนวน 32 แห่ง และระดับผ่าน จำนวน 35 แห่ง

“แน่นอนครับว่า การแยกขยะ กทม. ทำคนเดียวไม่ได้ มันต้องมาจากทุกหน่วยของสังคมร่วมมือกัน โดยเฉพาะหน่วยย่อยที่สุดเลยคือ ครอบครัว เป็นจุดสำคัญเลย หากเรามีการทำให้ทุกคนมีความเข้าใจว่า การแยกขยะทำอย่างไร จะทำให้การแยกขยะเกิดผลประโยชน์อย่างชัดเจน ยกตัวอย่าง เรามีการเริ่มรณรงค์ร่วมกับอินโดรามา เวนเจอร์ส ในการให้ความรู้เรื่องการแยกขยะขวด PET มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ไม่น่าเชื่อว่า

ปีที่ผ่านมาปริมาณขยะลดลงจากเฉลี่ยแล้วมีขยะวันละ 10,000 ตัน แต่ตอนนี้เฉลี่ยเหลือวันละ 9 พันกว่าตัน ลดลงประมาณ 300 กว่าตัน เพราะฉะนั้นความเข้าใจเป็นเรื่องสำคัญว่าจะแยกยังไงให้เกิดประโยชน์

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม. มีแผนขยายใน 2 มิติ คือ ขยายให้ครบทุกโรงเรียนให้มากที่สุด อยากให้เด็กของเรา และครูของเราเป็นตัวคูณ เอาข้อมูลไปขยายต่อในครอบครัว ในชุมชน ให้เกิดเป็นโมเมนตัมที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม

อาราธนา โลเฮีย ชาร์มา รองประธาน บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจัดการขยะพลาสติกในโรงเรียนอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากนักเรียนและครูไม่มีความรู้และแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง ในการคัดแยกขยะและการรีไซเคิล จึงเป็นเหตุผลที่อินโดรามา เวนเจอร์ส ได้จับมือกับสำนักการศึกษา กทม. เพื่อแนะนำความรู้ด้านการรีไซเคิลให้กับคุณครู ซึ่งจะเป็นใบเบิกทางและต้นทางการเรียนรู้ที่สำคัญเพื่อนำความรู้ไปสู่นักเรียน และชุมชนต่อไป โดยตั้งเป้าหมายต่อยอดการอบรมในโครงการนี้เพื่อเข้าถึงโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครอีก 337 แห่งให้ครบจำนวน ภายในปี 2568 ซึ่งจะทำให้สามารถนำความรู้เข้าถึงนักเรียนได้ประมาณ 40,000 คน

ด้าน ณัฐวรรธน์ เลิศภักดีวัฒนกุล คุณครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนหัวหมาก บอกเล่าถึงประสบการณ์การเรียนรู้ครั้งนี้ว่า ปกติโรงเรียนเรามีการเก็บขยะพลาสติกด้วยวิธีทั่วไป คือ บีบแล้วทิ้งขยะลงไปในถังแล้วเรียกคนรับซื้อมารับไป แต่หลังจากอินโดรามา เวนเจอร์ส มาให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง เปิดมุมมองว่าพลาสติกที่เก็บทิ้งแล้ว สามารถทำให้มันแปรสภาพกลายเป็นพลาสติกได้ จึงได้แนวคิดในการเอาไปพัฒนาเป็นการคัดขยะที่ต้นทาง จากที่เมื่อก่อนไม่เคยแยกฝา ไม่เคยแยกฉลาก ก็เลยฝึกเด็กให้เค้ารู้จักพลาสติก 7 ประเภท และเบื้องต้นคือ ให้แยกฝาออก ดึงฉลากออก แล้วพัฒนาเครื่องบีบอัดขวดพลาสติกให้แบนที่สุด ส่งผลให้โรงเรียนสามารถเก็บขยะ PET ได้มากขึ้น มีการแข่งขันเก็บขยะพลาสติกในนักเรียนทุกระดับชั้น ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้ชั้นเรียนเพื่อทำกิจกรรมได้มากขึ้น ขอขอบคุณอินโดรามา เวนเจอร์ส ที่มาให้ความรู้ทั้งครูและนักเรียน และทำให้เรามีการพัฒนาไปอีกก้าวหนึ่ง

