NSC ชี้แจง กรณีประกาศจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ด้านความปลอดภัยของอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ดิบ แต่ไม่เกี่ยวอาหารทะเล ซูชิแซลมอน จานอร์เวย์รับประทานได้
สภาอุตสาหกรรมนอร์เวย์ หรือ NSC ชี้แจง ถึงประเด็นที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดจากกรณีประกาศจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ด้านความปลอดภัยของอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19)
องค์กรอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการหยิบจับหรือบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเนื้อสัตว์ดิบ หรือปรุงไม่สุก อย่างไรก็ตาม ประกาศขององค์กรอนามัยโลกไม่ได้มีการกล่าวถึงอาหารทะเล และไม่ถือว่าเป็นอาหารที่เป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่
https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public
ผู้บริโภคยังคงสามารถรับประทานซูชิแซลมอนจากนอร์เวย์ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่า
แซลมอนจากนอร์เวย์ได้รับการรองรับว่า เป็นอาหารที่มีความปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ สามารถรับประทานแบบดิบ เช่น ซูชิ และซาชิมิ ได้โดยปราศจากการแช่แข็ง เหตุผลสำคัญที่ทำให้สามารถรับประทานแซลมอนจากนอร์เวย์แบบดิบได้นั้น มาจากการที่แซลมอนจากนอร์เวย์มีการเลี้ยงดูที่ความพิเศษด้วยอาหารแห้งที่ผ่านกรรมวิธีอบร้อน ดังนั้น ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าแซลมอนจากนอร์เวย์นั้นปราศจากพยาธิ
การเพาะเลี้ยงแซลมอนจากนอร์เวย์มีการปฏิบัติการตามกฏข้อบังคับที่เข้มงวดของสหภาพยุโรป เพื่อรองรับมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ในทุกๆ ปี ประเทศนอร์เวย์ได้มีการติดตามประเด็นด้านสารพิษตกค้างในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอันเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมและการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยแต่งตั้งให้สถาบันวิจัยทางทะเลดำเนินการวิจัยในนามของหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารของนอร์เวย์ โดยประชาชนสามารถเข้าไปดูข้อมูลโครงการ รวมถึงผลการติดตามจากโครงการได้ และจากการติดตามผลของโครงการ แซลมอนจากนอร์เวย์ไม่ได้รับคำแนะนำพิเศษเพิ่มเติม
กล่าวได้ว่าแซลมอนจากนอร์เวย์มีนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงที่มีคุณภาพสูง และยังได้รับการยืนยันว่าเป็นอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแนะนำให้บริโภคแซลมอนในทุกอาทิตย์ ท่าน
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากลิงค์ด้านล่างนี้
https://www.hi.no/en/hi/temasider/seafood/monitoring-seafood
https://nifes.hi.no/en/research-topics/seafood-safety/
https://nifes.hi.no/report/overvakning-oppdrettsfisk-2017/