เฟรเซอร์ส ทำ SROI ประเมินผลตอบแทนทางสังคม เสริมประสิทธิภาพสร้างอิมแพ็คเต็มเม็ด

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:6 Minute, 48 Second

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เอาจริง ประเดิมทำ SROI ประเมินมูลค่าผลตอบแทนทางสังคม วิเคราะห์ผลกระทบผู้มีส่วนได้เสียทั้งด้านลบและบวก เพื่อเสริมศักยภาพโครงการด้านสังคม ที่สร้างอิมแพ็คได้จริงเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด เผยโครงการบริจาคโลหิต ได้รีเทิร์นถึง 4.5 เท่า ส่วน C asean Samyan CO-OPสามย่านมิตรทาวน์ ได้ 3.5 เท่า

สาริษฐ์ ไตรโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ สื่อสารองค์กรและแบรนด์ดิ้ง บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากความเชื่อของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ที่ใส่ใจกับการสร้างสรรค์ เรื่อง well being เช่น การบริจาคเลือด รวมไปถึงการสนใจความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของคนรอบข้าง เช่น การสร้างงานศิลปะในสามย่านมิตรทาวน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาเพลิดเพลินและศึกษาเรียนรู้ หรือการไปทำที่อยู่อาศัย ก็ใส่ใจกับแคมป์คนงาน ที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตของคนทำงาน

สำหรับโครงการบริจาคโลหิต เฟรเซอร์สฯ เห็นถึงความสำคัญของการบริจาคโลหิต ที่ส่วนใหญ๋คนจะไปบริจาคเฉพาะวันสำคัญ ทำให้คลังเลือดมีปริมาณที่ไม่เสถียร เฟรเซอร์สฯ จึงเข้าไปคุยกับสภากาชาดไทย เปิดพื้นที่บริจาคที่สามย่าน มิตรทาวน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกและกระตุ้นให้เกิดการบริจาคเลือดต่อเนื่องทุกๆ 3 เดือน

“ตอนนั้นมีสถานการณ์โควิด-19 กระทบต่อการบริจาคโลหิต ปริมาณโลหิตไม่เพียงพอ จึงใช้พื้นที่สามย่านมิตรทาวน์ด้วยการให้รถรับบริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย 2 คัน มาจอดข้างอาคารในทุกสัปดาห์ พร้อมชวนพาร์ทเนอร์ คู่ค้า พันธมิตร มาร่วมกิจกรรมด้วย ซึ่งเมื่อสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น จึงปรับรูปแบบการรับบริจาคโลหิตให้มาอยู่ภายในอาคาร”

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.2564 มีการโปรโมทกิจกรรมมากขึ้นมีการโปรโมท พร้อมแจกเสื้อเป็นของที่ระลึกเป็นครั้งแรก โดยนำผลงานของศิลปินที่เคยร่วมงานกับสามย่านมิตรทาวน์มาทำเป็นลายเสื้อยืด

จากการทำ SROI ซึ่งเป็นการงิเคราะห์และประเมินคุณค่า ในปี พ.ศ.2565 พบว่า มียอดผู้ที่ตั้งใจมาบริจาคแต่บริจาคโลหิตไม่ได้จำนวนมาก เพราะความเข้มข้นของเลือดไม่ถึงเกณฑ์ ซึ่งได้วิเคราะห์และพบสาเหตุหลักคือการขาดธาตุเหล็ก รวมถึงเรื่องการดูแลตัวเองและการกิน และเพื่อลดสัดส่วนปัญหาดังกล่าว จึงให้ความสำคัญกับการคัดกรองเบื้องต้น ผ่านการจัด 2 กิจกรรมคือ

