เอส ไอ จี ประกาศปรับเป้า NET ZERO สู่ปี 2050

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:4 Minute, 59 Second

เอส ไอ จี ปรับเป้า Net Zero 2050 ตามมาตรฐาน SBTi กางแผนระยะสั้น ปี 2030 ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1 – 2 รวมกัน 42% ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 100% และลด ปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน ขอบเขตที่ 3 ลง 51.6%

ซามูเอล ซิกริสต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอส ไอ จี ผู้ดำเนินธุรกิจด้านโซลูชันบรรจุภัณฑ์ เปิดเผยว่า ช่วงต้นปีที่ผ่านมาบริษัทได้ฉลองครบรอบ 170 ปีของการดำเนินธุรกิจ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่อิงกับเป้าหมายบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตามแนวทางของ SBTi (Science Based Targets Initiative) โดยบริษัทมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือ Net Zero โดยการสร้างสมดุลระหว่างการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกระบวนการผลิตกับการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศภายในปี พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050)

เป้าหมายใหม่นี้ มีความท้าทายกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งเป้าไว้ และได้รับการรับรองจาก SBTi ในปี 2561 และ 2563 อย่างมีนัยสำคัญ โดยเอส ไอ จี มองไกลไปกว่าการดำเนินงานภายในบริษัท แต่มุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินธุรกิจและผลักดันให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

เป้าหมายระยะสั้นใหม่ของเอส ไอ จี ภายในปี พ.ศ. 2573 หรือ ค.ศ.2030 (คิดจากปีฐานในปี พ.ศ. 2563) ได้แก่:

• ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน ขอบเขตที่ 1 และ ขอบเขตที่ 2 รวมกันที่ 42%

• ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2573

• ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน ขอบเขตที่ 3 ลง 51.6% ต่อปริมาตรการบรรจุหน่วยลิตร

เป้าหมายระยะยาวใหม่ของเอส ไอ จี ในปี 2593 ได้แก่:

• ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน ขอบเขตที่ 1 และ ขอบเขตที่ 2 รวมกันที่ 90%

• ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน ขอบเขตที่ 3 ลง 97% ต่อปริมาตรการบรรจุหน่วยลิตร

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตามแนวทางมาตรฐานการส่งเสริมให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยอิงกับเป้าหมายบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (SBTi) ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญ ที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทของบริษัท ในการลดก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินธุรกิจ และการผลักดันให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท

แอนเจลา ลู ประธานและผู้จัดการทั่วไปของเอส ไอ จี ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้

เป้าหมายใหม่ของเอส ไอ จี มีความท้าทายกว่าเป้าหมายก่อนหน้านี้อย่างมาก และบริษัทพร้อมที่จะเร่งผลักดันการดำเนินธุรกิจตามแนวทางมุ่งสู่เป้าหมายใหม่ให้เร็วขึ้น โดยได้ร่วมเป็นหนึ่งใน 300 บริษัทแรกที่ดำเนินการตามแนวทางมาตรฐานโดยอิงเป้าหมายบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ SBTi ซึ่งเป้าหมายใหม่นี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้มีส่วนได้เสียของเรา

แอนเจลา ลู ประธานและผู้จัดการทั่วไปของเอส ไอ จี ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้ กล่าวว่า ทิศทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจของเอส ไอ จี มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับโลก (net-positive) รวมถึงการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อ “สิ่งที่ดีกว่า” ได้ส่งมอบคุณค่าต่างๆ มากมายให้กับผู้คนและโลกใบนี้

เอส ไอ จี มุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยคาร์บอนจากผลิตภัณฑ์ต่อไป จนกว่าจะสามารถดูดซับกลับคืนมาจากชั้นบรรยากาศ มากกว่าที่ปล่อยออกไป ในขณะเดียวกันก็รับประกันว่า เอส ไอ จี จะพัฒนานวัตกรรมด้านความยั่งยืน เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มไปยังผู้บริโภคทั่วโลก ด้วยวิธีการที่มีความปลอดภัย ภายใต้กรอบความยั่งยืน และราคาที่สมเหตุสมผล

การบรรลุเป้าหมายสูงสุดตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้ทั่วโลกต้องเร่งลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือ Net Zero ให้เกิดขึ้นภายในปี 2593 กระบวนการอนุมัติที่เข้มงวดของโครงการ SBTi ทำให้มั่นใจได้ว่าเอส ไอ จี จะมีกรอบการทำงานที่เข้มแข็ง ชัดเจน ภายใต้เป้าหมายบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามร่วมกันในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

แนวทางหลักที่เอส ไอ จี ดำเนินการเพื่อลดการปล่อยมลพิษจากการดำเนินงานภายใต้ ขอบเขตที่ 1 และ 2 คือความมุ่งมั่นในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 100% และโครงการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ตลอดจนการสำรวจแหล่งพลังงานทางเลือกอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดมลพิษต่ำ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้โดยตรง

โรงงานเอส ไอ จี ที่จ.ระยอง นับเป็นโรงงานแห่งแรกในภูมิภาคนี้ ที่ติดตั้งหลังคาที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์แล้วเสร็จในปี 2561 ครอบคลุมพื้นที่ 17,664 ตารางเมตร เป็นโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทั้งสิ้น 12,350 แผง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากถึง 5,675 เมกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 12,871 ตัน นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 เทียบเท่ากับการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการปลูกต้นไม้ 280 – 415 ต้น หรือคิดเป็นพื้นที่ป่ากว่า 10,000 ตารางเมตร

ผลิตภัณฑ์ของเอส ไอ จี มีส่วนสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า(ขอบเขตที่ 3) ซึ่งครอบคลุมถึงจำนวนและประเภทของวัตถุดิบที่ใช้ โดยจากนี้เป็นต้นไปบริษัทจะให้ความสำคัญกับการลดการใช้อลูมิเนียมฟอยล์ในบรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อ ในทำงานร่วมกับบริษัทคู่ค้า เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน และพัฒนาการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในเครื่องบรรจุภัณฑ์รุ่นใหม่ รวมถึงการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วสู่กระบวนการรีไซเคิลให้มากยิ่งขึ้น

SBTi หรือแนวทางมาตรฐานการส่งเสริมให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยอิงกับเป้าหมายบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (SBTi) แบ่งออกเป็น 3 ขอบเขต ได้แก่

ขอบเขตที่ 1: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงจากแหล่งที่องค์กรเป็นเจ้าของหรือควบคุมจากกระบวนการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง รวมถึงแหล่งอื่นๆ

ขอบเขตที่ 2: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยอ้อมจากการซื้อพลังงาน (เช่น ไฟฟ้า ไอน้ำ ฯลฯ)

ขอบเขตที่ 3: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยอ้อมจากแหล่งอื่นๆ นอกเหนือจากขอบเขตที่ 1 และ 2 (การจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วนอื่นๆ การขนส่ง การใช้งานผลิตภัณฑ์ ฯลฯ) จากห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

ซีพี ออลล์ จัดค่าย “Creative AI Camp ปีที่ 6” เติมฝันเยาวชน ยกระดับทักษะ AI

ซีพี ออลล์ จัด “Creative AI Camp ปีที่ 6” ผนึกพันธมิตรให้ความรู้เยาวชน ผ่านแนวคิด AI as a Human Being??? สร้างโปรเจกต์ AI ช่วยแก้ Pain Point ภาคธุรกิจ

You May Like