“บ้านปู” จัดทัพ ดึงนิวเจนขับเคลื่อน Decarbonization

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:6 Minute, 8 Second

บ้านปู ดึงนิวเจน “สินนท์ ว่องกุศลกิจ” ขับเคลื่อน Decarbonization ตอกย้ำกลยุทธ์ Greener & Smarter สานต่อจุดยืนอนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน

สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2567 คณะกรรมการได้มีมติแต่งตั้ง สินนท์ ว่องกุศลกิจ รองประธานอาวุโสกลุ่ม (Group Senior Vice President) และอดีตซีอีโอ บริษท บ้านปู เน็กซ์ ขึ้้นนั่งตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู พร้อมทั้งนำทีมผู้บริหารรุ่นใหม่ สานต่อภารกิจ “Greener & Smarter” โดยปี 2566 กลุ่มบริษัทบ้านปูรายงานผลกำไรสุทธิจำนวน 160 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5,343 ล้านบาท) กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) รวม 1,562 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 54,361 ล้านบาท)

ส่วนการเข้ามารับหน้าที่ของ สินนท์ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำผู้นำรุ่นใหม่ด้านพลังงาน ซึ่ง สินนท์ ได้ปรับเปลี่ยนมานั่งในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตามมติของคณะกรรมการบริษัท ชูความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านผู้นำ (Leadership Transformation) โดยเป็นบริษัทพลังงานที่สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ ขึ้นนำทัพขับเคลื่อนการบริหารธุรกิจมีผล 2 เมษายน 2567 นี้

สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

สินนท์ ถือเป็นลูกหม้อคนสำคัญที่ร่วมงานกับ​บ้านปูมามากกว่า 10 ปี รับผิดชอบดูแลด้านการพัฒนาแผนกลยุทธ์ โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านธุรกิจตามกลยุทธ์ Greener & Smarter และเป็นผู้บุกเบิกในการนำบ้านปู เพาเวอร์ เข้า IPO ในปี 2016 รวมทั้งการเข้ามา​มีบทบาทสำคัณในการขับเคลื่อนกลุ่มธุรกิจ Energy Technology มาอย่างต่อเนื่อง และเคยนั่งบริหารบ้านปู เน็กซ์ ในตำแหน่งซีอีโอมาแล้ว

สินนท์ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องเน้นมากขึ้น คือเรื่อง Decarbonization และ Digitalization โดยนำ AI เข้ามาช่วยเสริมศักยภาพในทุกธุรกิจที่มีอยู่ทั้ง 3 กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น Energy Resources, Energy Generation และ Energy Technology ซึ่งจะเน้นในกลุ่มที่สามารถเพิ่มความแข็งแกร่งในการสร้างกระแสเงินสด(Cash Flow) ให้กับธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน ในกลุ่มเทคโนโลยี​ จะเน้นการ​เติมเต็มศักยภาพในฐานะ Net Zero Solutions Provider ของบ้านปู เน็กซ์ รวมทั้งการลงทุนในกลุ่ม Climate Tech ของ CVC เพื่อยกระดับสู่ Greener & Smarter ตลอดทั้งห่วงโซ่ของธุรกิจพลังงาน​ โดยเตรียมเม็ดเงินลงทุนไว้ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ เท่ากับปีที่ผ่านมา

สินนท์ ว่องกุศลกิจ

ปัจจุบันบ้านปูยังคงบาลานซ์พอร์ตโฟลิโอระหว่างพลังงานจากฟอสซิลและพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เพราะแต่ละประเทศยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ขณะที่การเดินหน้าสู่พลังงานหมุนเวียนในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน พลังงานฟอสซิลจึงยังมีความต้องการในตลาด

อย่างไรก็ตาม สินนท์ ได้เตรียมแผนรองรับความต้องการในหลากหลายรูปแบบพลังงาน ซึ่งถือเป็นตุดแข็งของบ้านปูอยุ่แล้ว เพราะมีการดำเนินธุรกิจพลังงานหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ ในขณะที่พลังงานกลุ่มต้นน้ำ เป็นพลังงานที่มีมูลค่าและมีตลาดรองรับ โอกาสในตลาดใหม่ สำหรับธุรกิจพลังงานปลายน้ำ ก็เป็นส่วนที่สำคัญและเป็นทิศทางที่ซีอีโอคนใหม่ให้ความสนใจอย่างมาก

จากความคืบหน้าของแต่ละกลุ่มธุรกิจ ได้แก่

กลุ่มธุรกิจแหล่งพลังงาน ด้านธุรกิจเหมือง คงความสามารถในการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างแข็งแกร่ง สำหรับธุรกิจก๊าซธรรมชาติ แม้ว่าราคาก๊าซจะไม่เอื้ออำนวย แต่บริษัทฯ สามารถปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานและการผลิตให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และบริหารจัดการต้นทุน เพื่อคงความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีความคืบหน้าในโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) ในสหรัฐอเมริกา ที่เริ่มดำเนินการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เรียบร้อยแล้ว

