ถอดความ 3 ซีอีโอ “SCG-CP-Thaibev” พาไทยสู่เป้า Net Zero

admin
0 0

Sharing is caring!

Read Time:11 Minute, 18 Second

3 CEO “SCG-CP-Thaibev” เปิดแนวคิด แชร์ไอเดีย พาไทยสู่ความยั่งยืน ด้วยเป้า Net Zero บนเวที SX2023 “รุ่งโรจน์” เสนอแนวคิด รัฐบาลสหรัฐฯ ให้เงินลงทุนธุรกิจพลังงานสะอาด “ศุภชัย” ชี้ ความตระหนักรู้และนวัตกรรมเป็นเรื่องที่สำคัญ รวมทั้งต้องช่วยผลักดันเอสเอ็มอีให้เดินไปพร้อมกัน ด้าน “ฐาปน” ย้ำ Young Talent คือพลังสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริง

จากเวทีเสวนา TSCN CEO Panel : ปรับตัวอย่างไร ให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน ในงาน Sustainability Expo 2023(SX2023) ที่กลุ่มไทยเบฟจัดขึ้น โดยมี 3 ซีอีโอใหญ่ ได้แก่ รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี, ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี และ ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ร่วมให้แชร์ข้อมูล พร้อมให้ข้อคิดเสนอแนะ การปรับตัวของคนไทยและองค์กรไทย เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero ค.ศ.2065 ตามที่รัฐบาลประกาศไว้ในงาน COP26

  • ถอดความ 3 ซีอีโอ เสวนา TSCN CEO Panel : ปรับตัวอย่างไร ให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน

“รุ่งโรจน์” : ได้กล่าวถึงวิกฤตโลก ที่ไม่เพียงทีเรื่องของการแพร่ระบาดของโควิด -19 แต่ยังมีเรื่องของสงครามรัสเซีย-ยูเครน แถมยังมีปัญหาเงินเฟ้อ ในขณะที่โลกก็กำลังแปรปรวนอย่างหนัก ด้วยสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป ทั้งหมดกลายเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต ทั่วโลกต้องตั้งรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น

ประเทศในกลุ่มยุโรป ที่ทำเรื่องของความยั่งยืนเยอะมาก ซึ่งออกมาในรูปแบบของการ ลด ห้าม และเก็บ หากไม่ลดคาร์บอน ไม่ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน ก็จะห้ามนำเข้าสินค้ามาขายในยุโรป และถ้าห้ามแล้วไม่ฟัง ก็จะเก็บเป็นภาษี ที่จะส่งผลให้ต้นทุนสินค้านั้นๆ แพงขึ้นไปอีก นั่นคือมาตรการ CBAM ของยุโรป ซึ่งออกมาแล้วตั้งแต่ ต.ค. 2566 และจะบังคับใช้จริงต้นปี พ.ศ.2567

แต่ทางสหรัฐฯ เลือกใช้วิธีที่แตกต่างไป กลางปี พ.ศ. 2565 สหรัฐฯ ออกร่างกฎหมาย Inflation Reduction Act (IRA) ซึ่งถือเป็นการลงทุนด้านพลังงานสะอาดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่ “รุ่งโรจน์” บอกว่า มันคือ เรื่องของ Green Act ร่างกฎหมายนั้นออกมาเพื่อบอกว่าแก้เงินเฟ้ออย่างไร

สหรัฐฯ ใช้งบ 900 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเกือบสองเท่าของไทย GDP ไทย ที่มีอยู่ประมาณ 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ถือเป็นแรงจูงใจ (incentive) ก้อนใหญ่ ที่ให้กับนักลงทุนสายกรีนเป็นเวลา 10 ปี อาทิ โซล่าเซลล์ย้ายฐานการผลิตมาสหรัฐฯ หลังจากเดิมที่สหรัฐฯ ยอมแพ้ไปแล้วเพราะต้นทุนค่าแรงในประเทศสูง แต่ตอนนี้การลงทุนด้านนี้ ชนะ Oil and Gas ไปแล้ว นอกจากนี้ ยังมี โรงแบตเตอรี่อีวี เกิดขึ้นมาเหมือนดอกเห็ด การขนส่ง (transportation) จะเป็นอีกหัวใจสำคัญ เพราะนี่คือ 1 ใน 4 ของเงินลงทุนตรงนี้ มีการลงทุนเรื่องระบบราง ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีพลังงานลม ไฮโดรเจน พลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เขามาอีกมากมาย ซึ่งโดยส่วนตัว