  1. FPT New Blood ให้ความรู้พนักงานภายในบริษัทที่ต้องการบริจาคโลหิตแต่ไม่สามารถบริจาคได้ โดยทำบัตรเช็คลิสต์บันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ในการดูแลตัวเอง เช่น รายชื่ออาหารที่กินแล้วบำรุงเลือด เพิ่มธาตุเหล็กในร่างกาย และคำแนะนำเวลานอนที่เหมาะสม
  2. Blood Donation Volunteer จัดอบรมพนักงานอาสาสมัครให้ข้อมูลการบริจาคโลหิตกับผู้สนใจในวันงาน มีการจัดทำแผ่นพับให้ความรู้แก่อาสาสมัคร ช่วยในการตอบคำถามผู้สนใจบริจาค เพื่อช่วยคัดกรองผู้บริจาคเบื้องต้นก่อนจะถึงเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการโลหิต

ปัจจุบันกิจกรรมบริจาคโลหิตจัดขึ้นภายใต้ชื่อ “มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน” จัดขึ้นในทุก 3 เดือน แต่ละครั้งจะจัด 2 วัน เริ่มตั้งแต่เวลา 9.00-19.00 น. จากการจัดกิจกรรมมาทั้งหมด 15 ครั้ง สามารถระดมโลหิตส่งต่อให้กับสภากาชาดไทย 5,543,350 ซีซี โดยทีมงานได้เรียนรู้และปรับปรุงกระบวนการรับบริจาคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นทุกครั้ง จนสามารถเพิ่มกำลังการให้บริการรับบริจาคแก่ผู้บริจาคโลหิตได้มากขึ้น มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยการจัดระบบลงทะเบียนล่วงหน้าออนไลน์ ผู้ที่เคยบริจาคโลหิตกับบริษัทมาแล้วจะได้รับข้อความทางโทรศัพท์มือถือเมื่อใกล้ถึงวันบริจาคครั้งถัดไป โดยจะแจ้งวัน เวลา สถานที่บริจาค และวิธีการเตรียมตัว ทำให้การบริจาคโลหิตใช้เวลาเพียง 20-30 นาทีตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดขั้นตอนการบริจาค

จากการส่งกิจกรรม “มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน” เข้าประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) พบว่า การลงทุนในโครงการนี้ ทุก ๆ 1 บาทก่อให้เกิดคุณค่าทางสังคมถึง 4.5 บาท หรือให้ผลตอบแทนจากการลงทุนถึง 4.5 เท่า โดยสร้างคุณค่าทางสังคมที่หลากหลายให้กับหลายกลุ่ม ได้แก่

  1. ผู้บริจาคโลหิต: การบริจาคโลหิตทำให้รับรู้สัญญาณของโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายการดูแลสุขภาพระยะยาว อีกทั้งผู้บริจาคยังได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และส่งเสริมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ การบริจาคยังสร้างความพึงพอใจและความสุขใจในการช่วยเหลือผู้อื่น และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมเพื่อสังคม
  2. อาสาสมัคร: การร่วมมือและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมบริจาคโลหิตส่งเสริมคุณค่าและความภาคภูมิใจในชีวิตและการทำงานของพนักงาน โดยยังเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ ทั้งการสื่อสาร การจัดการกิจกรรม และการทำงานเป็นทีม พร้อมทั้งสร้างความสามัคคี และเครือข่ายทางสังคม
  3. ร้านค้าหรือชุมชนรอบข้าง: สร้างคุณค่าทางสังคมผ่านการเพิ่มขึ้นของยอดขาย ซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของการเยี่ยมชมและการใช้จ่ายในพื้นที่ รวมถึงมีความสุขจากการบริจาค และทำบุญสมทบกับการรับบริจาคโลหิต
  4. ศูนย์บริการโลหิต: ปริมาณโลหิตที่ได้รับบริจาคเพิ่มขึ้น และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหากต้องลงทุนในการหาและจัดหาโลหิตเอง
  5. เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย: ส่งเสริมความภูมิใจและความภักดีต่อองค์กรของพนักงาน ซึ่งจากการจัดกิจกรรมบริจาคโลหิตได้สร้างการรับรู้แบรนด์เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทยเพิ่มขึ้น
    • กิจกรรมบริจาคโลหิตของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย มีความเชื่อมโยงและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ดังนี้
  6. SDG 3 – สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี: ช่วยเพิ่มการเข้าถึงโลหิต ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการรักษาพยาบาลในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งการผ่าตัด การรักษาโรภ ภาวะฉุกเฉิน รวมถึงการรับมือกับอุบัติเหตุและภัยพิบัติต่าง ๆ พร้อมทั้งเสริมสร้างสุขภาพดีในผู้คนทุกวัย มีส่วนช่วยในการพัฒนาชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม
  7. SDG 17 – ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: กิจกรรมนี้เป็นตัวอย่างความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ องค์กรด้านสุขภาพ องค์กรทางสังคม และรัฐบาล ในการส่งเสริมและสนับสนุนการบริจาคโลหิตจากประชาชนด้วยความสมัครใจ ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการโลหิต และส่งเสริมสุขภาพที่ดีขึ้นในชุมชน