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมความรู้ด้านการคัดแยกและรีไซเคิลพลาสติกของอินโดรามา เวนเจอร์ส มาตั้งแต่ปี 2561 และได้ให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปแล้วกว่า 35,122 คนทั่วประเทศไทย เพื่อสร้างความตระหนักในการจัดการของเสียอย่างถูกต้องเพื่อนำไปรีไซเคิล ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ไปทั่วโลก โดยอินโดรามา เวนเจอร์ส มุ่งมั่นที่จะให้ความรู้กับนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปให้ได้ถึง 1,000,000 คนทั่วโลกภายในปี 2573

“ไฮไลท์ของโรงเรียนคือเครื่องบีบอัดขวดน้ำพลาสติกรุ่นที่ 3 อัพเดทล่าสุดจากโครงงานวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน มีข้อดีคือสามารถบีบอัดขวดน้ำพลาสติกได้ทุกขนาดให้มีขนาดเล็กที่สุดเพื่อที่จะสามารถรวบรวมขยะขวดพลาสติกได้เยอะที่สุดโดยไม่เปลืองพื้นที่จัดเก็บก่อนขายซาเล้ง” น้องมีบุญ หรือ ด.ช.กิตติบุญ โฉมเฉิด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนหัวหมาก อธิบายให้ฟังถึงนวัตกรรมการจัดการขยะรีไซเคิลและวิธีการบริหารจัดการขยะภายในโรงเรียน

ส่วนน้องซี หรือ ด.ญ. นันทิชา รอดคง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดพระยาปลา บอกว่า สำหรับโรงเรียนของหนูส่วนมากเป็นการนำขวดพลาสติกมาทำประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่ใช่การทิ้ง หรือการเผา เช่น การทำเป็นเก้าอี้จากขวดพลาสติก แล้วใส่ผ้าคลุมให้สวยงาม ก็ใช้ประโยชน์ต่อได้

ในขณะที่ น้องอาฟเตอร์ หรือ ด.ช. ปิยพัทธ์ มีสำรี นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์) เล่าว่า หุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อว่า WALL-ERobot เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้กวาดขยะ โดยใช้ตัว Mbot ในการทำงาน มีคอนเทนเนอร์เอาไว้เก็บขยะ และมีเคเบิ้ลไทร์ประมาณ 40 อันเพื่อที่จะกวาดขยะเข้าไป ซึ่งหมุนเพื่อกวาดขยะเข้าไป บังคับการทำงานด้วยสวิตซ์เปิดปิด และมีเมนบอร์ดเซนเซอร์ที่เป็นสมองที่รวบรวมฟังก์ชั่นของมัน บังคับด้วยจอยสติ๊ก ซึ่งมีล้อทำให้สามารถขยับเขยื้อนและขับไปเก็บขยะในที่ต่างๆ ได้ รวมถึงขวดพลาสติก เพื่อนๆ ก็สนุกกันมาก เหมือนการเล่นเกมขับรถ โดยใช้เพียงแค่ถ่าน 2A 4 ก้อนเป็นพลังงาน

น้องๆ เหล่านี้กำลังอธิบายถึงผลงานของโรงเรียนที่ได้รับประกาศนียบัตรระดับ “ดีเยี่ยม” ซึ่งเป็นหนึ่งใน 20 โรงเรียนที่ได้รับรางวัลดีเยี่ยมในพิธีปิดโครงการบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร และบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PET และรีไซเคิล PET รายใหญ่ที่สุดของโลก

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

"โอลิมปิกสีเขียว" จาก ญี่ปุ่นเกมส์ 2020 สู่ ปารีสเกมส์ 2023

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก กลายเป็นอีกหนึ่งสนามหรือยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศเจ้าภาพ ในการส่งเสริมภาพลักษณ์ในแต่ละมิติ ซึ่งมิติที่น่าจับตาที่สุดขณะนี้ก็คือ มิติของความยั่งยืน กับการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยรูปแบบต่างๆ

You May Like