“รุ่งโรจน์” เชื่อว่า อีก 4-5 ปี สหรัฐฯ ก็จะออกกฎข้อบังคับตามมาเช่นกัน เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว แล้วภาครัฐบาลของไทยล่ะ มีอัศวินม้าขาวแบบนี้เข้ามาหรือเปล่าในแง่ของการลงทุน

สหรัฐฯ ถือเป็นตัวจุดประกายว่า เรื่องของความยั่งยืน มาเป็นในรูปแบบของการส่งเสริมก็ได้ และการส่งเสริมระยะยาว 10 ปี เช่นนี้ ทำให้มีเงินลงทุนไกลเข้าสู่สหรัฐฯแล้ว กว่า 200 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ นี่ถือเป็นโมเดลที่น่าสนใจ

“ศุภชัย” : อีกหนึ่งผู้นำ ที่ร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืนระดับประเทศ ในฐานะ นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย จากการร่วมประชุมกับผู้นำระดับโลก ของยูเอ็นโกลบอลคอมแพ็ก ที่นิวยอร์ค มีการประเมินว่า ระหว่างปี ค.ศ. 2015-2023 โลกเราทำเรื่องของ SDGs Goal 17 ข้อ สามารถดำเนินการสำเร็จไปได้เพียง 12% จากเป้่าหมายในอีก 7 ปี (ค.ศ.2030) จะครบ 100% มันยากและท้าทายมากๆ และยังห่างไกลจากเป้าหมายมาก

สำหรับในประเทศไทย เราต้องประเมินเหมือนกัน แม้ไทยเราจะเป็นที่หนึ่งในอาเซียน เรื่องความคืบหน้าใน SDGs โดยภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนแ ละสร้างความตระหนักรู้ที่ดี ยูเอ็นมองว่าไทย เป็นตัวอย่างของอาเซียนได้ ในขณะที่อาเซียนกำลังเติบโต ถ้าเราเริ่มต้นได้ด้วยดี เราจะเป็นตัวอย่างในระดับโลกได้ แต่ก็มีอะไรที่ต้องทำอีกเยอะ

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี

“เครือโภคภัณฑ์ ปีที่แล้วเราจ่ายคาร์บอนเครดิต ไป 15 ล้านบาท เราทำได้แค่ 70% ของสโคปหนึ่งและสองจากเป้าหมายที่เราตั้งไว้ ยังไม่รวมซัพพลายเชน คู่ค้า เป้าหมาย 2030 ของซีพี ถ้าเรายังใช้พลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ เราต้องซื้อคาร์บอนเครดิต ปีละ 2 พันล้านบาทต่อปี ถ้าเราทำไม่เข้าเป้า ถ้าเราลากเส้น Net Zero 2050 เราจะต้องเอาระดับการใช้พลังงานที่เป็นพลังงาานน้ำมันต่างๆ คาร์บอนอิมิชั่นลงปีละ 4% ถ้าเทียบปีนี้เราเข้าเป้าแค่ 2.5% นี่คือรวมสโคป 3 แล้ว”

สโคป 1-2 ของซีพี เราต้องจัดการจำนวนตันคาร์บอน 7 ล้านตันคาร์บอน แต่ถ้ารวมสโคปสาม 70 ล้านตันคาร์บอน สำหรับ 22 ประเทศที่เราลงทุนอยู่ สโคปสาม ยาก แต่เรามีพันธมิตร ซึ่งเขามีเป้าเหมือนกัน ซัพพลายเออร์ใหญ่ๆ เขาก็มีแรงกดดันที่ต้องทำเหมือนกัน และยังมีเรื่องนโยบายรัฐ การใช้อีวี มีอินเซ็นทีฟในการลงทุนสมาร์ทกริด ทำโซล่าฟาร์มฟีดให้ตัวเอง และฟีดเข้ารัฐด้วย ก็จะเร็วขึ้น แต่ทั้งหมด เราไม่ได้ทำคนเดียว ต้องรวมถึงเอสเอ็มอี เพื่อให้เขาตามเป้าหมายให้ทัน