ส่วนโครงการ C asean Samyan CO-OP ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เฟรเซอร์สฯ เปิดให้เป็นพื้นที่เหมือน Co-Working Space ให้ผู้ต้องการใช้พื้นที่สำหรับทำงาน ดูหนังสือ มาใช้ได้ฟรีตลอด 24 ชม. ในจุดนี้หลังทำ SROI ถือว่าได้มูลค่าสูงถึง 3.5 เท่า และหลังจากนี้ บริษัทฯ จะเพิ่มอีก 2 โครงการที่จะทำ SROI ต่อไป

สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ กรรมการและเลขาธิการสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย กล่าวว่า การทำ SROI ทำให้ได้เห็นผลลัพธ์ของโครงการทางสังคม อย่างเช่น การทำพื้นที่ CO-OP ทำให้สามารถช่วยเรื่องสุขภาพจิต การระงับความเสี่ยงที่จะทำให้เขาไปสู่พื้นที่เสี่ยง ทำให้เขาได้ possitive เรียนดีขึ้น ผลสอบดีขึ้น และทำให้เขาเกิดความเข้มแข็งในครอบครัวจากสุขภาพจิตที่ดี และทำให้ชุมชนเค็มไปด้วยคนที่อยากทำงานเพื่อชุมชนมากขึ้น ซึ่งปรเด็นเรื่องพื้นที่ทำงาน หรือพื้นที่ในแนว Co-Working Space ถือเป็นประเด็นนี้ทั่วโลกให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนเรื่องการบริจาคโลหิต ช่วยส่งเสริมในแง่ทุนมนุษย์ ทำให้คนมี giving culture มากขึ้น ไและยังลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ เพราะต้องมีการตรวจสอบ หากพบว่าเป็นโรค ก็สามารถแจ้งเตือนและรักษาได้ทัน ทำให้ได้รับการแก้ไข และที่สำคัญคือทำให้ประสิทธิภาพของโครงการดีขึ้น จากการวิเคราะห์ปัญหาในแต่ละครั้ง เพราะการประเมินทำให้รู้จุดบอดบางอย่าง

ในมุมของความยั่งยืน การทำเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ต้องจับต้องได้มากขึ้น ทั้งเรื่อง Net Zero Carbon และเรื่องทางด้านสังคม รวมทั้งต้องมีความโปร่งใส (impact transparency)

สาริษฐ์ กล่าวว่า ผลจากการประเมิน ทำให้เราเห็นรีเทิร์น ทำให้การวางแผนในการใช้งบประมาณต่อไปมีประสิทธิภาพเต็มที่ ทำให้มีไกด์ไลน์ในการทำโครงการได้ดี หาออฟชั่นที่ดีมากขึ้น และได้พันธมิตรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเฟรเซอร์ส๗ จะขยายผลไปสู่โครงการทางสังคมอื่นๆ ต่อไป

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

SROI สำคัญยังไงกับความยั่งยืน มันคืออะไร

SROI ย่อมาจาก Social Return on Investment และมันคือ “การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม” ซึ่งก็คือ แนวทางหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อให้สามารถวัดผลประโยชน์ของโครงการต่าง ๆ ที่มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

You May Like