เจาะกลไกธุรกิจชุมชน “เกื้อกูลLEs” ผนึกงานวิจัยสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:3 Minute, 1 Second

แชร์เคล็ดลับไอเดียสู่ความสำเร็จของธุรกิจชุมชน “เกื้อกูลLEs” ทั่วไทย ในมือสตรี ทายาทธุรกิจรุ่นใหม่ และชาวประมงพื้นบ้าน งาน “เกื้อกูลLocal Enterprises Exposition 2023” มหกรรมงานพัฒนาธุรกิจชุมชนสู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

สานต่อความสำเร็จในการนำพากลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน “เกื้อกูลLocal Enterprises” หรือ “เกื้อกูลLEs” ในทุกท้องถิ่นทั่วประเทศไทยให้เติบโตอย่างมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน แบ่งปัน และเกื้อกูลแบบโตไปด้วยกัน ในงาน เกื้อกูลLocal Enterprises Exposition 2023 มหกรรมงานวิจัยและพัฒนาที่สร้างการยกระดับขีดความสามารถ ความสำเร็จ ในการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการชุมชนเกื้อกูลLEs ภายใต้แนวคิด “ธุรกิจชุมชน คน-ของ-ตลาด โมเดล กลไกสร้างความมั่งคั่งให้กับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน” โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท. ภายใต้สังกัด สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ สถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน ณ ลานร่ำรวย ชั้น 5 เดอะ สตรีท รัชดา

ในงานชวนมาทำความรู้จักกับธุรกิจชุมชน “เกื้อกูลLEs” ที่ประสบความสำเร็จในหลากหลายมิติที่พร้อมมาร่วมแบ่งปันไอเดียดี ๆ ผ่านเกื้อกูลLEs Sharing Showcase ตัวอย่างความสำเร็จของกลไกสร้างธุรกิจชุมชนยั่งยืน จากการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนกับนักวิจัยในพื้นที่ (Local Knowledge Managers) เช่น ธุรกิจฮิญาบ ภายใต้โมเดลธุรกิจ AHSAN-อาห์ซาน ภายใต้หลักคิด “จากTrademark สู่ Trustmark” โดย ผศ.ดร.มัฮซูม สะตีแม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ปัตตานี ที่สะท้อนคุณค่าของผืนผ้าฮิญาบที่แฝงไว้ด้วยวิถีความเชื่อ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และความเคารพในศาสนาอิสลาม โดยเป็นการรวมกลุ่มของสตรีมุสลิมที่มีฝีมือในการตัดเย็บมา รวมกลุ่มกัน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้สตรีมุสลิม ได้เรียกศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจในตัวเอง พร้อมทั้งชมการแสดงแฟชั่นโชว์ ฮิญาบผ้าไหมไทยผืนแรกของโลกเป็นครั้งแรก โดยมหาวิทยาลัยฟาฏอนี

รวมทั้งประทับใจกับความตั้งใจประกอบสัมมาชีพของชาวบ้านกับ เกาะปูลาโต๊ะบีซู กับกระบวนการ“เปลี่ยนนายทุน…เป็นคุณเกื้อกูล” มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ผลงานจากการวิจัยของ ผศ.ดร.ธมยันตี ประยูรพันธ์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ บนพื้นที่ที่เดินทางด้วยเรือจากฝั่ง ต.ศาลาใหม่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ออกไปเพียง 500 เมตร มุ่งสู่เกาะเล็ก ๆ ที่มีประชากร 119 ครัวเรือน อาศัยอยู่บนเกาะปูลาโต๊ะบีซู หรือเกาะคนใบ้ ที่ส่วนใหญ่มีรายได้หลักจากอาชีพประมงพื้นบ้าน และมีวิถีชีวิตที่แบ่งปัน และเกื้อกูลกันแบบสังคมมุสลิม นายทุนเป็นทั้งผู้รับซื้อปลาจากชาวประมง และเมื่อชาวบ้านไม่มีเงิน หรือต้องการซื้ออุปกรณ์ทำกิน ก็จะไปหยิบยืมเงินจากนายทุนเช่นกัน

ตามหลักศาสนาอิสลามจะไม่มีการคิดดอกเบี้ย แต่จะเป็นการเกื้อกูลหรือสนับสนุนกันในการประกอบอาชีพ นอกจากแปรดอกเบี้ยเป็นกุ้ง หอย ปู ปลา ที่หามาได้ในแต่ละวันแล้ว ยังแบ่งส่วนหนึ่งให้กลุ่มแม่บ้านบนเกาะนำไปแปรรูปเป็นอาหารทะเลตากแห้ง เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง

แต่ที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นคือ กระบวนการวิจัย เกื้อกูลLEs ในครั้งนี้ อาจารย์นักวิจัยใช้ความกล้าหาญในการเข้าไปคุยทำความเข้าใจกับนายทุนว่า อยากช่วยให้ครอบครัวชาวประมงบนเกาะมีรายได้เพิ่ม เพื่อหาทางออกเรื่องรายได้ทางธุรกิจให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และเพื่อมีเงินคืนเงินกู้ ด้วยการแบ่งรายได้จากการขายสินค้าประมงแปรรูป อันแสดงให้เห็นถึงหัวใจที่ยิ่งใหญ่ในการเกื้อกูลทั้งนายทุน และธุรกิจชุมชนที่ยิ่งใหญ่ด้วย

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

“เบทาโกร” ส่ง "S-Pure" เจาะใจคนรักษ์โลก-ใส่ใจสุขภาพ

“เบทาโกร” ฉายภาพแบรนด์รักษ์โลก S-Pure กับแพ็กเกจจิ้งโฉมใหม่ “ถาดกระดาษ” ลดปริมาณขยะพลาสติก พร้อมทุ่ม 100 ล้าน อัดแคมเปญ “ถ้าวิถีธรรมชาติ คือทางของคุณ S-Pure No.1 Brand” ชิงแชร์ตลาดอาหารซุปเปอร์พรีเมี่ยม 57,100 ล้าน

You May Like