ที่ไม่ได้ตามเป้า ช่วงแพร่ระบาดก็ทำให้เกิดความล่าช้า การลงทุนโซล่าฟาร์มต่างๆ การเข้าสู่อีวี มันมีการชะลอตัว แต่เราต้องทำให้ได้ตามเป้าหมายไ ม่งั้นเราต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิต ถ้าพลาดเป้าไปเรื่อยๆ เราจะจ่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แต่ในขณะเดียวกัน หากเราต้องซื้อคาร์บอนเครดิตไปเรื่อยๆ มันก็ช่วยให้อัตราการ incentive คนที่สร้างคาร์บอนเครดิตได้ มันช่วยอัตราเร่งความกระตือรือร้น ในอุตสาหกรรมนี้ได้

ข้อแรกความตระหนักรู้เป็นเรื่องสำคัญ เรื่องที่สองคือ อินโนเวชั่น เช่นเรื่องสโคป 3 ถ้าไปถึงเกษตรกร เราต้องอินโนเวท ในเชิงกระบวนการในการปลูก ไม่แอดมิทคาร์บอนได้ไหม ต้องแอปซอฟคาร์บอนได้ไหม ทำให้เรามีคาร์บอนเครดิตเกิดในตัวเราด้วย…เราต้องมีเป้าหมายต้องมีแรงกดดัน ต้องตั้งเป้า และต้องมีกรณีที่เป็นอินเซ็นทีฟด้วย เราก็มีการประชุมทุก 2 เดือน ต้องรายงานเรื่องนี้ด้วย

ทุกคนต้องประเมินตัวเองและให้ความสำคัญ ซึ่งถ้าทำได้ก็สามารถประหยัดต้นทุนได้ แต่แน่นอน การทำอะไรก็ตาม เริ่มจากเป้าหมาย ความชัดเจน ความโปร่งใส แต่ตัวที่ตามมาคือ กลไกตลาด ถ้ามันมีแรงจูงใจ (incentive) หรือการยอมรับ (recognition) จากภาครัฐ สูงขึ้นๆ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลไกตลาดเร็วขึ้น เหมือนการ incentive รถยนต์อีวี ก็จะทำให้คนเข้าสู่การใช้รถอีวีเร็วขึ้น

“ฐาปน” : ในฐานะเจ้าภาพจัดงาน “SX Sustainability Expo 2023” มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ซึ่งได้จัดเวทีเสวนา TSCN CEO Panel : ปรับตัวอย่างไร ให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน นำความรู้จากซีอีโอระดับแนวหน้ามาส่งต่อสู่สาธารณชน ซึ่งจากงานที่จัด ซีอีโอ ไทยเบฟ บอกว่า พอใจกับงานที่จัดขึ้นนต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 เพราะสัญญาณการรับรู้ของทุกฝ่ายชัดขึ้นเรื่อยๆ ทุกๆ ฝายสนใจ เรียนรู้ และช่วยกันลงมือทำ และการจัดงานครั้งนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของเด็กๆ ที่เข้ามาชม 60% เด็กรุ่นใหม่มีจิตอาสา มีมุมมองในภาพกว้าง เขาอยากทำในสิ่งที่เขารัก แต่บางคนก็คิดอยู่ว่าจะทำอย่างไรที่ให้ประโยชน์ต่อสังคมได้ ซึ่งงานนี้ถือเป็นไกด๋ไลน์ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และเติมเต็มความคิดมากขึ้น

เขาได้พูดถึง แนวคิดในการขับเคลื่อนความยั่งยืน ที่ต้อง “วิ่ง ซ่อน สู้” ในการปรับตัวแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ที่ดิสรัป มันต้องตื่นตัว ตื่นรู้ ไม่ใช่ “วิ่ง” ไปทางไหนก็ได้ เรามองเหตุการณ์ และต้องเข้าใจเมกะเทรนด์ที่เกิดขึ้น และดูว่าคนส่วนใหญ่ไปทางไหน “ซ่อน”…จะสะท้อนถึงความมีสติ และความคิด ที่ครบถ้วน “สู้”… คือ การปรับตัว สู้ด้วยการปรับตัว สู้ไปด้วยกัน