กลุ่มธุรกิจผลิตพลังงาน สำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน มีผลการดำเนินงานที่ดีจากการรักษาประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้อย่างมั่นคง โดยโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I และ Temple II ในสหรัฐฯ รายงานผลการดำเนินงานที่ดีจากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังได้อานิสงส์จากราคารับซื้อไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงวิกฤตคลื่นความร้อนในรัฐเท็กซัส ในขณะที่โรงไฟฟ้าเอชพีซี (HPC) ในประเทศลาว โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี (BLCP) ในประเทศไทย และโรงไฟฟ้าซานซีลู่กวง (Shanxi Lu Guang: SLG) ในประเทศจีน สามารถเดินเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีค่าความพร้อมจ่าย (Equivalent Availability Factor: EAF) ในระดับสูง ด้านธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน มีกำลังผลิตรวมจากพลังงานหมุนเวียน 870 เมกะวัตต์ โดยโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในทุกประเทศต่างมีผลการดำเนินงานที่ดีจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและค่าความเข้มของแสงที่สูง

กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน มีการเติบโตต่อเนื่องของโซลูชันพลังงานฉลาดแบบครบวงจร ผ่านการขยายฐานลูกค้าและการลงทุนสู่พันธมิตรใหม่ ๆ ในธุรกิจแบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงาน (Battery & Energy Storage System Solutions: BESS) เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจแบตเตอรี่ที่แข็งแกร่ง อาทิ การลงทุนในโครงการฟาร์มแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ กำลังกักเก็บพลังงานไฟฟ้า 58 เมกะวัตต์ ที่เมืองโตโนะ (Tono) จังหวัดอิวาเตะ (Iwate) ในประเทศญี่ปุ่น และการลงทุนในบริษัท เอส โวลต์ เอเนอร์จี้ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อร่วมกันพัฒนา ผลิต และจัดจำหน่ายแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยานยนต์ 2 ล้อ และ 3 ล้อ

รวมไปถึงระบบกักเก็บพลังงาน การรีไซเคิลแบตเตอรี่ และบริการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในจังหวัดชลบุรี กำลังผลิตราว 2 กิกะวัตต์ชั่วโมง

ขณะที่ธุรกิจพัฒนาเมืองอัจฉริยะและจัดการพลังงาน (Smart Cities & Energy Management) มีความคืบหน้าสำคัญ โดยบริษัท บีเอ็นเอสพี สมาร์ท เทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บ้านปู เน็กซ์ กับเอสพี กรุ๊ป ผู้ให้บริการระบบสาธารณูปโภคด้านพลังงานแห่งชาติในสิงคโปร์และเอเชีย-แปซิฟิก ได้รับคัดเลือกให้ดำเนินการออกแบบ พัฒนา และบริหารจัดการระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลาง (District Cooling System) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซนซี นอกจากนี้ ธุรกิจอี-โมบิลิตี้ (E-Mobility) ยังขยายการให้บริการระบบสัญจรทางเลือกแบบครบวงจรในรูปแบบ Mobility as a Service (MaaS) และการบริหารการเดินทางและขนส่งด้วยยานพาหนะไฟฟ้า(EV Fleet Management) เพื่อส่งเสริมการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีจุดบริการไรด์ แชร์ริ่ง 2,500 จุด, คาร์แชร์ริ่งกว่า 1,500 จุด, สถานีชาร์จกว่า 300 สถานีและจุดบริการหลังการขายรถยนต์ไฟฟ้า 20 แห่ง

สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2567 บริษัทฯ จะเดินหน้าเสริมสร้างความแข็งแกร่งของทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ต่อยอดประโยชน์สูงสุดจาก Banpu Ecosystem เพื่อทำให้บ้านปูเป็นผู้นำในธุรกิจพลังงานที่สามารถส่งมอบพลังงานที่ยั่งยืนและตอบโจทย์ความต้องการด้านพลังงานของโลกในอนาคต

สินนท์ กล่าว่า ในเชิง Way Forward ปี คศ. 2024-2025 บ้านปูเดินหน้ากลยุทธ์ Greener & Smarter และเร่งทรานสฟอร์มไปสู่พลังงานที่ยั่งยืนมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการเติบโตที่สร้างกระแสเงินสดที่แข็งแรง เน้นในเรื่อง Margin Improvement และลดต้นทุน บ้านปูต้องเป็น Responsible Mining ในเรื่อง Decarbonization

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

“RECO Collective” อัพสกิล ต่อยอดดีไซเนอร์รักษ์โลก สู่นักธุรกิจ

อินโดรามา เวนเจอร์ส ฉลองครบรอบ 10 ปี โครงการประกวด “RECO Collective” ดึงพันธมิตร ต่อยอดไอเดียสร้างสรรค์ดีไซเนอร์ สู่คอมเมอร์เชี่ยล สวมใส่ได้จริง ขายได้จริง หวังต่อยอดเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

You May Like