“ตอนนี้อยู่ในช่วงที่สำคัญ การพัฒนาและการบริหารเรื่องความยั่งยืน ในส่วนของซัพพลายเชน ได้รู้ และปรับตัวเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน เพราะบริษัทใหญ่ต้องเชื่อมโยงกับซัพพลายเออร์ เพื่อให้เกิดการปรับตัวไปด้วยกัน ตอนนี้เป็นโอกาสของเอสเอ็มอี ถ้าเขารับรู้และปรับตัว เราสามารถขยับไปด้วยกัน และเติบโตไปด้วยกันได้”

ทั้งหมดนี่คือ ทุกฝ่ายต้องลงมือปฏิบัติ และทำจริงจัง

“รุ่งโรจน์” ได้กล่าวถึงวิกฤตที่เกิดขึ้น เป็นตัวเร่งทำให้คนเราวิ่งเร็วขึ้น เปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น โดยการมองหาอินโนเวชั่นมาช่วยเสริม ที่ผ่านมา เอสซีจีเอง ก็เปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินมาเป็นอย่างอื่น เพราะราคามันแพงขึ้น เดิมที่เคยใช้อยู่ 80% ตอนนี้ลดลงเหลือไม่ถึงครึ่ง ด้วยระยะเวลาเพียง 2 ปี หรือการเปลี่ยนไปผลิตโปรดักส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น… เอาแค่ 5% มันก็ลด 5% แล้ว …ปีหน้าเอสซีจีจึงมีเป้าที่จะเพิ่มกรีนโปรดักส์ปเป็น 25% ด้วยเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ปีละ 2.5%

สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป คือ ทำอย่างไร ถึงจะเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ สิ่งหนึ่งที่เอสซีจีทำ เมื่อเห็นสหรัฐอเมริกา โปรโมทเรื่องกรีน คือ เอสซีจีก็ไปร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพสหรัฐฯ โดยการลงทุนที่ไม่ได้สูงนัก แต่สิ่งที่เอสซีจีต้องการได้ คือ การเรียนรู้ และเลือกที่จะพัฒนาเข้ามาใช้ในไทย

การดำเนินธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา ด้วยแนวทางความยั่งยืน เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องทำแบบถอยไม่ได้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยผู้นำต้องสู้ เมื่อผู้นำสู้ ก็จะให้เวลากับเรื่องนี้ ลูกน้องก็จะมีเวลาที่จะสู้และพัฒนา ทั้งหมดคือ ต้องมีคำมั่นสัญญาที่จะทำ

“ศุภชัย” ได้แชร์ประสบการณ์​จากการร่วมประชุม World Economic Forum ที่กล่าวถึง 3 เรื่องสำคัญ คือ ความเหลื่อมล้ำ ดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น โโยที่ยังไม่นำเอไอเข้ามาเกี่ยวข้อง และการเปลี่ยนปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง
ในการประชุมของภาคเอกชน 3-4 ราย “ศุภชัย” ได้แนะนำว่า ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ควรออกกฎให้ทุกบริษัทในตลาด รายงานเป้าหมายการลดปล่อยก๊าซคาร์บอน และมีการสร้างแรงจูงใจ ควบคู่กับการสร้างกฎเกณฑ์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ และอีกส่วนคือ สร้างระบบการศึกษา จากเดิมที่ผู้นำต้องสั่ง เปลี่ยนมาเป็นผู้นำต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยการเป็นผู้สนับสนุนไปตามเป้าหมาย ควรใส่เรื่องความยั่งยืนเข้าไปในระบบการศึกษา

อีกวิชา คือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือเอไอ จากคนรุ่นเก่าที่ต่อสู้กับความยั่งยนด้วยความกลัว สำหรับคนรุ่นใหม่กลับมองว่า เขาจะใช้เอไอเหล่านั้นอย่างไรให้เกิดประโยชน์ เพราะพื้นฐานของเขาคือ Action Base Learning เด็กรุ่นใหม่จะเรียนรู้จากปัญหา ตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบ หลังจากนั้นก็นำมาพัฒนาร่วมกัน

สิ่งที่ “ศุภชัย” แนะนำคือ การนำทาเลนต์รุ่นใหม่ ที่มีกรอบความคิดใหม่เข้ามาช่วยกัน ด้วยการเติมความรู้ด้านความยั่งยืนเข้าไป แล้วเขาก็รู้ว่าควรนำเทคโนโลยเข้ามาใช้เพื่อตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนได้อย่างไร

“ฐาปน” ย้ำว่า คนไทยต้องลงมือทำและเรียนรู้ตลอดเวลา การทำพาร์ทเนอร์ชิพโมเดล จะสร้างโอกาสในการพลิกกระดานได้ จากนี้ปี 2025 จะเกิดอะไรขึ้นอีกมากมาย เกิดการรวบรวม้อมูลที่มากขึ้น ล้ำหน้าไปมากขึ้น เพราะฉะนั้นต้องมีความร่วมไม้ร่วมมือ (collaboration) รวมตัวกันเป็นแพลทฟอร์ม ซึ่งปัจจุบัน ไทยเบฟพยายามเรียนรู้เรื่องการจัดการทรัพยากรบุคคล เราเรียนรู้เรื่อง Future Workforce เพราะสิ่งที่เราทำ ไม่ค่อยตอบโจทย์เด็กรุ่นใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและช้า แต่มันคือความท้าทาย ที่ไทยเบฟพยายามเอาใจใส่และพัฒนาไปทีละเล็กทีละน้อย

“ศุภชัย” เสริมว่า คนรุ่นใหม่ เป็นคนที่พร้อมเดินหน้า ต้องให้เขามีโอกาสขยับเสมอ การทำงานในองค์กรควรมีโยกย้ายตำแหน่งาน คำแหน่งคน แต่หากทำไม่ได้ เพิ่ม Innovation Workforce เข้าไปได้ไหม เพื่อให้เขามีโอกาสคิดและทำเรื่องใหม่ๆ ซึ่งนั่นจะผลลักดันให้เกิดอินโนเวชั่นในองค์กร

หรือในเชิงอุตสาหกรรม จะสามารถเกิดความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมได้หรือเปล่า จะเกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานได้ไหม ในซีพี ทำเรื่องนี้ 100% …เราต้องไปลองอย่างอื่นเรื่อยๆ เหมือนเราได้ความรู้ใหม่เพิ่มเรื่อยๆ …เหมือนรัฐ ให้ซีพีไปจอยเรื่องประชารัฐ ได้ความรู้มหาศาล วิธีคิดของเราจะกว้างขึ้น และเอามาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้ หลายเรื่องที่ไ่ด้ความรู้มา ก็มาจากเรื่อง Collaboration นี่แหละ ต้องทำให้เกิดความร่วมมือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ได้ผลประโยชน์เดียวกัน ก็จะเกิดกำลังมหาศาล เราไม่จำเป็นต้องแข่งกันทุกเรื่อง ส่วนใหญ่บริษัทที่สำเร็จ คือ แข่งกันตอบโจทย์ลูกค้า ชนะใจลูกค้า

“รุ่งโรจน์” เสริมว่า เรื่องความยั่งยืน รัฐบาลไม่เข้ามามีส่วนร่วมไม่ได้ ยืนเชียร์เฉยๆ ก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากๆ เดิมเราคุ้นกับการ ผลิต ขาย แล้วทิ้ง หลายๆ เรื่องที่ทำคือ การเปลี่ยนแปลง ภาครัฐเองต้องมาร่วมมือกัน รัฐต้องเขามาเป็นทีมเดียวกัน ภาคประชาสัมคมด้วย

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

Leave a Reply

Next Post

กรุงศรี เร่งรวมพลัง หยุด!โลกเดือด

กรุงศรี เร่งขับเคลื่อนปฏิบัติการ “Krungsri Race to Net Zero” รวมพลัง หยุด!โลกเดือด สร้างวัฒนธรรมองค์กร รวมพลังพนักงานกรุงศรี ปลูกฝังแนวคิดสังคมคาร์บอนต่ำที่แข็งแกร่ง พิชิตเป้าหมายลดคาร์บอนจากกระบวนการทางธุรกิจ ภายในปี 2573

You May Like